ความเป็นไทของเกษตรกร


จากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เกษตรทำการเกษตรเพื่อบริโภคในครัวเรีอน ถ้ามีเหลือนำไปแลกเปลียนเอาปัจจัยอื่นที่ยังขาด มาถึงปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ระบบทุนนิยม ผลิตเพื่อขายให้ได้เงินมาซื้อปัจจัยอื่นๆแทน แต่จากระบบวิสาหกิจเสรีต่างคนต่างผลิตบางครั้งตลาดรองรับไม่หมดทำให้ราคาตกต่ำ

ความเดือดร้อนจากราคาผลผลิตทำให้เกษตรกรรวมตัวเรียกร้องให้รัฐอุดหนุนช่วยเหลือ กรณีปัจจุบันนี้เกษตรกรเรียกร้องให้แซกแซงราคายางพารา แต่ปัญหามีความซับซ้อนด้วยการชิงอำนาจทางการเมืองทำให้เรื่องวุ่นวายกลุ่มผลประโยชน์กำลังเอาประเทศชาติเป็นเดิมพัน

ประเทศไทยไม่ใช้ผู้ผลิตยางรายเดียวในโลก ถ้าราคาสินค้าของไทยแพงเขาก็ซื้อจากที่อื่นได้ หากสินค้าของเราคุณภาพดีราคาไม่แพงกว่าชาวบ้านเขาก็ซื้อของเราอยู่ดี แล้วมีวิธีอื่นที่ไม่ต้องให้รัฐเอาเงินภาษีมาถลุงให้ประเทศฃาติขาดทุนหรือไม่

เราน่าจะนึกถึงวิธีง่ายๆที่ทุกคนทำได้ตามวาทะกรรมยอดฮิตคือ "จัดการตนเอง" ควรจะมีอะไรบ้าง

ตำตอบเบื้องต้นคือ ลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพ

การลดต้นทุนการผลิตคือการจัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย จัดการดินให้เหมาะสม ด้วยวิธีของเกษตรกรเองไม่ใช่ซื้อหรือจ้างทุกเรื่อง งานนี้จัดการตัวเองได้

การปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น เช่นความสะอาด ระดับความชื้น ไม่ใช่เทตโนโลยีชั้นสูงอะไร งานนี้ก็จัดการตัวเองได้

เรื่องเงินทุนที่ใช้คงไม่มากถ้าไม่พอก็ทำค่อยเป็นค่อยไปตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับพระราชทาน งานนี้ก็จัดการตัวเองได้

หรือจะเอาให้เสร็จเลยเงินที่ขาดไปปรึกษา ธกส เกษตรกรก็มีเครดิตอยู่แล้ว

ผลสัมฤทธิ์จะใช้เวลาสักเท่าไร ประมาณว่ากระบวนการเดินไปตามระบบน่าจะไม่เกินหนึ่งปี

ในหนึ่งปีระหว่างการปรับปรุงและพัฒนานี้เกษตรจะอดตายก่อนหรือไม่ ก็ต้องขอให้รัฐบาลช่วยชั่วคราว ถ้าไม่ช่วยจำเป็นต้องยกระกับการชุมนุมตามที่ว่ากัน

 

คำสำคัญ (Tags): #จัดการตนเอง
หมายเลขบันทึก: 548561เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนอาจารย์ จำรัส วาทกรรมจัดการตนเอง จริงๆแล้วมีหลายเรื่องที่จัดการตนเองได้ แต่เราไม่ยอมจัดการ

การจัดการตนเองของคนรุ่นพ่อเฒ่าคือ

เลี้ยงเป็ดไว้กินไข่

เลี้ยงไก่ไว้กินตัว

เลี้ยงวัวไว้ไถนา

เลี้ยงหมาไว้เฝ้าบ้าน

เลี้ยงม้าไว้เดินทาง

นั้นคือการจัดการตนเอง

เรียน ท่านวอญ้า

พวกที่กอดวาทะกรรม "จัดการตนเอง" แล้วเอาไปทำพอได้ ถ้าจะให้คำจำกัดความเป็นภาษา Asean คงต้องใช้คำว่า "ดังแต่ท่อล้อไม่หัน" ครับ

เรียนท่านอาจารย์ จำรัส 

ชอบภาษา Asean จังหู

"ดังแต่ท่อล้อไม่หัน"

หรืออีกประเภทหนึ่ง ประเภท อ้าย ท่าว 

คือไม่เท๋ง

ไม่ทั๋ง 

นั่งรุ่ง

พอแกงพรุ่ง  ฉวยชามพลามเลย.... ซึ่งประเภทนี้ก็มีอยู่มาก

 

...หลายๆประเทศที่ทำการเกษตรผลิตพืชไร่เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับประเทศผู้ผลิต...ทำให้ประเทศผู้ผลิตมีตัวเลือกมากสามารถเลือกซื้อพืชไร่เหล่านั้นได้ตามความพอใจ...ซื้อไปแลัวก็นำไปผลิตเป็นสินค้าวนกลับมาขายให้ประเทศเกษตรกรรมอีก...ความพอเพียงในเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะหยุดวงจรนี้ได้...การย้อนกลับไปศึกษาวิถีชีวิตดั่งเดิมทำการเกษตรเพื่อบริโภคในครัวเรือนปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน...กินอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียง ...สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่งนะคะ...ขอบคุณค่ะอาจารย์

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.พจนา

ความพอเพียงเป็นวิถึชีวิตดั้งเดิมของไทย ตามที่ท่านวอญ้า ได้ให้ความเห็นไว้ข้างต้น

การย้อนกลับหลายฝ่ายได้พยายามทำเกือบจะไร้ผล เราน่าจะหาสาเหตุว่ามันติดขัดอยู่ตรงไหน อย่างประเทศภูตานเขาใช้ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเป็นดัชนีแห่งความสุข เศรษฐกิจพอเพียงคงจะลื่นไหลไปเองไม่มีอุปสรรคขัดขวาง

แต่ประเทศไทยใช้ตัวชี้วัดเป็น จีดีพี ระบบต้องเพิ่มการบริโภค ดังนั้นอุปสรรคใหญ่อยู่ที่นโยบายรัฐบาลการไปเปลี่ยนแปลงอะไรคงยากแสนเข็น

การขับเคลื่อนที่น่าจะได้ผลควรเป็นระดับจุลภาคคือระดับชุมชน แต่เมื่อทำพร้อมกันทั้งประเทศก็เป็นมหภาคโดยปริยาย ผู้ที่ตั้งใจด้านนี้ต้องสื่อตรงไปถึงชุมชนให้มากขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนเกิดกระบวนการคิดก่อน ขั้นต้นต้องให้น้ำหนักแก่กระบวนการหรือขั้นตอนมากกว่าผลสัมฤทธิ์

ขอบคุณมากที่ท่านอาจารย์สนใจและถือเป็นแรงใจครับ

 

 

 

   หนูว่า ... ระบบเศรษฐกิจโลก....จะผันผวนอย่างไร? ..... คนไทยทุกๆคน...ใช้ระบบพอเพียง .... ยังไงๆ คนไทย ... ก็ไม่อดเข้าตายแน่ๆ (ต้องพอเพียงจริงๆ และ ไม่มีหนี้สินลันพ้นตตัว) นะคะ  

 

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท