บทที่ 3 - องค์กรแห่งการเรียนรู้ นิยามที่ผมไม่เข้าใจหรือใครไม่เข้าใจ ???


องค์กรแห่งการเรียนรู้ นิยามที่ผมไม่เข้าใจหรือใครไม่เข้าใจ ???

บทที่ 3 - องค์กรแห่งการเรียนรู้ นิยามที่ผมไม่เข้าใจหรือใครไม่เข้าใจ ???

บทนี้ผมมาว่าเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ผมได้เรียนรู้ทฤษฎีเหล่านี้มาเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว แต่ถามว่าจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้มองเห็นภาพขององค์กรแห่งการเรียนรู้ว่าจะออกมารูปร่างหน้าตาแบบไหนอย่างไร แล้วจะทำให้เกิดประสิทธิผลออกมาอย่างไรบ้าง ???

ผมเคยลองเรียบเรียงแนวคิดเหล่านี้มาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ซึ่งเป็น Slide PowerPoint ที่ผมเองเคยสร้างทิ้งเอาไว้ (แต่ก็ไม่ได้ถูกเอาไปใช้พิจารณาอะไรทั้งสิ้น) 

เริ่มผมลองตั้งคำถามด้วยลักษณะ 5W1H คือ What มันคืออะไร ? = Why ทำไมเราต้องรู้จักกับมันด้วย ? = How จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้เกิดกระบวนการนี้ = Where ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ทฤษฎีองค์กรแห่งการเรียนรู้มีที่ไหนบ้าง ?

When ไม่ได้ระบุเอาไว้ เพราะรู้ว่ามันคือทุกที่ทุกเวลา และ Who คือใครนั้น แน่นอนครับว่าคือทุกคน โดยเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน 

คำถามแรก What มันคืออะไร ? ตามที่เข้าใจคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการองค์ความรู้จากระบบเดิม ที่จะขึ้นกับสายการทำงาน ระบบหัวหน้า - ลูกน้อง ไม่มีการรับรู้งานข้ามสาย ให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป็น การเกิดความร่วมมือกันระหว่างทีม ซึ่งอาจจะมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ในแต่ละสายงาน 

คำถามที่สอง Why ทำไมเราต้องรู้จักกับมันด้วย ? ตามที่เข้าใจคือ ตามนำเอาองค์ความรู้และทักษะที่ติดตัวอยู่ในแต่ละคนได้นำออกมาเข้าสู่ระบบศูนย์กลางขององค์กร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจัดการที่ง่ายขึ้น บุคคลากรใหม่ก็สามารถเข้าไปเรียนรู้จากศูนย์กลางได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการถ่ายทอดจากหัวหน้าเพียงอย่างเดียว อีกทั้งบุคคลภายนอกยังสามารถเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันได้อีกด้วย เป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรไปอีกทางหนึ่ง 

  

คำถามที่สาม How จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้เกิดกระบวนการนี้ ? มาคำถามอันนี้แหละที่ทำให้ผมเองยังไม่สามารถหาคำตอบได้ชัดเจน เพราะว่า สิ่งที่ผมเองกำลังดำเนินการอยู่ก็ไม่ได้มองเห็นความสำคัญของการสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ผมมององค์ประกอบที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ดังนี้ 

  1. ด้านวัตนธรรมองค์กร จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันตลอดเวลา หรือ การปรับมุมมองวิสัยทัศน์ของแต่ละคนให้ตรงกันเสมอ เพราะบางช่วงเวลาอาจจะมีการดำเนินงานที่เพี้ยนไปบ้าง ก็ต้องช่วยกันปรับปรุงแก้ไขต่อไป 
  2. ด้านบุคคล จะต้องมีความนำเสนอองค์ความรู้ของแต่ละบุคคลเสมอๆ 
  3. ด้านการเรียนรู้ แต่ละบุคคลนั้นจะมีรูปแบบที่ถนัดการนำเสนอแตกต่างกันไป อย่างผมเองก็ชอบที่จะเขียนมากกว่าพูด
  4. ด้านระบบรางวัล เมื่อดำเนินการไประดับหนึ่ง ระบบรางวัลก็เป็นแรงจูงใจอย่างนึงที่จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง 

ความรู้สึกของผมตอนนี้อาจจะบอกได้ว่า ผมอาจจะยังไม่เข้าใจกับภาพขององค์กรแห่งการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรจริงๆ นั้นได้อย่างไรบ้าง เพียงแต่ผมก็คงคิดได้แค่ว่า ผมเองก็คงจะดำเนินวิธีการลักษณะนี้ต่อไป แม้จะต้องดำเนินการเพียงลำพังก็ตาม แต่ก่อนผมเองก็เขียนบทความมามากมาย แต่เนื่องด้วยคนสนใจน้อยมาก ทำให้ผมเองเริ่มหมดกำลังใจที่จะเขียนออกมาไปเรื่อยๆ ช่วงนี้ผมจึงเริ่มออกมาเขียนบน GotoKnow แห่งนี้บ่อยขึ้นครับ 

เนื่องด้วยตัวผมเองเป็นคนเชิญชวนและโน้มน้ามไม่เก่งนัก ทำให้เริ่มไม่กล้าที่จะชักชวนสักเท่าไหร่ครับ ><' 

หรือจริงๆ ผมเองนั่นแหละ ที่ยังไม่เข้าใจ หลักการของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ มากพอละครับ ??? 

หมายเลขบันทึก: 548512เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเชื่อววัฒธรรมองค์กรที่เป้นแบบธรรมชาติ หรือ KM ธรรมชาติ

มาให้กำลังใจครับ

เห็น ด้วยกับ..อาจารย์ ขจิต ค่ะ..(มาให้กำลังใจ..เขียน..และ คิด..ในสิ่งดีๆ...มีประโยชน์)...คำถามที่เป็นจักรวัฏร.ก็คือ..ทำไม  อะไร..อย่างไร ที่ไหน..เป็นธรรมชาติ..ธรรมดา..อยู่แล้ว.(.มั้ง.).จะเข้าใจเขียนเปลี่ยนตัวอักษร..รอ..ให้..คนทั้งโลก..เข้าใจที่เราเขียน..คงยาก..มันก็มี..อยู่เป็นธรรมชาติ..นั่นอีกแหละ..เข้าใจ..และ..ไม่ เข้าใจ...อ้ะะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท