บทที่ 1 - Flipped Classroom นิยามใหม่ที่เกิดมานานแล้ว


Flipped Classroom นิยามใหม่ที่เกิดมานานแล้ว ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะมีประสบการณ์เรียนลักษณะนี้มาบ้างไม่มากก็น้อย

บทที่ 1 - Flipped Classroom นิยามใหม่ที่เกิดมานานแล้ว

"เราเคยได้เรียนรู้กระบวนนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว"

เริ่มต้น บทที่ 1 ผมขอยกประเด็นเรื่องของ ห้องเรียนกลับทาง หรือที่เรียกว่า Flipped Classroom ขึ้นมาเพราะว่าการศึกษาของไทยสมัยนี้เริ่มจะหยิบยกทฤษฎีนี้ขึ้นมามากมาย หลายสถาบัน ตั้งแต่โรงเรียนระดับชั้นอนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่กระทั่งสถาบันกวดวิชาบางแห่งเอง ก็ใช้หลักการเหล่านี้ขึ้นมาเป็นประเด็นการเรียนรู้สมัยใหม่ 

นิยามต่างๆ ของ Flipped Classroom ผมของยก URL นี้ขึ้นมาเพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมครับ http://www.gotoknow.org/planet/flippedclassroom

แต่จริงๆแล้ว เมื่อมองย้อนไปยังอดีต สมัยที่ยังเรียนตอน มัธยมศึกษาปีที่ 1 ของผมเอง (สมัยปี พ.ศ.2540) ในรายวิชาภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนนั้นจะใช้กิจกรรมในห้องเรียนเป็นลักษณะ เกมตอบคำถาม ในห้องเรียนโดยคำถามที่ใช้จะคำถามที่มีใน หนังสือเรียน ถ้าตอบคำถามได้ก็จะได้ คะแนนเสริม ในห้องเรียน 

หมายเหตุ บางคนคงคิดว่า การให้รางวัล ด้วย คะแนน จะทำให้นักเรียนยึดติด การเรียนเพื่อคะแนน มากกว่า การเรียนเพื่อรู้ แต่อาจจะเป็น กุศโลบาย อย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดการเรียนอย่างสนใจและติดตามมากขึ้น 

ด้วยเหตุผลนี้ สำหรับผมเอง มันทำให้มีความคิด อยากเตรียมตัว และอยากอ่านหนังสือล่วงหน้า ก่อนเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง ถึงแม้ว่าบางบทเรียนอาจจะยากเกินไป แต่ทำให้เกิด ความพยายาม ม ากขึ้น จึงทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของผมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

ขั้นตอนในการเรียนการสอน ช่วงเวลานั้นจะมี Step ดังนี้

  1. การบอกเนื้อหาล่วงหน้าที่จะต้องเรียนในครั้งถัดไปว่าจะเรียนเนื้อหาบทไหนบ้าง 
  2. การใช้กิจกรรม เกมตอบคำถาม เป็นระยะๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความท้าทายในการเรียน 
  3. สลับเป็นการบรรยายเนื้อหาบ้างเช่น Grammar, Tense หรือแม้กระทั่งคำศัพท์ต่างๆ 
  4. การบันทึกคะแนนเสริมไม่ได้อาศัยการบันทึกโดยครูแต่อาศัย ความเชื่อใจ ของนักเรียนมาบอกคะแนนเสริมที่ได้หลังเลิกเรียน ซึ่งมันอาจจะดีและไม่ดี ก็ได้ (บางครั้งนักเรียนคิดไปเองว่าคะแนนส่วนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มเกรดได้บ้าง) 

ข้อดี ของการเรียนแบบนี้ของผมเองก็มีอธิบายมามากแล้ว แต่ใช่ว่าจะไม่มี ข้อเสีย ใดๆเลยเหมือนกัน โดยแบ่งข้อเสียออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

  1. ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบการเรียนการสอนลักษณะนี้ ผมนึกย้อนได้ว่า นักเรียนบางคน เท่านั้นที่จะไม่ร่วมเล่นกิจกรรมนี้เลย แม้ว่าจะกระตุ้นอย่างไรก็ตาม 
  2. ไม่ใช่ว่าทุกช่วงเวลาที่จะมีความรู้สึก ร่วมสนุก ในทุกๆคาบที่เรียน ผมเองก็มักจะเกิด ความเบื่อหน่าย ในการเล่นด้วยบางครั้ง ด้วยเพราะสาเหตุ การตอบสนอง ไม่เท่าเทียมกันทุกคน หรือแม้กระทั่งบางวันที่ สภาพร่างกาย ไม่พร้อม 
  3. ตามหมายเหตุที่กล่าวมาข้างต้น การจัดกิจกรรมลักษณะนี้จะมีผลให้นักเรียนยึดติด การเรียนเพื่อคะแนน มากกว่า การเรียนเพื่อรู้ ดังนั้นแล้วจึงควรระวังและควร สรุปการเรียนการสอน ให้นักเรียนเข้าใจถึงเหตุผลในการเรียนแต่ละบทเรียนด้วย

จากประสบการณ์อื่นๆ ผมอาจจะยังมองว่าไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการ Flipped Classroom มากนัก ในบทต่อไปผมจะไล่ย้อนอดีตแห่งการเรียนรู้เรื่องใด และจะเชื่อมโยงกับทฤษฎีการเรียนรู้ได้อย่างไรบ้าง โปรดติดตามด้วยครับ 

หมายเหตุ ผมอาจจะยังใช้คำได้วกวนบ้าง หรือ บางครั้งใช้คำซ้ำ ในบางจุด ก็ขออภัย ณ ทีนี้ด้วยครับ แนะนำผ่านความคิดเห็นได้เสมอครับ 

ขอบคุณที่ติดตามครับ :)

หมายเลขบันทึก: 548157เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับอาจารย์นะคะ นักศึกษาปัจจุบันระดับมหาวิทยาลัยต้องกระตุ้นมากเหลือเกินเน้นITมากๆไม่จับหนังสืออ่านเลย

ครูหยินได้ใช้วิธีเดียวกันปรับเป็นเกมใช้กระบวนการกลุ่ม และรายเดี่ยวแต่ประสบความสำเร็จมากยังใช้อยุถึงทุกวันนี้  ...ครุต้องเตรียมความพร้อมสูง

กำลังเรียนรู้ห้องเรียนกลับทาง ได้ประโยชน์มากจริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท