595. เรียนอดีต รู้ปัจจุบัน เห็นอนาคตใน Sarah's Key


ดูหนังเรื่อง Sarah’s Key เมื่อไม่นานมานี้ ก็ต้องบอกเลยว่าเป็นหนังที่ดูแล้วสะเทือนใจมาก โดยเฉพาะคนมีลูกสาว 

                                                             

หนังเริ่มจากเรื่องราวของยุคปัจจุบัน ที่มีสุภาพสตรีนักข่าวคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในปารีส ได้ย้ายเข้าไปในอพาตเม๊นต์ใหม่ใจกลางมหานาครปารีส เนื่องจากเธอเป็นนักข่าว มีวันหนึ่งสำนักข่าวมอบหมายให้เธอทำสกู๊ปข่าว เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ช่วงนั้นนาซีได้เข้ามาครอบครองฝรั่งเศส เลยต้องการเจาะเรื่องราวไปทำข่าว ระหว่างที่ศึกษาด้วยความบังเอิญ เธอไปตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าที่ที่เธออาศัยอยู่นั้น เดิมเคยเป็นถิ่นฐานของชาวยิวฝรั่งเศส ที่ต่อมาถูกนาซีจับออกไปฆ่าหมด เธอเลยอยากรู้ว่าใครเคยอาศัยในห้องที่เธอย้ายมาก่อน เธอจึงเริ่มสืบประวัติ  แล้วก็มาเจอว่าครอบครัวนี้มีพ่อแม่ลูกชายและลูกสาว พ่อแม่เสียชีวิตในค่ายกักกัน ส่วนเด็กสองคนเมื่อไปสืบ ตามประวัติศาสตร์นั้นนาซีไม่ได้ฆ่าเด็ก แต่เนรเทศออกไปกว่า 70,000 คน

เมื่อเข้าไปที่ศูนย์ข้อมูลกลับพบว่าไม่มีรายชื่อเด็กสองคนนี้ไม่ว่าจะที่ไหน เธอเลยตั้งข้อสมมติฐานว่า ต้องเกิดอะไรขึ้นกับเด็กสองคนนี้ อาจตายก่อนหรือหนีรอดไปก็ได้  ที่สุดเริ่มตามรอยก็ค้นพบว่า คนที่เป็นพี่สาวนั้นรอดชีวิตไป ส่วนน้องไม่รู้ชะตากรรม  ทการสืบเสาะนำเธอมาถึงคนที่รู้จักเด็กสาวที่รอดชีวิต ก็เริ่มมีการเล่าเรื่องราว เธอคนนั้นชื่อซาร่าห์ เด็กหญิงอายุ 11 ขวบ เรื่องราวมีอยู่ว่า มีวันหนึ่งนาซีบุกมาจับตัว เธอได้ซ่อนน้องชายไว้ในตู้โดยสัญญาว่าจะมารับ เธอคิดว่าจะกลับไม่ได้ เธอและครอบครัวถูกจับไปค่ายกักกัน โดยถูกขังแยกกัน

 เธอต้องพยายามอย่างมากที่จะหนีออกจากค่ายให้ได้ แม้เวลาจะเนิ่นนานออกมาเรื่อยๆ  ที่สุดจากการสังเกตเธอเลยจับจุดได้ว่า ช่วงเช้ายามไม่เข้มงวด เธอเลยวางแผนหนี โดยมีเพื่อนตามไปหนึ่งคน เมื่อหนีรอดไปได้ ทั้งสองก็วิ่งสุดชีวิต ข้ามทุ่ง ข้ามป่า ไม่สบายด้วย อดอาหารด้วย ที่สุดมาเจอครอบครัวคนฝรั่งเศส ที่ตอนแรกไม่ยอมให้เข้าบ้านและไล่สองคนนี้ไป แต่พอรุ่งเช้าก็มาเจอว่าสองคนนี้หลบอยู่ในกรงหมา ก็เลยใจอ่อนช่วยชีวิตไว้ พามาเลี้ยงดู ต่อมาเพื่อนของซาร่าห์เป็นโรคคอตีบ แต่ครอบครัวชาวฝรั่งเศสไม่กล้าพาไปหาหมอ ที่สุดเลยตาย ทั้งสองเสียใจเลยเลี้ยงซาร่าห์ไว้

                            

ต่อมาเมื่อสบโอกาสก็พาซาร่าห์ เดินทางไปปารีส และกลับไปอพาตเม๊นต์เดิม แน่นอนสายไปแล้ว เธอเจอน้องชายตัวน้อยของเธอกลายเป็นซากศพ  ตั้งแต่นั้นมาเธอเป็นคนเงียบ ครอบครัวชาวฝรั่งเศสเลี้ยงดูเธอจนโตเป็นสาว แต่เธอก็เก็บกดความรู้สึกผิดมาทั้งชีวิต เลยหนีออกจากบ้านไปฆ่าตัวตาย แต่ไม่ตาย  ที่สุดเลยหนีมาอเมริกา มาแต่งงาน สามีก็ดีพยายามดูแล แต่ก็รู้สึกว่าเข้าไม่ถึง ซาร่าห์อยู่มานานจนตายด้วยโรคชรา   ที่สุดความลับทุกอย่างถูกเปิดเผย สามีก็ได้รับรู้สิ่งที่ตนไม่รู้ ลูกก็ได้ค้นพบถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของซาร่าห์  นักข่าวสาวถึงกับตั้งชื่อลูกคนแรกว่าซาร่าห์ 

...

ผมมองเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกหลากหลายครับ แต่เห็นแล้วไม่อยากให้โลกมีสงครามเลย สงครามที่ผู้ใหญ่ก่อขึ้น แต่เด็กรับกรรม น่าสงสารมาก   

... 

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงแนวคิด 4  M ของ Edward de Bono ปรมาจารณ์เรื่องความคิดสร้างสรรค์ครับ ท่านพูดถึงคุณค่าใน 4 มิติ ที่เราสามารถนำมาคิด มาต่อยอดได้ครับ คือ

Me Value คุณค่าของฉัน

Mate Value คุณค่าของเพื่อน

Mankind Value คุณค่าของมนุษยชาติ

Morale Vale คุณค่าในด้านศีลธรรม มนุษยธรรม

                                 

 

อาจารย์ Edward สอนให้เราพิจารณาคุณค่าจากสี่มุมครับ เพื่อลดอคติ มองโลกได้กว้าง ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สามารถสร้างสรรค์ร่วมกันได้ดีกว่า สำหรับเรื่องนี้จากมุมมอง 4M จะเห็นกระบวนการการตัดสินใจที่มีการกรองผ่านมุมมองนี้ชัดเจนและออกมาสร้างสรรค์กว่าครับ

 จะเห็นว่าครอบครับชาวฝรั่งเศส ในตอนแรก ยึดถือคุณค่าอย่างหนึ่ง (Me Value) คือฉันไม่ยุ่งกับเด็กยิว เดี๋ยวซวย  เพื่อนบ้านก็เช่นกัน (Mate Value)  คนเราเจอแค่นี้คนทั่วไปก็พอที่จะมั่นใจในการตัดสินใจของตนแล้วว่า การไม่ยุ่งกับเด็กยิวที่ดูแล้วหนีมาจากค่ายกักกันนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ..  ส่วน Mankind Value คุณค่าของมนุษยชาติ ประมาณว่าคนในโลก แม้จะไม่เห็นด้วย แต่สำหรับครอบครัวนั้นเป็นเรื่องไกลตัว ก็ดูไม่เกี่ยวแต่เมื่อหันมามองดู Morale Value คุณค่าทางศีลธรรม จริยธรรมแล้ว แม้จะดูขัดกับ Me Value และ  Morale Value แต่ย่อมเป็นสิ่งที่เหนือกว่าทุกอย่าง ที่สุดครอบครัวจึงตัดสินใจช่วยเด็กคนนี้แม้ต้องเสี่ยง    ที่สุด Morale Value กลายเป็นหนึ่งเดียวกับ Me Value จนนำไปสู่การคิดวางแผนช่วยเหลือซาร่าห์ ที่ก็ถือว่าครอบครัวชาวนา ครอบครัวนี้ทำได้ดีที่สุดแล้ว

 ชาว AI/OD เองหรือไม่ว่าวงการใดสามารถประยุกต์ใช้แนวคิด 4M กับการตัดสินใจในแง่มุมต่างๆได้ครับ สามารถนำมาใช้แทน SWOT Analysis หรือผสมผสานกันก็ได้ครับ จะช่วยเผยมุมมองได้กว้างขึ้น    ใช้ได้ไม่ว่าวงการใด อย่างตอนนี้เราเห็นการประท้วง ประท้วงทีไรปิดถนน ไม่ว่าฝ่ายใดเราก็ทำ นี่ไงครับ Me Value และ Mate Value เหมือนกัน (ถ้าฝ่ายตรงข้ามทำแบบเดียวกัน เราเรียกว่า Mate Value)  แต่ถ้าดูเรื่อง Moral Value เริ่มไปไม่ได้แล้ว เพราะปิดกั้นการทำมาหากินของคนอื่นนี่ก็เท่ากับลักขโมย  คราวนี้จะหาทางออกอย่างไร.. ลองไปดู Mandkind Value สิ มีการประท้วงน่ารักๆ ที่ได้ผลมีไหม. น่าจะมีนะ มีครั้งหนึ่งไปนิวยอร์ค ผมเดินไปแถวไทม์สแควร์  เจออะไรครับ เจอคนกลุ่มหนึ่ง เขาประกาศตัวว่าต่อต้านการรังแกสัตว์ เอาสัตว์ไปทดลองเครื่องสำอางค์ พวกเขาแต่งตัวชุดดำ ออกมาเต้นกลางถนน (แต่ไม่กีดขวางการจราจร เพราะตรงนั้นรถเคลื่อนช้า และอยู่บนเกาะกลางถนน)  .. น่าตื่นตาตื่นใจมากๆ ไม่รุนแรง แต่น่ารัก..  เรื่องนี้แอนนิต้า รอดดิ๊ก สุภาพสตรีที่ต่อต้านเรื่องเดียวกัน

                            


 ตอนหลังเธอก็มองเห็นครับ เธอเป็นผู้หญิงใช้เครื่องสำอางค์เช่นกัน และเธอก็รู้มาว่าเครื่องสำอางค์ดังๆ ล้วนแล้วแต่เอาสัตว์มาทดลองว่าเวลาปะแป้ง ทาลิปแล้วจะแพ้หรือไม่ทั้งนั้น ที่สุดเธอเลยตั้งบริษัทที่ต่อต้านการทดลองในสัตว์ชื่อ Bodyshop .. แล้วเขียนข้างขวดว่า Anti Animal Testing .. เป็นไงครับ สร้างสรรค์กว่าไหม.. ว่ากันตาม 4M .. Sarah มองเห็น Morale Value โดยไม่ได้ทำตามใครที่สุดกลายเป็นคนจุดกระแสในระดับ Mandkind Value ได้เลย  เรียกว่าไม่มัวไปประท้วงปิดทาง ขว้างของ  นี่เรียกว่าสร้างมาตรฐาน สร้างเทรนด์ใหม่ไปเลย

                                   

ผมว่าถ้าบ้านเราตีบตันมากๆ ก็ชะลอๆ ความรุนแรงลงก่อนครับ ค่อยๆหาแนวทางที่สร้างสรรค์ เพราะคุณอาจจะชนะการรบ แต่คุณจะแพ้สงครามแน่ เพราะได้สิ่งที่ต้องการก็จริง แต่ได้คนเกลียดคุณเพิ่มอีกเป็นกอง  (นี่ว่าทุกฝ่ายนะครับที่รุนแรง) .. และตอนนี้ผมว่าสังคมเราอยู่ในระดับ Me Value และ Mate Value มากไปเป็นสังคมที่อยู่ในกะลาแล้วครับ..   เป็นโมหะเชิงระบบทีเดียว

 

เอาหล่ะงานเขียนวันนี้ผมทำเพื่อซาร่าห์ และเด็กทุกคนที่เป็นเหยื่อผู้ใหญ่สิ้นคิดครับ ก็ขอให้ไปสู่สุคตินะครับ เรายังคิดถึงความกล้าหาญของเธอนะซาร่าห์

รวมทั้งคิดถึงผู้ใหญ่ใจดีที่กล้าคิดต่างอย่างครอบครัวชาวนาฝรั่งเศส

 

อ้อและขอบคุณสำนักพิมพ์ Sansakrit ที่กล้าคิดต่างเอาเรื่องนี้มาแปลเป็นไทยครับ (ผมเห็นที่ B2B) ครับ ส่วนหนังเองเก่าแล้ว หายากหน่อยครับ ลองถามแมงป่องนะครับ

 

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference:

Book: Edward de Bono Thinking Course

Picture:

The first picture retreived Sept 12, 2013 from http://en.wikipedia.org/wiki/Sarah's_Key

The second picture retreived Sept 12, 2013 from http://www.moviemail.com/film/dvd/Sarahs-Key/ 

The third picture retreived Sept 12, 2013 from http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=25816 

The fourth picture retreived Sept 12, 2013 from  http://www.evancarmichael.com/Famous-Entrepreneurs/883/summary.php

The fifth picture retreived Sept 12, 2013 from http://superhypeblog.com/marketing/how-body-shop-founder-anita-roddick-taught-businesses-to-do-good

หมายเลขบันทึก: 548040เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2019 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สุดยอดครับท่านอาจารย์ ดร.โญ

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ JJ 

 

ชอบคำว่า โมโหเชิงระบบค่ะ....ขอบพระคุณค่ะที่เขียนวิเคราะห์ได้อย่างสนุก

ขอบคุณมากครับ อ่านการวิเคราะห์หนังของอาจารย์แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจในชีวิตมากขึ้นครับ

อาจารย์คะ อ่านแล้วชอบแนวคิดค่ะ ขออนุญาตนำไปแบ่งปันให้เพื่อนๆอ่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท