ตารางแสดงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทประกอบธุรกิจประกันชีวิตที่ใช้บังคับในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน: 2


12.

เงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 กำหนดตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471และพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุม กิจการค้าขาย อันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2476

26 ธันวาคม พ.ศ. 2499

14 เมษายน พ.ศ. 2510

เงื่อนไขฉบับนี้ออกตามความใน ม. 6 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณะชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2485 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกะทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2476  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้า ขาย อันกะทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499

    ข้อ 3. ให้แก้คำว่า “กระทรวงพาณิชย์” ในเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัย ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2492 และในเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 เป็น “กระทรวงเศรษฐการ”

13.

 

พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510

 

15 เมษายน พ.ศ. 2510 –

10 เมษายน พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติประกันชีวิตฉบับแรก โดยกล่าวถึงการจัดตั้งบริษัทประกอบธุรกิจประกันชีวิต การขออนุญาต การวางหลักทรัพย์ การควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาต การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล แต่ไม่มีข้อกำหนดในเรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทแต่อย่างใด แต่กล่าวถึงเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทและการขออนุญาต ดังนี้

    ม. 7 ภายใต้บังคับมาตรา 8 การประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

    คำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตต้องมีรายการตามที่รัฐมนตรีกำหนด และจะดำเนินการเพื่อจัดตั้งบริษัทจำกัดได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี ในการนี้รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขก็ได้

    การควบบริษัทเข้ากันให้ถือว่าเป็นการจัดตั้งบริษัทจำกัด

    เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดและได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 14 กับทั้งได้ดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตามมาตรา 19 แล้ว ให้แจ้งต่อรัฐมนตรีเพื่อขอรับใบอนุญาต

    ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตให้ทำตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

    ม. 8 การประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะกระทำได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี ในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้

    หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตต้องดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา จำนวนทรัพย์สินที่รัฐมนตรีกำหนดต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดำรงตามมาตรา 19

    ในการปฏิบัติตามมาตรา 19 ให้ถือว่าทรัพย์สินตามวรรคสามเท่านั้นเป็นเงินกองทุน

    รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งก็ต่อเมื่อบริษัทได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 14 และดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินในประเทศไทยตามวรรคสามแล้ว

14.

กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510

17 ตุลาคม พ.ศ. 2510 –

10 เมษายน พ.ศ. 2535

กฎกระทรวงฉบับนี้ออกตามความใน ม. 6 และม.8 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ดังนี้

    ข้อ 1 ในกรณีที่บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศประสงค์จะเปิดสาขาในราชอาณาจักร สาขานั้นจะต้องประกอบธุรกิจประกันชีวิตประเภทเดียวกับที่สำนักงานแห่งใหญ่ในต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ประกอบอยู่แล้วไม่น้อยกว่าสามปี

15.

 

 

 

 

 

 

 

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

 

28 มกราคม 2515  

มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ

    ข้อ 1  ให้ยกเลิก

    (1) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกะทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471

    (2) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2485

    (3) พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499

    (4) พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2476

    (5) พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2484

    (6)  พระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499

    บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทน

    ข้อ 5  เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

    (1) การประกันภัย

    (2) การคลังสินค้า

    (3) การธนาคาร

    (4) การออมสิน

    (5) เครดิตฟองซิเอร์

    (6) การรับรองหรือรับซื้อตั๋วเงิน

    (7) การจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้อื่นกู้เงินนั้น หรือเอาเงินนั้นซื้อหรือซื้อลดซึ่งตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นหรือตราสารการเครดิต

    (8) การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือทรัพย์สิน เช่น พันธบัตร หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารพาณิชย์ หรือการทำหน้าที่เป็นตัวแทน นายหน้า ผู้จัดการ หรือผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารดังกล่าว หรือการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนตราสารดังกล่าว

    การประกาศตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะกำหนดประเภทหรือลักษณะของกิจการด้วยก็ได้

    ข้อ 6 ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 การประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น

16.

พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

11 เมษายน พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน

    ม. 7 ภายใต้บังคับมาตรา 8 การประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะกระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

    การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้

    เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดและได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 20 กับทั้งได้ดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตามมาตรา 27 แล้ว จึงให้ยื่นคำขอรับ

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว

    การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการ

อนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้

    ม. 8 บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้

    การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ต้องดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จำนวนทรัพย์สินที่รัฐมนตรีกำหนดต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดำรงตามมาตรา 27

    รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งก็ต่อเมื่อบริษัทได้วางหลักทรัพย์ประกันตามมาตรา 20 และดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินในประเทศไทยตามวรรคสามแล้ว

    บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะเปิดสาขา ณ ที่ใดๆ มิได้

    สาขาให้หมายความรวมถึงสำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด และได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ใช้เป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการข้อมูล สถานที่เก็บเอกสาร และสถานที่ฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท

    ม. 10 บริษัทต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

    ม. 13 บทบัญญัติมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 มิให้นำมาใช้บังคับแก่บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศตามมาตรา 8

17.

ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทหาชนจำกัด เพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย สำหรับปี 2538

7 มิถุนายน 2538 - ปัจจุบัน

ประกาศฉบับนี้ออกตามความใน ม.6 และ ม.7 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 กำหนดรายละเอียดเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจประกันชวิต สำหรับปี พ.ศ. 2538 ไว้ ซึ่งมีข้อกำหนดเรื่องเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นไว้ ดังนี้

    2.5 หุ้นและผู้ถือหุ้น

          2.5.1 การกำหนดมูลค่าหุ้นต้องไม่สูงกว่าหุ้นละ 100 บาท

         2.5.2 หุ้นที่ออกทั้งปวงต้องเป็นหุ้นสามัญ ชนิดระบุชื่อ และต้องส่งใช้มูลค่าหุ้นด้วยตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น

                   ทรัพย์สินที่ส่งใช้เป็นมูลค่าของหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องเป็นที่ดินหรืออาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือสำหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของบริษัทตามสมควร ส่วนราคาของทรัพย์สินที่ส่งใช้เป็นมูลค่าของหุ้นนั้น ให้ถือราคาตามประกาศประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งนายทะเบียนประกาศตามมาตรา 38 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

         2.5.3 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่

ได้จำหน่ายแล้วทั้งหมด

                  นิติบุคคลดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่ามีสัญชาติไทย

                  ก) บริษัทจำกัดที่มีหุ้นชนิดระบุชื่อ เป็นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด หรือมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด

                  ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน บรรดาที่มีทุนเป็นของนิติบุคคลสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 หรือมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 ของจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หรือมีหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว

                  นิติบุคคลจะถือหุ้นตามมูลค่าหุ้นของบริษัทได้ไม่เกินจำนวนทุน หรือทุนที่ชำระแล้วของนิติบุคคลนั้น

18.

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

30 ธันวาคม พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน

กฎกระทรวงฉบับนี้ออกตามความใน ม.6 และม. 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 กำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ดังนี้

    ข้อ 1 บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตได้เฉพาะการประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่าที่บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศได้รับอนุญาตและบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศนั้นต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

    ข้อ 2 บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ให้บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศนั้นยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศต่อรัฐมนตรี

19.

 

 

หมายเลขบันทึก: 548035เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท