การบริหารจัดการระบบคุณภาพ TQA สู่การประกันคุณภาพการศึกษา


          ในปัจจุบันนี้องค์กรทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นบริษัทห้างร้านต่างทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กรวมไปถึงหน่วยงานในภาครัฐบาลและภาคเอกชนทุกองค์กรล้วนให้ความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กรของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค

          TQA  เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กร ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อช่วยในการปรับปรุงวิธีการดำเนินการขีดความสามารถและผลลัพธ์ขององค์กรกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กรต่างๆทุกประเภทและเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจและจัดการผลการดำเนินการขององค์กรรวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาของไทยที่จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงและจะต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบว่าเราจะบริหารการศึกษาอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนให้มากที่สุดค้นหานวัตกรรมนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เยาวชนไทยมีการศึกษาที่ทันต่อโลกในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันกันทุกๆด้านอยู่ ตลอดเวลา เราจึงจำเป็นต้องหาวิธีการ ที่จะเป็นหลักประกันคุณภาพมารับรองเรื่องนี้ให้เป็นมาตรฐานเป็นแบบแผนที่นำไปใช้ได้จริงในการทำงานและได้รับผลตอบแทนที่เป็นเลิศที่สุด

           การนำ TQA เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาพัฒนาใช้กับการประกันคุณภาพการศึกษานั้นเป็นอย่างไรและมีผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งองค์กรอย่างไร
          
การประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญ  ประการคือ
          
. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
           
. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ
           
. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างแท้จริง
           การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับการดำเนินการที่สำคัญมีขั้นตอนดังนี้
           . การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเป้าหมายและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปมาตรฐานจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคลผู้เชี่ยวชาญ
           .การตรวจสอบคุณภาพ (Quality  Audit) เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตาม มาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดขึ้นมากน้อยเพียงไร และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาจะ เป็นไปอย่างมีคุณภาพ
           ๓.การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment ) เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดย
บุคลากรของสถานศึกษาหรือโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
          ดังนั้นระบบ TQA จึงเป็นยุทธศาสตร์รองรับยุทธศาสตร์หนึ่ง ที่สถานศึกษาควรนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งก่อนอื่นเราจึงจำเป็นต้องเข้าใจที่มาของระบบ TQA ก่อน

          TQAย่อมาจากภาษาอังกฤษ จากคำว่า Thailand Quality Award เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการในทุกด้าน ตลอดจนผลประกอบการที่ดีขององค์กร มาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันว่าเทียบเท่ากับองค์กรที่มีคุณภาพสูงสุดในโลก สำหรับประเทศไทย TQA เริ่มต้นตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีการศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลนี้และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้บรรจุ TQA ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๑ ) โดยมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนคือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 

          วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการนำแนวทางรางวัลคุณภาพไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการเรียนและแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการนำ TQA มาใช้ เพื่อแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กร

               แนวทางของ TQA  คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินการที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันขององค์กร ทั้ง ๗ หมวดดำเนินการได้แก่

หมวด ๑  การนำองค์กร : ที่มุ่งเน้นไปถึงความเข้าใจของผู้นำองค์กรที่มุ่งสู่การเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร รวมทั้งการสื่อสารความเข้าใจให้มีการร่วมมือของทุกคนในองค์กร รวมทั้งการมีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม

หมวด ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ : หมายถึง การจัดทำกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรและกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตลอดจนการถ่ายทอดกลยุทธ์นั้นไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง

หมวด ๓ การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด : องค์กรต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าและความต้องการของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ตอบสนองได้อย่างพึงพอใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดี

               หมวด  ๔ การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ : เป็นกระบวนการวัดผลการดำเนินงานและทบทวนการดำเนินงาน รวมถึงการบริหารจัดการสารสนเทศ ความพร้อมใช้และเพียงพอในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร

               หมวด  ๕  การมุ่งเน้นบุคลากร : บุคลากร ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่องค์ต้องรักษาและเพิ่มคุณค่า การพัฒนาบุคลากร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์กรต้องมุ่งสร้างความผูกพันซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญหนึ่งที่ยังคงยึดถือมานาน รู้รัก สามัคคี

หมวด ๖ การจัดการกระบวนการ : คือความเข้าใจในการจัดการและออกแบบระบบงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ตลอดจนต้องมีทบทวนและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ยังคงมาตรฐานประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร อย่างยั่งยืน
              หมวด ๗ ผลลัพธ์ : คือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านผลผลิต ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการเงินและตลาด ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านประสิทธิผลกระบวนการ และด้านการนำองค์กร

             โดยมีค่านิยมและแนวคิดหลักของTQA คือการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า การเรียนรู้ระดับองค์กรและระดับบุคคลการให้ความสำคัญกับบุคลากรและพันธมิตรความคล่องตัว การมุ่งเน้นอนาคตการจัดการเพื่อนวัตกรรม การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้างการมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่าและมุมมองในเชิงระบบ
           จากแนวทางการดำเนินการทั้ง    หมวดและค่านิยมและแนวคิดหลักของTQA จึงต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระบบการศึกษาแล้วการประกันคุณภาพการศึกษานั้นก็ไม่ได้ยากเพียงแต่มีการวางแผนที่ดีมีการจัดการที่ดีนี่คือปัจจัยในการนำระบบTQA  มาใช้แล้วเกิดผลสำเร็จคือ  ระบบการบริหารดีการวางแผนมีระบบมีความเข้าใจและตอบสนองได้อย่างพึงพอใจของผู้เรียนผู้ปกครองชุมชนมีการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องผลลัพธ์องค์กรมีคุณภาพ

             จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการนำระบบTQA มาประยุกต์ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้อย่างเหมาะสม โดยทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาและมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประกันคุณภาพทางการศึกษานั้น หากแต่ละหน่วยงานดำเนินการตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ตนเองได้วางไว้ ไม่ว่าจะนำระบบใดมาใช้ ก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อหน่วยงานของตนและหากทุกๆที่คำนึงถึงผู้รับบริการทางการศึกษา คือ ผู้เรียนที่เป็นทางตรง ที่เราให้การศึกษาและผู้ปกครองที่ได้ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในสถานศึกษา ก็ย่อมต้องการเห็นบุตรหลานของตนจบมาอย่างมีคุณภาพสามารถที่จะทำงานที่ดีและมีอนาคตที่ดีในสังคม ผู้ได้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการที่ต้องการบุคคลที่มีคุณภาพมาทำงานในหน่วยงานของตน เพื่อที่สถานประกอบการจะได้ก้าวหน้าไปได้อย่างยิ่งใหญ่ ประชาชนก็คาดหวังเช่นเดียวกันว่าจะได้บุคลากรที่ดีมีคุณภาพ มีคุณธรรมมาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

เอกสารอ้างอิง

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๒แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
              การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
   

  www.tqa.or.th /th/เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ/กรอบความคิดของเกณฑ์

 www.learners.in.th/blogs/posts/453234

 

 

หมายเลขบันทึก: 548010เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2013 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท