beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ซินแสบีแมน <๒> ครูในศตวรรตที่ ๒๑ : ผู้อำนวยการเรียนรู้


การจัดการดำเนินชีวิต คือ การวางระเบียบแบบแผนในการใช้ชีวิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

     เรื่องเดิม..เมื่อสัปดาห์ทีแล้ว บีแมน ให้นิสิตแพทย์ปี ๑๑๗ คน ในรายวิชาการจัดการดำเนินชีวิต (เป็นรายวิชาการศึกษาทั่วไป หรือ General Education) แบ่งกลุ่ม ๆ ละ ๑๐ คน ๙ กลุ่ม และกลุ่มละ ๙ คน ๓ กลุ่ม รวมเป็น ๑๒ กลุ่ม...แต่ละกลุ่มจะต้อง (ตรงนี้ใช้ออกแบบกระบวนการโดยยืมมาจากวิธีการของท่านอาจารย์ JJ)

  1. ตั้งชื่อกลุ่ม
  2. มีสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม
  3. มีเพลงประจำกลุ่ม
  4. และมีท่าเต้นประจำกลุ่ม

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นการเรียนคาบที่ ๒ ในสัปดาห์ที่ ๒ ซึ่งนิสิตกลุ่มที่ ๑-๖ จะต้องมานำเสนอในหัวข้อ "ความสำคัญของการจัดการดำเนินชีวิต" (บีแมนใช้ระบบการเรียนการสอนกลับทาง..กล่าวคือ แทนที่จะสอนเนื้อหาส่วนที่เป็น Lecture นำ, บีแมนกลับออกแบบให้นิสิต ทำกิจกรรม Active Learning ในรูปแบบการ Present นำหน้าส่วนเนื้อหาหรือ Lecture ที่เป็น Passive Learning เพราะส่วนเนื้อหานั้นใช้ในการสอบเป็นการเรียนรู้ระดับ Surface Learning เท่านั้น ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ จะทำให้นิสิตเข้าถึงการเรียนรู้ในระดับ Deep Learining-->ส่วนเนื้อหาในการสอบนั้นบีแมนจะมาติวให้ในภายหลัง) 

    เช้าก่อน ๘ โมงไปเข้าห้อง PTJ ปราบไตรจักร 42 เห็นนิสิตแพทย์กลุ่ม ๑ กำลังซ้อมละครที่จะมา Present ในวันนี้ (บีแมนคิดตอนนี้ว่า หลายวันก่อนนี้ได้ข่าวจากพี่ Hope นิสิตแพทย์ปี ๓ ว่า พวกน้องๆ ว่าที่คุณหมอปีนี้ เก่งเรื่องการ Present วันนี้น่าจะได้ดูอะไรดีๆ จากกลุ่ม ๑ นี้เลย)

   นิสิตแพทย์ค่อยๆ ทยอยกันมา เพื่อไม่ให้เสียเวลา บีแมนแจกกระดาษเช็คชื่อ ให้แต่ละกลุ่มเช็คชื่อกันเอง (แอบไว้วางใจนิสิต เพื่อให้นิสิตไว้วางใจเรา ฝึกให้นิสิตมีความซื่อสัตย์ในการเช็คชื่อพวกพ้องของตัวเองโดยที่ไม่โกหกตัวเองและโกหกผู้อื่น) ระหว่างนั้น รายชื่อกลุ่ม ๑๑ ขาดหายไป จึงให้นิสิตนำรายชื่อสำรองไปถ่ายเอกสารและเช็คชื่อย้อนหลัง (โดยบอกนิสิตว่า บีแมนไม่โทษใครที่ใบเช็คชื่อหายไป)

   หลังเวลา ๑๕ นาที หัวหน้าห้องนิสิตแพทย์บอกทำความเคารพ (โดยนิสิตทุกคนยืนขึ้นและยกมือไหว้..หลายคนยังไม่ยืนและหลายคนยังไม่พร้อม บีแมนกับอ.สุนีย์ ซึ่งยืนอยู่หน้าห้องและกำลังพนมมือ ก็ยืนนิ่งอยู่ในท่านั้น เมื่อทุกคนพร้อมแล้วจึงอนุญาตให้นั่งลง นี้เป็นการฝึกความมีวินัยและความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งบีแมนต้องการให้นิสิตแพทย์เป็นแบบนี้)

    เริ่มกิจกรรม

    กลุ่ม ๑ ชื่อกลุ่ม "หมวยแฟมิลี่" (10 คน) ไม่ได้บอกว่าทำไมตั้งชื่อนี้ เข้าแถวเรียง 10 คน แต่หันหน้าไม่ถูก มีแสดงท่าเต้น และเพลงประกอบ มีบทกลอนอ่านทำนองเสนาะ (รู้สึกว่าว่าที่คุณหมอชุดนี้ มี Art สูง) นอกจากนั้นยังมีความสามัคคี มีการแสดงออกโดยทุกคนในกลุ่ม มี Role Play หรือแสดงบทบาทสมมุติ ประกอบฉากใน Family.pptx ซึ่งออกแบบมาอย่างดี พอดีบีแมนไม่ได้เอากล้องถ่ายรูปไป อาศัย Powerpoint ของนิสิต ได้ภาพดังนี้..

 สมาชิกกลุ่ม ๑ หมวยแฟมิลี่

     กลุ่ม ๒ กลุ่มชายล้วน ชื่อกลุ่ม "อนุบาลเด็กอ่อน" มีความหมายว่าเป็นกลุ่มที่เป็นแก้วเปล่าพร้อมที่จะเรียนรู้ มีท่าเต้น โดยใช้เพลงทำนอง "ผมเอาแครอทมาฝาก" ใน สไลด์ powerpoint child.pptx มีการพูดถึงนิยาม และความหมาย บีแมนชอบความหมายนี้

     "การจัดการดำเนินชีวิต  คือ การวางระเบียบแบบแผนในการใช้ชีวิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต" 

    ช่วยทำให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และทำให้ชีวิตมีข้อผิดพลาดลดลง 

     กลุ่มนี้มีบทกลอนที่แต่งเอง โดย นสพ.จีรกิตติ์ ศรัทธาพิทักษ์ ดังนี้ (โปรดดูรายละเอียดใน powerpoint) 

    ชีวิตคนสูงต่ำเลิศล้ำค่า
  อยู่ที่ว่าตัวนำทำไฉน
มีตัวอย่างให้ดูอยู่ทั่วไป    ทั้งเติบใหญ่หรือดับลงคงรู้ดี
ปันปันเสกดาราดังยังพลั้งพลาด   ตกเป็นทาสของยาเสื่อมราศี
อีกมนัสนักมวยรวยมากมี    ต้องเป็นหนี้หมดตัวถ้วนทั่วกัน
เช่นน้องเมย์สร้างชื่อให้ไทยวันนี้   อิชิตันกรีนทีที่สร้างสรรค์
ล้วนจัดการวางแผนดีมีอนันต์   สู่เป้าหมายแห่งฝันวันแห่งชัย
การจัดการดำเนินเดินชีวิต   อย่าหลงผิดเพลิดเพลินเกินแก้ไข
รับผิดชอบระเบียบดีมีวินัย   ความสำเร็จยิ่งใหญ่ไม่ไกลตน.

  กลุ่ม ๓ กลุ่ม "The wolf" มีสัญลักษณ์ ท่าเต้นและเพลงประจำกลุ่มชื่อ "หมาใบชา" ร้องว่า "หมาไปชา เดินไปเดินมาใต้ต้นชาเขียว หมาน้อยจะกินอย่างเดียว ใต้ต้นชาเขียว เดินไปเดินมา" อิอิ 

   มี slide ๑ สไลด์ ดังภาพ 

 

 และ Role Play ประกอบ ๕ เรื่อง (ใช้ผู้แสดงทั้งกลุ่ม) ประกอบด้วย

  • การจัดการด้านอารมณ์
  • การจัดการกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา (โครงการที่อาจารย์มอบหมาย คนหนึ่งใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ คนหนึ่่งพึ่ง six sense)
  • เตรียมความพร้อมรับความกดดัน โดยตัวแสดงรับแรงกดดันไม่ไหวต้องโดดตึกเสียชีวิต (ตัวแสดงเล่นสมบทบาทจนเลือดกำเดาไหล..)
  • การเตรียมความพร้อมด้านภาษา เล่นบทบาทสมมุติ โดยมีองค์กร ที่เจ้านายพูดภาษาจีนว่า "Soap" แต่ลูกน้องสื่อเข้าใจว่าเป็น "ซุปไก่" และ "ศพคน"..อิอิ
  • การจัดการเวลา (แบบพวกเรา) หมายความว่าจัดการเวลาได้ดี จากบทบาทสมมุติที่แสดงนี้

กลุ่มที่ ๔ กลุ่ม "ใสเฟร่อ" มี ๑๐ คน ท่าเต้น เพลงประจำกลุ่มพร้อม หลังจากนั้นเปิดสไลด์ขึ้นมา แล้วก็มี บทบาทสมมุติ ตามภาพจาก สไลด์ แต่รู้สึกตัวแสดงจะเป็นตัวเดิมๆ (กลุ่มนี้คะแนนตกหน่อย แต่ก็ได้คะแนนระดับ ๙๐ อัพ) โปรดดูสไลด์กลุ่มนี้ group 4.pptx

กลุ่ม ๕ กลุ่ม "The Hunter" ทำท่ามือถือปืนขึ้นมาบนเวทีทั้งกลุ่ม และเปิดเพลงขบวนการพยัคฆ์ร้าย (บีแมนนึกถึงขบวนการพยัคฆ์ร้ายที่ดร.วรภัทร ภู่เจริญ เล่าให้ฟัง) กลุ่มนี้ประกอบด้วยสมาชิกดังภาพ

 สมาชิกกลุ่ม ๔ The Hunter

     กลุ่มนี้ มีเล่าเรื่องในสไลด์ ดังไฟล์นี้ The Hunters.pptx และมีนิทานเรื่อง "นกเพนกวิน" (ตรงกับชีวิตบีแมนที่อาจารย์หมอวิจารณ์ตั้งให้บีแมนเป็นนกเพกวิน คือ อยู่บนบกเดินต้วมเตี้ยม แต่อยู่ในน้ำจะพริ้วมาก) ว่าต้องมีการจัดการเวลา เมื่อตัวเมียออกไข่จะต้องให้ตัวผู้กกไข่และตัวเมียออกไปหาอาหาร ไข่จะตกพื้นไม่ได้ลูกจะตาย และตัวเมียต้องนำอาหารกลับมาให้ทันเวลา ไม่งั้นตัวผู้และลูกจะอดตายในที่สุด..

     กลุ่มนี้ มีคำขวัญว่า "มีระเบียบวินัย แต่ไม่แข็งกระด้าง"

     ต่อไปเป็นกลุ่ม ๖ กลุ่มสุดท้าย กลุ่มนี้ทำสไลด์ที่มีไฟล์ VDO บีแมนไม่ขึ้นสไลด์ให้ดู กลุ่มนี้มีเรื่องเล่า

  • การจัดการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี (ทิชชู ๕ บาท) เรื่องนี้เล่นเอาขำ (เป็นชีวิตส่วนหนึ่งของบีแมน)
  • การจัดการดำเนินชีวิตที่ดี (จน เครียด กินเหล้า)...แต่กลับตัวได้ไปทำงาน หาเงิน เก็บเงิน) 

    กลุ่มนี้ใช้พิธีกรคู่ และมีตัวอย่างเพื่อนชื่อ อ.นอนดึก ไม่อาบน้ำ ตื่นสายรีบมาเรียนโดยไม่อาบน้ำ กับอีกคนหนึ่งเป็นคนในกลุ่มที่ตื่นแต่เช้าแล้วไปปลุกเพื่อนๆ ให้ตื่นมาเรียนให้ทันตอนเช้า..

    จบ Role play แล้ว บีแมน ทำหน้าที่เป็น Commentator และ ทำหน้าที่ Reflection ด้วย....

    หลังจากนั้นก็ให้กลุ่ม ๗ และ ๘ มาสรุป...กลุ่ม ๘ สรุปได้ดีกว่ากลุ่ม ๗

    เพิ่มเติม..หลังจากสอนนิสิตกลุ่มนี้เสร็จ บีแมน ก็ไปเล่าเรื่องนี้ให้ผอ.กองศึกษาทั่วไป อ.อธิป ปทุมวรรณ ทราบ และร้องขอให้มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว อ.อธิป โทรไปที่สถานบริการสารสนเทศ และทราบว่า วันจันทร์ที่จะถึงนี้ จะส่งทีมงานถ่ายภาพเคลื่อนไหวมาบันทึกภาพ..

หมายเลขบันทึก: 546879เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อ่านกิจกรรมแล้วคิดถึงการละเล่นรอบแค้มป์ไฟค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆนะคะ แต่อ่าม่าไม่ได้ไปร่วมกับอาหมวยนี่คิดหนัก อิอิ

ตอนครูต้อยติ่งมาอ่านนั้นยังเขียนไม่จบ..อาจคล้ายเล่นรอบกองไฟ..แต่นี่เป็นการแสดงในห้องเรียน มี create คล้ายๆ กัน เป็นการสอนให้คิดแบบบูรณาการ ไม่ใช่เป็นการสอนให้จดจำ และเรื่องเดียวกันมีการนำเสนอถึง ๖ รอบ มีให้ข้อคิดเห็นและสรุปด้วย..ขอบคุณครับที่แวะมาติชม

ชื่นชมแนวคิด และการสอนของอาจารย์ นะครับ

ทำงานสนุกมีความสุขกับการทำงานนะคะ...อาจารย์Beeman...ขอชื่นชมค่ะ

ขอบคุณกำลังใจจากแสงแห่งความดีและท่านดร.พจนาครับ

เคยใช้กิจกรรมแบบนี้เหมือนกันค่ะ เป็นกิจกรรมกลุ่มแบบนี้น่ารักและน่าประทับใจทุกครั้งเลยนะคะ

ทำให้รู้ว่า เพื่อนที่อยู่ด้วยกันมา จริงๆ แล้วทำอะไรได้อย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อน....

ที่คุณชาดาเขียนมาเป็นความจริง แต่บีแมนทำกิจกรรมแบบนี้กับนิสิต ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแพทย์กับกลุ่มบริหารธุรกิจ (ท่องเที่ยว) ใช้รูปแบบกิจกรรมแบบเดียวกัน พบว่ามีความแตกต่างกัน ในระดับความพร้อมของนิสิต และต้นทุนทางความคิด

เหมือนเคยร่วมกิจกรรม นี้หลายปีก่อน สนุกและได้เรียนรู้ด้วยครับ อาจารย์

มาติดตามค่ะ ชอบกลุ่ม 4 ตรงที่มีบางอย่างเหมือนตัวเองเช่นเรื่องการจัดระเบียบเอกสาร(จากสไลด์)

ได้เรียนรู้และจะแบ่งเวลาจัดการให้เข้าระบบสักที ภาษาชาวบ้านเรียกว่าดองไว้นานแล้ว

อยากชมสไลด์กลุ่มที่ 6 เรียนรู้แบบนี้เหมาะกับคนหัวไว ครูต้อยแก่แล้ว สมองพัฒนาได้ช้าลง

การได้ชมภาพเคลื่อนไหวจะช่วยให้รำลึกความจำได้และจดจำบางอย่างที่ผ่านการได้ยินได้เห็นสุ่การคิดวิเคราะห์

ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้บ้าง

กลุ่มที่ 3 ทำน่ารัก ชวนให้คิดถึงเด็กน้อย ร้องรำท่าหนอนชาเขียว ตัวนิดเดียวเดินไปเดินมา ตัวเมียส่ายคืบนิดๆ ตัวผู้กระดิกโดดไปโดดมา ของเด็กๆ เพลงที่ร้องนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องการรับประทานอาหารมีผลต่อร่างกาย ต่างจากของนิสิตที่เนำเสนอความรู้ฝ่านกิจกรรมที่ให้ความรู้เพลิดเพลินในขณะเรียนรู้

กลุ่มที่ 1 ชอบการนำเสนอเหมือนสาระที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต เป็นขั้นตอนการจัดการชีวิต ตามวัย และท้ายที่สุดชอบมากๆคือการอยู่กับโลกร้อน จะอยู่อย่างไร และแม้ว่าการนำเสนอความรู้ในรูปแบบของpower point จะมีวิวัฒนาการมาจากการย่างแผ่นใส หากได้มีการนำแสง สี และการตัดต่อวีดีโอสั้นๆม่ช่วยเสริมให้เนื้อหาแน่น และเหมือนอยู่ในเกตุการณ์ ซึ่งต้องใช้เวลามากก็จะกลายเป็นสื่อชั้นเยี่ยมและเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ทั้งแนวคิดและความรู้

สำหรับกลุ่ม 2 ในส่วนตัวแล้วไม่ชอบการนำเสนอด้วยภาพที่ชัดเจน เกรงใจเจ้าของภาพที่เรานำมาเสนอประการหนึ่ง และกลัวเรื่องการละเมิดสิทธิ์ น่านำเสนอเช่นนี้มีดีตรงความคิดบวกที่นำเสนอ อีกอย่างทีไม่ชอบคือการนำความสำเร็จระดับคนที่มีองค์ประกอบเกื้อกูลมากมาย ยากที่คนธรรมดาน้อยคนจะก้าวไปสู่จุดหมายนั้นได้ และบางครั้งนำไปสู่ความทะยานเกินฐานะจนกลายเป็นเรื่องเศร้าหรือปัญหาให้กับสังคมก็มากมาย 

แต่อย่างไรก็ตามทุกกลุ่มที่ได้เรียนรู้อาจเพียงน้อยนิดไม่เข้มเต็มร้อยอย่างที่ท่านอ.นำมาบอกกล่าว

ก็เพียงความเห็นของคนเคยเป็นครูธรรมดาคนหนึ่งแบบพื้นๆที่จะเห็นได้ สัมผัสได้ถึงคุณค่าของการเรียนรู้ว่ามีประโยชน์มากและสามารถต่อยอดองค์ความรู้ ความคิดได้ไกลโขทีเดียว

ขอบคุณค่ะ

เรียน พ.แจ่มจำรัส

  • ได้เคยร่วมกิจกรรมหลายปีก่อนเหมือนกัน ปีนี้มีโอกาสได้สอนเด็กเก่ง เลยนำกิจกรรมมาลองใช้ดูครับ

เรียน ครูต้อยติ่ง

  • ความเห็นนี้ดีมากครับ มีวิพากษ์วิจารณ์พร้อม..
  • ผมคิดว่าเอาส่วนที่เป็นกลอนซ่อนไว้ดีกว่า..อาจมีผลต่อคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

เป็นเพลงที่เด็กๆร้องเล่นกันค่ะ ไม่ใช้คำกลอน 

กำลังพยายามลบนะคะ ไม่ทราบวิธีคงต้องขอคำแนะนำค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

เรียน ครูต้อยติ่ง

    บีแมน..กล่าวถึงบันทึกนี้ของนิสิตแพทย์..ได้ซ่อนบทกลอนเอาไว้ โดยวิธีการทำให้ตัวอักษรเป็นสีขาว และทำ Hilight เป็นสีขาวด้วย เพราะกลอนอาจไปกระทบสิทธิ์ของคนอื่น

   การสอนนิสิตแพทย์ต่อไป จะสอนให้พยายาม มองบวก นำเสนอในด้านบวก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท