สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

การพัฒนาชุมชนต้องเริ่มที่ “ใจ”


การพัฒนาชุมชนต้องเริ่มที่ ใจ

นางสาวจุฬาลักษณ์ อินทร์แป้น ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ อบต.หนองอียอ อำเภอสนม จังหวัด

สุรินทร์ เล่าว่า สาเหตุที่ได้เข้ามาร่วมอบรมโครงการนักถักทอชุมชนที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ที่ร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการเรี

ยนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) เพราะงานที่เราทำต้อง มีกิจกรรมหรือการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับชุมชน เราจึงต้องมีความรู้ในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งตรงกับการเป็นนักถักทอชุมชนที่สามารถเข้าไปในชุมชนได้

โชคดีที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิเคราะห์คือคุณสมเกียรติ สาระ ท่านสนใจและอยากดำเนินงานพัฒนาเด็กแล

ะเยาวชน เพราะท่านมองเห็นว่าในอนาคตเยาวชนเหล่านี้อาจช่วยงานของ อบต.ได้ ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างความเข้าใจให้กลุ่มเยาวชนได้รับรู้การดำเนินงานในอนาคตก็จะทำได้ง่ายขึ้น และตัวเราเองก็อยากเข้ามาเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ด้วย
นางสาวจุฬาลักษณ์ เล่าต่อว่า ตอนแรกยอมรับว่าเราไม่มีความรู้เรื่องของการเป็นนักถักทอชุมชนเลย แค่ทำไปตามบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำเท่านั้น แต่พอได้เข้ารับการอบรม ทำให้เรารู้จักการสร้างแผนงานและวางแผนงานด้วยตัวเอง พร้อมกับนำเสนอกับชุมชนให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เราทำมีประโยชน์กับชุมชนอย่างไร ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการวางแผนการประสานงานหลักสูตรนี้ก็จะเป็นตัวเสริมให้เราทำงานได้ดียิ่งขึ้น


นอกจากนี้ยังได้ในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง เพราะอาจารย์ทรงพล เจตนาวาณิชย์ไม่ได้เน้นว่าจะต้องพัฒนาชุมชนอย่างเดียว แต่เราต้องพัฒนาตัวเองให้ได้ก่อนที่จะไปพัฒนาด้านอื่นๆ ก่อนจะไปเสนอให้คนอื่นได้เห็นเราต้องเห็นก่อนว่างานที่เราทำไปแล้วเกิดผลดีอะไรบ้างกับตัวเอง คนอื่น และชุมชนอย่างไร และมีผลตอบรับกลับมาอย่างไรบ้าง
ก่อนหน้าที่จะมาทำงานชุมชน เราเคยทำงานในบริษัทเอกชนมาก่อน ในตำแหน่งฝ่ายบุคคล ทำอยู่ 2 ปีกว่าๆ แต่คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่มีค่านิยมว่าการรับราชการดีกว่าการทำงานในบริษัทเอกชน แต่ด้วยระบบงานที่แตกต่างกัน เอกชนทำอะไรแล้วต้องสำเร็จและเห็นผล ส่วนราชการจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้การทำงานในช่วงแรกๆ ของเราค่อนข้างยาก เพราะการประสานกับชุมชนต้องมีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ไม่ใช่ว่าเราเข้าไปสั่งๆ เขาโดยที่เราไม่ได้แสดงความจริงใจให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เรานำมาให้เขาเพื่อที่จะพัฒนาให้ชุมชนดีขึ้นจริงๆ
สำหรับหลักสูตรนักถักทอชุมชน อาจารย์ทรงพลจะสอนตั้งแต่พื้นฐาน อาทิ ความรู้สึกนึกคิดว่าต้องรู้สึกอย่างไร ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองและใจของเรากับการทำงานอย่างไร เพราะการทำงานแต่ละอย่างต้องใช้ ใจ ทั้งสิ้น ต้องยอมรับว่าตอนแรกยากมาก เพราะการที่เราเข้ามาทำงานที่นี่ไม่ใช่ว่าเพราะเราอยากเปลี่ยนงาน แต่ด้วยปัจจัยอย่างหลายๆ อย่างทำให้เราต้องเปลี่ยน เช่น พ่อแม่ ส่งผลให้ช่วงแรกเราไม่ค่อยทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมายเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตามจากการที่ได้เข้ามาอบรมในหลักสูตรนักถักทอชุมชน 3 - 4 ครั้ง พบว่าตัวเราก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะได้เรียนรู้ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงจากใจเราก่อนที่เราจะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น เราเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้หรือเปล่า และเราจะทำงานของเราให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยใช้หลักความคิด หลักการตั้งคำถามที่อาจารย์ทรงพล เจตนาวาณิชย์ กล่าวว่าการทำงานแต่ละอย่างที่เราลงแรงลงใจไปได้อะไรมาบ้าง และมันคุ้มกับที่เราลงแรงไปหรือเปล่า แต่ถ้าเรามีกระบวนการคิดที่ดี ผลที่ออกมาก็จะแตกต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 546088เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วได้ความรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนมากๆครับ

."..การเปลี่ยนแปลงจากใจเรา ก่อนที่เราจะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น เราเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้หรือเปล่า..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท