หลักการใช้และผลิตสื่อ / นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้


 

การพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้

1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่

2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่

3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน

4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน

5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่

6. ตรงกับเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่

7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. ราคาสมเหตุสมผล ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

10. ช่วยกระตุ้นความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

การใช้สื่อการสอน

 1.  ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป 

2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้

3.ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง  

4. ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)

หลักการผลิตสื่อ / นวัตกรรม

         ประเภทของสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษา

                    1. จำแนกตามผู้ใช้

                      1.1   ประเภทสื่อสำหรับครู ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู เอกสารประกอบการสอน ชุดการสอน (สื่อประสม) หนังสืออ้างอิง เครื่องมือวัดผล อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ

                    1.2   ประเภทสื่อสำหรับนักเรียนได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เอกสารประกอบการเรียน ชุดฝึก                ปฏิบัติ ใบงาน แบบฝึกหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดเพลง ชุดเกม การ์ตูน

                           2. จำแนกตามลักษณะ

                          2.1   ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมุติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบ
                  ศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเป็นรายบุคคล                     รูป  แบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีสอนอุปนัยและนิรนัย ฯลฯ

                2.2  ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียน

                โมดูล วีดีทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้
                คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                       3. การออกแบบสื่อ/นวัตกรรม
                       เมื่อเลือกนวัตกรรมที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาแล้ว ครูผู้สอนจะต้องกำหนดโครงสร้างของนวัตกรรมให้ชัดเจน                           เพื่อเป็นกรอบในการสร้าง
                       โครงสร้างสำคัญๆ ของนวัตกรรมประกอบด้วย

1.วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม เป็นการระบุเฉพาะวัตถุประสงค์หรือผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นโดยตรงจากนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเท่านั้น และจะต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มุ่งตรงต่อการแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องของนักเรียนในเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง มีความเป็นรูปธรรมสามารถวัดได้

2.ลักษณะหรือส่วนประกอบของนวัตกรรมนั้นๆ เช่น ถ้าเป็นนวัตกรรมประเภทเอกสารจะต้องร่างเค้าโครงให้ชัดเจนก่อนว่า ในเอกสารนั้นจะมีสาระสำคัญอะไรบ้าง จะนำเสนออะไรก่อนหลัง วิธีนำเสนอเป็นแบบใด และโดยภาพรวมของเอกสารจะมีรูปร่างสำคัญประกอบด้วย คำนำ สารบัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมแบบทดสอบท้ายเล่ม

        4. หลักการการสร้างสื่อ/นวัตกรรม
            การสร้างนวัตกรรมจำเป็นที่ครูผู้สอนจะต้องศึกษาหลักการ แนวคิด หรือทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมชนิดนั้นๆ เพื่อให้สร้างนวัตกรรมได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ ในที่นี้จะนำมายกตัวอย่างพอเป็นสังเขป เช่น
-         หลักจิตวิทยาการเรียนรู้  ช่วยให้ครูผู้สอนเข้าใจถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถที่จะเลือกเทคนิควิธี กิจกรรม หรือสิ่งต่างๆ มาใช้จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละวัย
-         ทฤษฎีการเรียนรู้  เป็นส่วนที่จะช่วยให้ครูทราบว่า ในเงื่อนไขหรือสภาวการณ์แบบใดนักเรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
-         หลักการสอน  เป็นหลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้ครูเลือกเทคนิควิธี หรือกิจกรรม หรือสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาและปรัชญาของหลักสูตรนั้นๆ
-         หลักการสอนทั่วไป เช่น การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนจากง่ายไปหายาก จากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม หรือการสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม
-        หลักการสอนเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ / รายวิชา เช่น การสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา หรือการสอน
จริยะศึกษาด้วยกระบวนการสร้างค่านิยม
-         หลักจิตวิทยานวัตกรรมประเภทต่างๆ  ก่อนที่จะเลือกนวัตกรรมใดมาใช้จัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจำเป็นต้องรู้ถึงหลักจิตวิทยาของสื่อนวัตกรรมนั้นๆ เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เลือกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น บทเรียนสำเร็จรูปยึดหลักทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom และทฤษฎีการเสริมแรงของ Skinner เป็นต้น

 

 

บรรณานุกรม 

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน.(2554).เข้าถึงได้จาก : 

 http://somkitenglish.blogspot.com/2007/10/blog-post_6974.html [12 สิงหาคม 2556].

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการสอน.(2543).เข้าถึงได้จาก :

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/introduction_to_teaching/06.html [12 สิงหาคม 2556].

 สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา.(2556).http://blog.eduzones.com/madamread/102978[12 สิงหาคม 2556].

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 545299เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท