การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม


การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม

การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ

1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา

2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา

3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่ 

  มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา,

  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ, เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์, เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม -Presentation Transcript

การเรียนร่วมหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป

    การจัดการเรียนร่วม   เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ   โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป   โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ   รับผิดชอบร่วมกัน   (Collaboration)  และการจัดการเรียนร่วม   อาจกระทำได้หลายลักษณะ   วิธีการจัดการเรียนร่วม   ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ     ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6  รูปแบบ   ดังนี้  

1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน   รูปแบบการจัดเรียนร่วม  

2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา

3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู

4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม

5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ

6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ

ที่มา http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 (11 สิงหาคม 2556) 

หมายเลขบันทึก: 545254เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2013 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท