อาหารของผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสาย


  • เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แม่เข้าโรงพยาบาลและ แม่เป็นผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสาย โดยจะต่อสายเข้าไปทางจมูก มีเทปติดไว้ที่จมูก สายนี้ยาวไปถึงกระเพาะอาหาร  
  •  
  • แม่จะจำไม่ค่อยได้ว่าต้องให้อาหารทางสายยาง จึงถามหาว่าแม่ยังไม่ได้กินข้าวอยู่บ่อยๆ และถามหาอาหารที่ชอบรับประทาน เช่น ข้าวหอมมะลิ กาแฟเย็น  
  •  
  • ตามที่ไปเรียนรู้จากนักโภชนาการที่งานโภชนาการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เค้าจะถามรายละเอียด และคำนวณเป็นสูตรออกมาว่าผู้ป่วยต้องได้รับอาหารสูตรไหน ปริมาณเท่าไร
  •  
  • ท่านกรุณาให้ความรู้มาว่า อาหารที่ให้ทางสายมี 2 ชนิด คือ
  •             1 อาหารทางการแพทย์และ
  •             2 อาหารที่เจ้าหน้าที่ในงานโภชนาการหรือเราประกอบขึ้นมา โดยปั่นและแบ่งใส่ภาชนะตามปริมาณที่ผู้ป่วยแต่ละท่านต้องได้รับในแต่ละมื้อ
  • วันที่ไปพบนักโภชนาการ เค้าจะจดสูตรและบอกวิธีการปรุงและเก็บอาหารให้เราทราบ 
  •  
  • เมื่อแม่ออกจากโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลให้อาหารมาจำนวน 4 ขวด เป็นของเหลวสีครีมๆ เป็นอาหารทางการแพทย์ โดยพยาบาลบอกว่าต้องให้อาหาร วันละ 4 มื้อ คือ
  •     มื้อเช้า 6.00 น
  •     มื้อเที่ยง เวลา 12.00 น.
  •     มื้อเย็น เวลา 18.00 น.
  •     มื้อดึก เวลา 24.00 น.
  • หมายความว่าต้องให้อาหารกลางดึกด้วย
  • หัวหน้าพยาบาลกรุณาบอกว่ามื้อดึกเวลา 22.00 น. ก็ได้ 
  • ผู้เขียนคิดเอาเองว่าคงต้องไปปรับเวลานิดหน่อยเองละมัง
  • อาหารที่เป็นขวดต้องแช่ตู้เย็น ประมาณ 5 องศาเซลเซียส
  • เมื่อแม่ออกจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้าน ผู้เขียนต้องให้อาหารทางสายตามที่ได้รับการสอนวิธีการให้อาหารจากถุง ถุงดังกล่าวจะคล้ายกระเพาะมีสายต่อยาวและต้องต่อเข้ากับสายที่เข้าทางจมูกของผู้ป่วย มีที่สำหรับปรับการหยดของอาหาร เจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลสอนว่า
  •             - จะต้องไม่ให้หยดเร็วเกินไป เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้
  •             - ก่อนให้อาหาร ให้พับสายยางด้านที่จะต้องสอดใส่กับถุง ก่อนเอาไซริ่งสำหรับให้อาหารสอดเข้าไป การพับเพื่อไม่ให้ลมเข้าท้องผู้ป่วย
  •             - คลำดูที่บริเวณท้องด้านซ้ายของผู้ป่วย แล้วดูดและผ่อนไซริ้ง และลองฟังดูว่ามีเสียงคล้ายลมออกไหม ถ้ามี แสดงว่า สายอยู่ที่กระเพราะ จึงจะพร้อมที่จะให้อาหารได้ การทำเช่นนี้ เพื่อแน่ใจว่าปลายสายอยู่ในกระเพราะ ไม่ได้หลุดออกจากกระเพราะ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสำลักได้
  •             - หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารที่เตรียมใส่ในถุงได้
  •             - เมื่ออาหารหมดแล้ว ต้องบดยาและให้ยาทางสายยาง
  •             - ต้องทำความสะอาด คือ ล้างถุงใส่อาหารและผึ่งแดดไว้เพื่อฆ่าเชื้อโรค และต้มน้ำร้อนเพื่อลวกไซริ้งสำหรับให้อาหาร
  • ปรากฎว่าช่วงแรกๆที่ลงมือทำจริงนั้น จะยังไม่ค่อยมั่นใจ แต่ก็พอจะทำไปเรื่อยๆก็ผ่านไปได้ดีพอสมควร 
  • หลังจากนั้น เมื่ออาหารที่ได้จากโรงพยาบาลรอบแรกหมดลง ผู้เขียนต้องไปโรงพยาบาลเพื่อซื้ออาหารของผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายและรับอาหารที่งานโภชนาการ ในครั้งแรกที่ไปรับอาหารจากงานโภชนาการนั้น นักโภชนาการกรุณารีบจัดอาหารให้ เพราะทราบว่าอาหารที่ได้รับไปก่อนหน้านี้หมดแล้ว เมื่อได้รับอาหารเป็นขวด 4 ขวด ขวดอาหารยังอุ่นๆ จึงได้ถามนักโภชนาการว่าต้องอุ่นด้วยเหรอ เค้าตอบว่าใช่
  •  
  • ผู้เขียนอุทานออกมาอย่างตกใจ ว่า ต๊ายตาย ไม่รู้เลยว่าต้องอุ่น ผู้เขียนบอกเค้าว่าที่ให้อาหารแม่ไป ไม่ได้อุ่นเลย เค้ารีบถามว่าแล้วแม่เป็นอะไรไหม โชคดีนะเนี่ยที่แม่ไม่ท้องเสีย 
  •  
  • ครั้งนั้น ผู้เขียนเพิ่งทราบว่าเค้าต้องอุ่นอาหารก่อนให้ผู้ป่วยด้วย  เอ แล้ววิธีการอุ่นที่เราทำมันถูกไหมเนี่ย วิธีที่ทำการอุ่น คือ เอาน้ำอุ่นหรือร้อนหล่อนอกขวดอาหาร ให้อาหารอุ่น
  •  
  • เรื่องเหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องให้เรียนรู้หลากหลายเรื่องในการดูแลผู้ป่วยค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 545152เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2013 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท