ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


สวัสดีครับท่านผู็อ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของ "ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน" ที่ผมได้ไปค้นคว้ามา อันดับแรกต้องขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนก่อน ส่วนแรกคือ ทฤษฎีการเรียนรู้ และส่วนที่สองคือ ทฤษฎีการสอน สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้

สำหรับเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ เนื่องจากว่าผมได้เคยเรียนมาบ้างแล้วจากวิชา พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งสอนโดย รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และผมก็ได้บันทึก Lecture ไว้ในไฟล์ Word และก็นำมาแชร์ลงในบันทึกด้วย ดังลิงก์ต่อไปนี้

1. Definitions and Perspectives of Learning
http://www.gotoknow.org/posts/543924

2. Classical Conditioning (Pavlov's Theory)
http://www.gotoknow.org/posts/543925

3. Operant Conditioning (Skinner's Theory)
http://www.gotoknow.org/posts/544263

4.Social Cognitive Theory (Bandura's Theory)
http://www.gotoknow.org/posts/544516

5. Antecedents and Assumptions of Cognitivism
http://www.gotoknow.org/posts/544517

ซึ่งจากทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้เรียนมา ก็พบว่าแต่ละทฤษฎีต่างก็มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ผมเคยฟังท่าน ป อ ปยุตฺโต พูดเรื่อง "จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา" ท่านได้ให้ข้อคิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก นั่นคือ ทุกสิ่งล้วนเป็นองค์เดียวกัน การที่แต่ทฤษฎีอะไรต่างๆแยกออกมามองเป็นด้านๆไปนั้น ย่อมทำให้เห็นภาพได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าทฤษฎีทั้งหมดนี้ ไม่มีทฤษฎีไหนผิด ทุกทฤษฎีถูกหมด เพียงแต่มองกันคนละด้าน ดังนั้น การนำไปใช้ในการทำงานจึงควรนำทฤษฎีหลายๆทฤษฎีมาบูรณาการกัน เพื่อจะได้เห็นภาพของสิ่งที่ทฤษฎีเหล่านั้นกำลังอธิบายได้อย่างชัดเจน

ส่วนในเรื่องของทฤษฎีการสอนนั้น นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับผม เนื่องจากไม่เคยเรียนมาก่อน แต่หลังจากที่ได้อ่านหนังสือช่อ "ศาสตร์การสอน" ของ อาจารย์ ทิศนา แขมณี แล้ว ก็พอจะทำให้เข้าใจว่า อันที่จริงแล้ว การจะมาแยกหัวข้อเป็น "ทฤษฎีการเรียนรู้" กับ "ทฤษฎีการสอน" อย่างที่ผมแยกอยู่นั้น เห็นทีจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากการเรียนกับการสอนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กัน ดังนั้น เมื่อ "ทฤษฎีการเรียนรู้" ก็สามารถนำมาเป็น "ทฤษฎีการสอน" ได้ทันที ซึ่ง อาจารย์ ทิศนา แขมณี ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัยมาว่ามีดังนี้

1. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

2. ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

3. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Co-operative or Collaborative Learning)

แต่ผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า าทฤษฎีทั้งหมดนี้ ไม่มีทฤษฎีไหนผิด ทุกทฤษฎีถูกหมด เพียงแต่มองกันคนละด้าน ดังนั้น การนำไปใช้ในการทำงานจึงควรนำทฤษฎีหลายๆทฤษฎีมาบูรณาการกัน เพื่อที่จะได้สอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หมายเลขบันทึก: 544521เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท