การเลือกตั้งในสหกรณ์ขั้นปฐม ในประเทศไทย แบบที่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์


การเลือกตั้งในสหกรณ์ขั้นปฐม ในประเทศไทย แบบที่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์

มีผู้สมัคร 3 คน คือ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 

ต้องการผู้ได้รับการเลือกตั้ง 2 ตำแหน่ง มีผู้สมัคร 3 ท่าน กรรมการว่างเพียง 2 ตำแหน่ง

เบอร์ 1 ลงอิสระ เบอร์ 2 กับเบอร์ 3 เป็นพันธมิตร(จะเรียกว่าฮั๊วกันได้รึเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ลองพิจารณาดูเอง)กันอย่างลับ ๆ 

สมมุติให้ผู้สมัครรับเลือกตัง มีฐานคะแนนผู้สมัคร ท่านละ 1 คน(หนึ่งเสียงเท่ากัน) 

เบอร์ 1 มีนาย ก เป็นฐานเสียง 

เบอร์ 2 มีนาย ข เป็นฐานเสียง 

เบอร์ 3 มีนาย ค เป็นฐานเสียง 

ในการเลือกตั้งตามหลักการสหกรณ์ที่เป็นสากล ข้อที่ 2 One member One Vote มีฐานเสียงเท่ากัน ผลที่ได้ จะได้คะแนน ท่านละ 1 คะแนน เท่ากัน 

เบอร์ 1 ได้ 1 เสียง จาก เสียงของ นาย ก

เบอร์ 2 ได้ 1 เสียง จาก เสียงของ นาย ข

เบอร์ 3 ได้ 1 เสียง จาก เสียงของ นาย ค

2nd Principle: Democratic Member Control 

Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

เมื่อการเลือกตั้งแบบ สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียงตามหลักการสหกรณ์ มีฐานเสียงเท่ากัน ผลที่ได้ จะได้คะแนน ท่านละ 1 เสียง เท่ากัน 

ทีนี้ลองดูการเลือกตั้งแบบที่ไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์สากลข้อที่ 2 นะครับ ใช้แบบ One Member Many Votes สมาชิกหนึ่งคนหลายเสียง สมาชิกแต่ละคนเลือกได้ 2 เสียง

เบอร์ 1 ได้ คะแนนรวม 1 คะแนน จาก นาย ก 

เบอร์ 2 ได้ คะแนนรวม 2 คะแนน จาก นาย ข และ นาย ค  เพราะ เป็นพันธมิตรกัน

เบอร์ 3 ได้ คะแนนรวม 2 คะแนน จาก นาย ค และ นาย ข  เพระา เป็นพันธมิตรกัน

ผลปรากฏว่า เบอร์ 1 ได้ 1 คะแนน 

เบอร์ 2 ได้ 2 คะแนน

เบอร์ 3 ได้ 2 คะแนน 

เบอร์ 2 กับเบอร์ 3 ได้รับการเลือกตั้ง จำนวนคะแนนเยอะกว่า ได้รับการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่จำนวนฐานคะแนนจากคนเท่ากัน 

หากสหกรณ์ใดใช้การเลือกตั้งแบบ One member One Vote สหกรณ์นั้นจะพัฒนาได้ดีกว่า เพราะว่า สิทธิและเสียงของสมาชิกจะเป็นเสียงตัดสินใจในการที่จะให้ความไว้วางใจให้ใครเข้าไปเป็นตัวแทนสมาชิกผู้นั้น สมาชิกมีตัวแทนในคณะกรรมการเพียงคนเดียว ก็ถูกต้องแล้ว ตัวแทนคือกรรมการได้รับการเลือกตั้งแล้วเข้าไปทำดีทำถูก สมาชิกกลุ่มที่เป็นฐานเสียงก็จะเลือกเข้าไปอีก ทำไม่ดีทำไม่ถูกครั้งต่อไปก็จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้เข้าไปเป็นตัวแทนก็จะระมัดระวัง  เพราะกรรมการที่ผ่านการเลือกตั้งลักษณะนี้เข้าไปจะมองถึงคุณประโยชน์ในระยะยาว การได้รับความไว้วางใจเข้าเป็นตัวแทนหรือไม่ มาจากเสียงของสมาชิกจริง ๆ 

หากสหกรณ์ใดใช้การเลือกตั้งแบบ One Member Many Votes สหกรณ์นั้นก็จะพัฒนาได้ยาก กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปจากคะแนน ฮั๊ว กัน ได้คะแนนเยอะ ก็จริงแต่ไม่ใช่เสียงจากสมาชิกทั้งหมด หากแต่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปจากการฮั๊วรวมกลุ่ม กันเข้าไป (ขาดเงื่อนไขทางวิชาการที่ถูกต้อง และเงื่อนไขคุณธรรม) เพื่อเป็นกรรมการ ก็จะไม่มีความสง่างาม ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงสมาชิก ฟังเพียงเสียงหัวหน้ากลุ่ม แล้วฮั๊วคะแนนกันก็ได้เป็นกรรมการโดยง่ายดาย เข้าไปแล้วก็ไม่ต้องห่วง อยู่กันไม่ยอมออก ไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกท่านอื่น ๆ เข้าไปทำงานบ้าง ดึงผู้ที่ควบคุมได้เข้ามาเป็นกรรมการสืบทอดทายาทอสูรต่อไป ถ้าเป็นอย่างนี้สหกรณ์ที่ใช้การเลือกตั้งแบบ One Member Many Votes ก็จะพัฒนาได้ยาก ภูมิคุ้มกันของสหกรณ์ถูกทำลายซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อสมาชิกสหกรณ์นั้น ๆ ในที่สุด 

จากนั้นก็มีการบัญญัติข้อกฎหมาย ให้กรรมการอยู่ได้ไม่เกิน 2 วาระ วาระละ ไม่เกิน 2 ปี ผู้เขียนเข้าใจว่าคงจะบัญญัติมาเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้เข้ามาเป็นกรรมการจากการเลือกตั้งแบบ One Member Many Vote นี่ล่ะครับ การให้กรรมการพ้นวาระ ปีละ 8 คน ปีละ 7 คนนั้น คิดว่าเป็นการสนับสนุนการเลือกตั้งแบบ One Member Many Votes ที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ ครับ หากเป็น One Member Many Votes สหกรณ์เหล่านั้น ก็จะไม่เป็นอิสระและพึ่งพาตนเองตามหลักการสหกรณ์ที่ 4 (Autonomy and Independence) เพราะจะถูกแทรกแทรงโดยภาครัฐไม่สิ้นสุด โดยมาตรา 50 วรรค 3 (พรบ.สหกรณ์ 2542) ที่ว่า กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน นั่นเอง 

หากปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสหกรณ์ข้อที่ 2 เลือกตั้งแบบ One Member One Vote แล้วไม่จำเป็นต้องมีมาตรา 50 วรรค 3  จะทำให้สหกรณ์พัฒนาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่และมีภูมิคุ้มกัน ที่แข็งแกร่งจากการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์ 

นำเสนอมาในฐานะนักวิชาการสหกรณ์ ลองนำไปพิจารณาดูกัน  ครับ

หมายเลขบันทึก: 543728เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอยคุณอาจารย์ ที่นำเสนอการเลือกตั้ง กรมการสหรณ์

ผมสังกัดสหกรณ์ออมทรัพย์ สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง มีพรรคพวกชวนลงสมัครหลายครั้ง แต่ไม่ยอมลงเลือกตั้ง

รวมทั้งการเมืองท้องถิ่นก็มีคนมาชวน  แต่ใจชอบงานอาสาที่ไม่ต้องสมัครแข่งขันและไม่มีงบประมาณในการอาสา

รู้สึกทำแล้วบายใจ

งบประมาณไปหาเอาโลกหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท