สาระที่ 5 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น


การพัฒนาหลักสูตรสถศึกษ หมายถึง แผนมวลประสบการณ์ แนวทาง ข้อกำหนด หรือแผนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากการระดมความคิด ตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกของสถานศึกษาที่กำหนดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการวางแผนนำไปใช้และประเมินผลร่วมกัน เพื่อที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นของชีวิตโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา คือ

1. หลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการเรียนที่สำคัญๆ มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล มีโอกาสใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น สร้างความมั่นใจและให้กำลังใจในการเรียนรู้และเป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

2หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรมโดยเฉพาะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อบุคคลและสังคมสถานศึกษาควรต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน มีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระเข้าใจในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวม สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้ความเป็นธรรม มีความเสมอภาค มีความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับที่ตนดำรงอยู่ได้ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระบบส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก

องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษา ควรประกอบด้วยหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้

1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา

 1.1 ประวัติของโรงเรียน ประวัติที่ตั้ง ขนาด จำนวนพื้นที่ ลักษณะ การจัดตั้ง สถานภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาที่เปิดสอน จำนวนนักเรียน ความสามารถพิเศษ จำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติกิจกรรม อัตราการย้ายเข้าออกของนักเรียน

 1.2 ศักยภาพของสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาส ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษา ความสำเร็จ ความภาภูมิใจของสถานศึกษา

 1.3 ความต้องการของชุมชน ความต้องการเกี่ยวกับอาชีพ การศึกษาต่อ ความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 1.4 แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจของชุมชน และผู้ปกครอง สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สภาพทรัพยากร จำนวนประชากรในเขตพื้นที่บริการ

 1.5 แนวทางการจัดการศึกษา ทิศทาง ข้อความระบุวิสัยทัศน์ กระบวนการจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายสถานศึกษา ความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา

 1.6 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาคณะกรรมการนักเรียนจำนวนครั้งเข้าร่วมในรอบปี รายชื่อคณะกรรมการที่เข้าร่วม สาระสำคัญของการประชุม โครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการ

2. สารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

 2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

 2.3 ผลงานการแสดงออกของผู้เรียน

3. สารสนเทศของการบริหารงานอาชีพ

 3.1 หลักสูตรและการเรียนการสอน จำนวนชั้นเรียน จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน เวลาเรียนแต่ละกลุ่มวิชา

 3.2 ความสอดคล้องของหลักสูตรกับความต้องการของท้องถิ่น

 3.3 เทคนิควิธีการสอนที่ครูนำมาใช้

 3.4ร้อยละของรายวิชาที่ปรับสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

 3.5 การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

 3.6 บรรยากาศการเรียนการสอน

 3.7 การวัดและประเมินผลการเรียน

 3.7.1 ความถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบันเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานการประเมินผล การเรียน

 3.7.2 ความหลากหลายในวิธีการและการใช้เครื่องมือการประเมิน

 3.7.3 การมีส่วนร่วมในการวางแผนวัดและประเมินผลการเรียน

 3.7.4 การนำผลการวัดและการประเมินผลการเรียนไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

 3.8 การพัฒนากิจกรรมแนะแนว

 3.8.1 สภาพการจัดบริการแนะแนว

 3.8.2 ผลการจัดบริการแนะแนว

 3.9 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 3.9.1 การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 3.9.2 ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 4. สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

 4.1 สภาพการบริหารและการจัดการ

 4.1.1 ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายการพัฒนา ความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายรายงานกระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์การกำหนดภารกิจและเป้าหมาย

 4.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากับวิสัยทัศน์และภารกิจ ข้อความเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายการพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา รายงานผลความสำเร็จของการดำเนินการตามแผน

 4.1.3 ภาวะผู้นำและการบริหาร ข้อมูลที่ที่แสดงการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจ ข้อมูลแสดงการสับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ตามวาระ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความพึงพอใจในการบริหารจัดการ

 4.1.4 การจัดโครงสร้างองค์กร ข้อมูลการจัดบุคลากรตามหน้าที่การยอมรับในหน้าที่และความรับผิดชอบในการได้รับมอบหมาย ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ของบุคลากรในสถานศึกษา

 4.2 สภาพและบรรยากาศโดยเรียนรู้

 4.2.1 การมาเรียนของนักเรียนในแต่ละภาค

 4.2.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา

 4.2.3 การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในโรงเรียน

 4.2.4 สภาพการจัดแหล่งการเรียนรู้

 4.2.5 การใช้เทคโนโลยีในแต่ละประเภท

 4.3 ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก

 4.3.1 สัดส่วนและงบประมาณพัฒนาคุณภาพแต่ละระดับการศึกษา

 4.3.2 งบประมาณการศึกษาต่อคนต่อปีแต่ละระดับการศึกษา

 4.3.3 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 4.3.4 การใช้งบประมาณตามแผน

 4.3.5 การบริหารงบประมาณ

 4.4 การพัฒนาวิชาชีพ

 4.4.1 ร้อยละของครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียน

 4.4.2 จุดเน้นของการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนในรอบปี

 4.4.3 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการประชุมอบรม

 4.4.4 ผลงาน เกียรติบัตร รางวัลที่ครู ผู้เรียนได้รับในรอบปี

 4.4.5 ร้อยละของบุคลากรที่จัดทำแฟ้มพัฒนางาน

 4.4.6 ร้อยละของจำนวนครูที่ได้รับการนิเทศแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

 4.5 ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

 4.5.1 การเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม

 4.5.2 การรับการสนับสนุนตามการศึกษาจากหน่วยงานอื่น

 4.5.3 การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน


ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ความคิดความเชื่อที่ท้องถิ่นได้สั่งสมและสืบทอดต่อกันมา ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง   และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ  อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถวิธีการเครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาของการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุขของบุคคลในท้องถิ่นให้อยู่รอด

  ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ  

การอนุรักษ์  คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม

การฟื้นฟู  คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย

การประยุกต์  คือ  การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

การสร้างใหม่  คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน  เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น

    ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี

  ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง  คนกับคน คนกับธรรมชาติ  และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ

  ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ 

หมายเลขบันทึก: 543267เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท