รายงานการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง


จากบันทึกที่แล้ว กระผมได้กล่าวถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ผลกระทบ และวารสารวิชาการอ้างอิงเกี่ยวกับกรณีศึกษาโรคหลอดเลือดสมอง ในบันทึกนี้จะอธิบายเกี่ยวกับเหตุผลทางคลีนิกของผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้

ผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

          ชื่อผู้รับบริการ นางสาวเอ (นามสมมุติ)  อายุ 47 ปี   เพศ หญิง  ถนัดข้างขวา ประกอบอาชีพ พนักงานตรวจสอบคุณภาพผ้าในโรงงาน (QC)  วินิจฉัย Right hemiplegia ; cerebral hemorrhage มีอาการสำคัญ คือ อ่อนแรงซีกขวาทั้งหมด สาเหตุเกิดจากเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2556 ผู้รับบริการเส้นเลือดในสมองแตกขณะกำลังอาบน้ำ ข้อควรระวัง มีความวิตกกังวล ได้รับการรักษาทางการแพทย์ กายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผู้รับบริการควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะแยกส่วนได้ และการเกร็งของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง (Brunnstrom's stage 4) สามารถหยิบจับวัตถุชิ้นใหญ่ได้ กำลังกล้ามเนื้อต่ำ สามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้ในระดับที่ต้องช่วยเหลือน้อยกว่า 25 % (Minimal assistance) เคลื่อนย้ายตัวโดยการใช้ Tripod cane (ไม้เท้า 3 ขา) ผู้รับบริการมีความต้องการที่จะกลับไปทำงาน และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เองโดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือ

1. เนื้อหาของการให้แหตุผลทางคลินิก

1.1 ทฤษฎีและวิทยาศาสตร์

โรคหลอดเลือดสมอง  ( Cerebrovascular disease/Cerebrovascular accident/ Stroke)

หมายถึง ความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น ซึ่งรายละเอียดผลกระทบได้กล่าวไปในบันทึกที่ผ่านมา สรุปได้ดังแผนภูมิ



2 บริบทของการให้บริการ

           ผู้รับบริการไม่สามารถรับรู้ คุณค่าของความสามารถของตนเองที่มีอยู่ กังวลเรื่องการกลับไปทำงานจึงตั้งความคาดหวังของความสามารถตนเองที่เพิ่มขึ้นสูงเกินไป ให้ความร่วมมือในการรับบริการน้อย เนื่องจากยังไม่เชื่อมั่นในสมรรถนะของนักศึกษาฝึกงาน ญาติให้การช่วยเหลือดูแลดี มีกำลังใจดี เป็นคนอารมณ์ร้อนหงุดหงิด และสิ้นหวังง่ายเมื่อปฏิบัติไม่ได้ตามที่ต้องการ

3. บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

3.1) แรงจูงใจ ความปรารถนา และความอดทนต่อผลลัพธ์
        - มีแรงจูงใจในการที่สามารถจับวัตถุชิ้นเล็กๆ เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้นิ่งขึ้น 
        - มีความปรารถนาที่จะเขียนหนังสือ ใช้ Tablet ทำงาน และใช้มือข้างขวาได้คล่องแคล่วมากขึ้น
3.2) ความสามารถและความบกพร่องที่มีอยู่  
        - สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้แต่ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะขณะที่เคลื่อนย้ายตัว 
        - การจับวัตถุขนาดเล็กยังไม่มั่นคง สามารถควบคุมสหสัมพันธ์กล้ามเนื้อของแขนข้างขวาได้เล็กน้อย
3.3) ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิต     
        - มีความเข้าใจต่ออาการที่เป็นอยู่ รับรู้ถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถตนเอง ตั้งความคาดหวังสูง จนบางทีสิ้นหวังเมื่อไม่ได้ตามความสามารถที่ผู้รับบริการต้องการ
3.4) ความคาดหวังในการใช้ชีวิตระยะยาว 
       - สามารถกลับไปทำงานพนักงานตรวจสอบคุณภาพผ้า และสามารถขับรถไปทำงานเองได้ 

4. ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

4.1) อุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมที่ยอมรับได้
     - ผู้รับบริการมีความเชื่อว่าถ้ามีท่าออกกำลังกายกลับไปทำที่บ้านเป็นประจำ และใช้งานมือข้างที่อ่อนแรงบ่อยๆ จะสามารถฟื้นฟูมาใช้งานได้ตามปกติ
4.2) ความคาดหวังและความพึงพอใจ   
     - ผู้รับบริการสามารถควบคุมสหสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่แขนข้างขวา เขียนหนังสือด้วยมือข้างขวา และใช้ Tablet ทำงานเองได้
     - มีความพึงพอใจในการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจที่สามารถเขียนลากเส้นตามจุด และวาดรูปทรงง่ายๆได้ สามารถใช้แท๊บเล็ตถ่ายรูปผลงานของตนเอง ส่งไปให้เจ้านายที่ทำงานได้

5. ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้รับบริการ

ความคิดเห็นต่อกระบวนการให้บริการที่พึ่งประสงค์
     - ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดีต่อการฟื้นฟูของตนเอง จากการรับบริการทางกิจกรรมบำบัด สามารถนำท่าบริหารแขน และมือกลับไปประยุกต์กับกิจกรรมทำที่บ้านได้ตามคำแนะนำ  ยกตัวอย่างเช่น การซื้อเม็ดถั่วมาหยิบจับเอง การบริหารมือในน้ำ  การออกกำลังกายด้วยผ้า(พับผ้า ม้วนบิดผ้า) เป็นต้น 
    - สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของมือข้างขวาได้เพิ่มขึ้น สามารถกำสิ่งของขนาดใหญ่ได้มั่นคงขึ้น และเริ่มจับวัตถุขนาดเล็กได้
    - ทำกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มมากขึ้นจากระดับต้องมีการช่วยเหลือเล็กน้อย มาเป็นระดับอยู่ในการสังเกตของผู้ดูแล(Supervision) 

6.กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

Model of Human Occupational

    Volition   

       Personal causation : ผู้รับบริการมีความคาดหวังสูง และมีความพึงพอใจในความสามารถของตนเองน้อย                                                  ผิดหวัง หงุดหงิดง่าย ไม่เชื่อมั่นสมรรถนะของนักศึกษาในระยะแรกของการรับบริการ

       Interest : ผู้รับบริการมีความสนใจ มีแรงจูงใจในความสามารถของการใช้มือหยิบจับสิ่งของ และจับปากกา เขียน                       หนังสือ รวมถึงสามารถใช้ Tablet ทำงานได้

      Value : คุณค่าในตนเองต่ำ เนื่องจากตั้งความคาดหวังความสามารถของตนเองสูง  สิ่งไหนที่เคยทำไม่ได้                            จะปฏิเสธที่จะลองทำ เมื่อมีความก้าวหน้าก็จะเริ่มเห็นคุณค่าในตนเอง กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือยิ่งขึ้น

Habituation : หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้รับบริการจะให้ผู้ดูแลช่วยทำกิจวัตรประจำวันเป็นส่วนใหญ่ในบางขั้นตอนที่สามารถทำเองได้ และใช้มือซ้ายทดแทนในหลายๆกิจกรรมจนละเลยมือข้างขวา แต่ยังใช้มือขวาในการบริหารออกกำลังกายอยู่ตลอด

Performance :  สามารถใช้มือหยิบจับวัตถุขนาดใหญ่ได้ เริ่มหยิบจับวัตถุขนาดเล็กได้บ้าง ควบคุมสหสัมพันธ์ของแขน และมือข้างขวาได้เล็กน้อย สามารถเคลื่อนไหวข้อต่างๆได้อย่างอิสระมากขึ้น กำลังกล้ามเนื้อโดยรวมสามารถเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงได้ กิจวัตรประจำวันอยู่ในระดับอยู่ในการสังเกตของผู้ดูแล (Supervision) 


หมายเลขบันทึก: 542951เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

             

              ... ขอบคุณค่ะ .... กับบทความดีดี นี้ค่ะ ...... 

 

               

 

ยินดีครับ Dr.Ple ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะครับ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันข้อมูล และรับข้อเสนอแนะจากผู้รู้ท่านอื่นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท