การรับรู้และเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑



          ฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน  สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มช. จัดการประชุมสัมมนา โครงการพัฒนาคณาจารย์ เรื่อง การสอนแบบไม่บรรยายเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กยุคใหม่  ในวันที่ ๑๘  มิ.ย. ๕๖ ทั้งวัน  และเชิญผมไปพูดช่วงเช้า เรื่อง “การรับรู้และเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑”


          จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่  และ ที่นี่ 


          โดยขอเพิ่มเติมว่า ผมลืมพูดเรื่องสำคัญ ๒ เรื่อง


๑.  สังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม  ผ่านพ้นยุคอุตสาหกรรมการผลิตที่คนทำงานในโรงงานในสายพานการผลิต ที่ทำงานซ้ำๆ เหมือนๆ กันและเหมือนๆ เดิม  แต่ในยุคใหม่ คนต้องออกไปทำงานต่างๆ กัน และต้องมีทักษะและความกล้าในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การศึกษาสมัยใหม่จึงต้องฝึกให้คนมีทักษะสร้างสรรค์ (creativity)


๒.  Transformative Learning ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่เลย Informative Learning (เรียนให้รู้สาระวิชา)  และเลย Formative Learning (เรียนให้นำความรู้ไปใช้งานได้)  ไปสู่ Transformative Learning  คือเรียนให้มีทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ออกไปดำรงชีวิตและทำงานโดยมีส่วนร่วมในการนำการเปลี่ยนแปลง คือเป็น change agent




วิจารณ์ พานิช

๑๘ มิ.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 542854เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

I wonder if Thailand's vocational education system is up to this 21C change. Along with the change to more creative/innovative society, come the the needs for 'new yools', prototype or ad hoc (test and throw away) tools, and abilities to devise new tools from available materials and existing tools.

In a way, vocational education is about developing crafts and craftspersons to support society. So, vocational education is an infrastructure for society (and civilization) that must rise up to meet demands of 21C too.

Many other infrastructures : water supply and management, land use and management, human, society and services, genetic resources and environment management, transport networks, and so on seem to be on government's agenda but sadly for only wrong reasons.

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับที่ชี้นำแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาที่ผมตั้งใจจะปรับใช้ใน "กิจกรรมบำบัดศึกษา" ให้จงได้ครับผม

เรียนท่านอาจารย์ค่ะ

หนูขออนุญาตนำไปเผยแพร่ในโปสเตอร์ของ R2R เครือข่าย ภาคกลาง สปสช เขต 4 สระบุรีนะคะ

ด้วยความเคารพ และขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท