หมอใกล้ไทย ตกงานเป็นพัน


ภาพที่ 1: ผดุงครรภ์ โรงพยาบาล 'ยวางัน' รัฐฉาน

ผดุงครรภ์ 1 ท่าน ดูแลคนเฉลี่ย 3-4 หมู่บ้าน = 500 คน โดยรับดูแลทั้งก่อนคลอด ทำคลอด หลังคลอด ทดสอบไข้ป่า (มาลาเรีย), ตรวจคัดกรองคนไข้วัณโรค และดูแลให้คนไข้วัณโรคกินยา "ต่อหน้า"

ยาบางอย่างให้คนไข้กิน "ลับหลัง" ไม่ค่อยได้ผล เช่น คนไข้วัณโรคอาจหยุดกินยาเมื่ออาการทุเลา แต่ไม่หาย เพิ่มเสี่ยงเชื้อดื้อยา

การให้คนไข้นับเม็ดยา กินยา "ต่อหน้า(DOTS = Directly Observed Short Course)" เป็นระบบการรักษาที่ "โปร่งใส" และได้ผลดีมาก

ภาพที่ 2: สถิติงบประมาณสาธาณสุข เทียบกับผลผลิตประเทศ (GDP) ในรูปร้อยละ (%)

  • พม่า = 2%
  • ไทย = 3.9%
  • เวียดนาม = 6.8%
  • มาเลเซีย = 4.4%
  • ลาว = 4.5%
  • อินโดนีเซีย = 2.6%
  • อินเดีย = 4.1%
  • กัมพูชา = 5.6%
  • บังคลาเทศ = 3.5%

ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษา + สาธารณสุข โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเป็นหลัก (มากกว่ารักษาโรค) มีแนวโน้มจะได้เปรียบในการแข่งขันกับนานาชาติในระยะยาว เนื่องจากจะสร้างคนให้มีคุณภาพ มีการศึกษา ป่วยน้อย และแข็งแรง

ภาพที่ 3: สัดส่วนค่าใช้จ่ายสุขภาพที่รัฐออกให้ (ฟรี = มาจากภาษี), เทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  • พม่า = 12.2%
  • ไทย = 75%
  • เวียดนาม = 37.8%
  • มาเลเซีย = 55.5%
  • ลาว = 33.3%
  • อินโดนีเซีย 49.1%
  • อินเดีย = 29.2%
  • กัมพูชา = 37.2%
  • บังคลาเทศ = 33.6%

สำนักข่าวสาละวินโพสต์ รายงานข่าวเรื่อง "นายฉ่วยหม่านให้สัญญาจะหางานให้แพทย์จบใหม่" (เรียบเรียงจากข่าวสำนักข่าว "มิซซิมา"), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

สมัยก่อนไทยบังคับใช้แรงงานฟรี ต้องเอาข้าว เอาจอบเสียมไปด้วย เดือนเว้นเดือน ไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยแบบประกันสังคม เรียกระบบนี้ว่า "ไพร่หลวง"

คำว่า "ไพร่" น่าจะมาจากภาษาอินเดียทางใต้ คือ 'pariah'

  • [ pariah ] > [ ผะ_ไร่_อะ ] แบบอเมริกัน; [ ปร้าย ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/pariah > noun = ไพร่ คนนอกคอก

ศัพท์นี้เดิม = untouchable = คนที่แตะต้องไม่ได้ จัณฑาล, ออกเสียงแบบเดิมว่า "ผะ_ไล่" คล้ายคำว่า "ไพร่"

ศัพท์ 'pariah' = festival drum = กลองที่ใช้ในเทศกาล

เข้าใจว่า น่าจะเป็นจัณฑาลกลุ่มที่ทำงานฟอกหนัง ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำงานสกปรก เหม็น อับ, เป็นอาชีพสำหรับวรรณะต่ำ

สมัยโบราณพม่ามีระบบกษัตริย์-อำมาตย์-ไพร่-ทาส คล้ายๆ ไทย

อาจารย์ชาวพม่าท่านหนึ่งกล่าวว่า หลังยุคอาณานิคมอังกฤษ, ชีวิตชาวพม่าอยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารมากว่า 50 ปี

ทำให้พม่า "เสมือน" ว่า มีคน 1+3 วรรณะในประเทศเดียว

(1). พระ (ภิกษุ) > แยกไปต่างหาก อยู่สูง แต่ก็ติดคุกได้ (ถ้ายุ่งกับการเมือง)

(2). ทหาร > เป็นชนชั้นสูง (อำมาตย์)

บางครั้งมีการใช้ราชาศัพท์กับทหารระดับสูง และชาวพุทธพม่าที่เดิมไม่ยอมไหว้ใคร

ยกเว้น "บุคคลที่ควรเคารพ 5" ได้แก่ "พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์-พ่อแม่-ครูบาอาจารย์" ก็ยอมยกมือขึ้นไหว้ทหารผู้ใหญ่ (ด้วยความกลัว...)

(3). ชนกลุ่มใหญ่ > ด้อยโอกาส

(4). ชนกลุ่มน้อย > ด้อยโอกาสอย่างแรง, ข้ามชายแดนเข้ามาทำงานในไทยประมาณ 2+ ล้านคน

สมัยก่อน (ยุคทหารเก่า) พม่ามีกฎหมายบังคับใช้แรงงานฟรี คล้ายๆ กับ "ไพร่หลวง"

การใช้งานก็มีหลายอย่าง เช่น ขุดดิน ลอกท่อ ทุบหินทำถนน-เหมือง-ฝาย ขุดคลอด ฯลฯ

ถ้าไม่อยากไปขุดดิน... จะจ่ายเงินเป็นค่าปรับแทนได้

ทำให้นายทุน นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้าพอจะหลีกเลี่ยงได้



.

กฎหมายนี้ "ไว้หน้า" ทหาร แต่ไม่ "ไว้หน้า" หมอ

ทำให้พวกหมอจนๆ โดยเฉพาะหมอ รพ.รัฐที่มีเงินเดือนน้อย ไม่มีสตางค์พอจ่าย

เลยต้องไปขุดดิน ใช้แรงงานฟรีตามรอบที่รัฐบาลเกณฑ์

เรื่องนี้ทำให้หมอพม่าหาโอกาสลาออกไปเป็นเซลล์แมนขายยา

นัยว่า ได้เงินดีกว่า และดีพอที่จะจ่ายเป็นค่าปรับไพร่หลวงได้

พอหมอลาออกกันมากๆ ก็ต้องทำแบบไทย คือ บังคับให้หมอต้องทำงาน "ใช้ทุน"

เดิมห้ามลาออก 3 ปี, ต่อมาห้ามลาออกตลอดชีวิต เพื่อป้องกันขาดหมอใน รพ.รัฐ

การลุกฮือครั้งใหญ่ในพม่า 1988/2531 มีนักศึกษา และพวกมดๆ หมอๆ เข้าร่วมมากมาย

ทำให้รัฐบาลทหารสั่งปิดมหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะพวกหมอนี่เลิกผลิตไปหลายปี

พอขาดหมอก็เลี้ยว "กลับหลังหัน (180 องศา)" แบบทหาร... สั่งเพิ่มการผลิตไปเรื่อยๆ

นักศึกษาแพทย์ท่านหนึ่งเล่าตอนปีพายุนาร์กิส (2008/2551) ว่า

เวลาเรียนภายวิภาคที่ต้องผ่าศพอาจารย์ใหญ่ก็เรียนกันในห้องใหญ่ๆ

อาจารย์ 1-2 ท่านผ่าให้นักศึกษา 150 คนดู

เพื่อจะผลิตให้ได้มากๆ

ตั้งแต่ปี 2553 ผลิตเพิ่ม 2,400 คน/ปี จนมีหมอสะสมตกงานรวม 6,000 คน

ตอนนี้ตำแหน่งหมอ รพ.รัฐเต็ม, รพ.เอกชนที่พม่าก็มีน้อย

คลินิกส่วนใหญ่ทำได้น้อย เนื่องจากคนไม่ค่อยมีเงิน

ประสบการณ์จากฟิลิปปินส์ คือ ไม่ต้องกลัวหมอตกงาน

เพราะหมอที่นั่นจะรีบเรียนต่อ หรืออบรมเป็นพยาบาล

แล้วบินไปทำงานต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ

วิกฤติ "หมอล้นพม่า" อาจเป็นโอกาสของประเทศอื่นในอาเซียน

เช่น ให้เรียนต่อหรืออบรมเป็นพยาบาล (หมอพม่าส่วนใหญ่เก่งภาษาอังกฤษ) รองรับเมดิคัลทัวร์ ฯลฯ

ตอนนี้ทั่วโลกเสี่ยงขาดพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาลมากกว่าหมอ

เนื่องจากพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในยุคเบบี้บูม

คนยุคเบบี้บูม เกิดปี 1946-1964/2489-2517 = อายุ 49-67 ปีในปีนี้ (2556) จะทยอยกันเกษียณอย่างรวดเร็วใน 10-11 ปีข้างหน้า

หมอหลายๆ ท่านยังคงทำงานหลังเกษียณได้

ทว่า... พยาบาลน้อยท่านที่จะทำงานหลังเกษียณได้ เนื่องจากเป็นงานหนัก ใช้แรงค่อนข้างมาก

เรื่อง "หมอล้นพม่า" อาจเป็นโอกาสสำหรับประเทศในอาเซียนหลายประเทศทีเดียว

ถ้ามีระบบเรียนต่อ-อบรมต่อ เพื่อให้ทำงานรองรับเมดิคัลทัวร์ในอนาคต

.

 
หมายเลขบันทึก: 542367เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท