การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก


การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

โดย   เผชิญ  อุปนันท์


                 โรงเรียนเป็นองค์กรในระบบการศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดจึงเป็นองค์กรที่สำคัญสูงสุดที่ควรได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555 : 2) จึงต้องส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้มาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธฺภาพ

               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 (2556 : 10) ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดซึ่งมีทั้งหมด 70 โรงเรียน มาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ  ได้ดำเนินการ ดังนี้

1. ตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยมีรองผู้อำนวยการเป็นผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

2. บริหารอัตรากำลังครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กจัดให้มีการสลับครูที่สอนตรงวิชาเอกไปสอนอีกโรงเรียนหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือจัดให้มี   การเรียนรวมเป็นบางชั้นโดยการสนับสนุนค่าพาหนะให้กับครูและนักเรียนที่ไปเรียนรวม

3. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

4. สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น การพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ การปรับปรุงกำหนดตำแหน่ง การศึกษาดูงาน เป็นต้น

5. พัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพเพียงพอที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการในโรงเรียนขนาดเล็กจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

เพื่อการพัฒนางานในทุกด้านของโรงเรียนไม่ว่าด้านวิชาการ  ด้านงบประมาณ  ด้านบริหารงานบุคลากร และด้านบริหารงานทั่วไป เพราะถ้าบริหารจัดการดีก็จะส่งผลให้การบริหารงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพและจะส่งผลให้โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพได้



หมายเลขบันทึก: 542365เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขณะเดียวกัน ในโรงเรียนก็ต้องบริหารจัดการที่ดีด้วย จะรอแต่องค์กรภายนอกอย่างเดียวคงไม่ได้ ครับ

ในด้านการเรียนการสอน ในโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งอาจมีครูไม่ครบชั้นและไม่ตรงสาขา ควรนำ ICT มาใช้ สพฐ. และ ศธ. ได้ลงทุนพัฒนาสื่อ- E Learning ไว้ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สสวท ก็จัดทำไว้มากมาย รวมทั้งมีครูหลายคนที่พัฒนาไว้เพื่อขอตำแหน่ง สามารถนำมาใช้ช่วยครูได้มากและสามารถให้นักเรียนได้เรียนด้วยตนเองได้ เท่าที่ดูแผนพัฒนาทั้ง 5 ข้อยังไม่มีการนำเรื่องนี้เข้ามา ระยะแรกอาจขอความร่วมมือจากอุดมศึกษาในท้องถิ่นเข้ามาช่วยเป็นพี่เลียงให้ครูสามารถใช้ได้อย่างมั่นใจ เท่าที่ดูการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมใช้การสอนแบบ chalk and talk แต่เราสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถและเจตคติได้อีกมากเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาในการเรียนการสอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท