รายงานการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง


ในคราวที่แล้วดิฉันได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมองhttp://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/541730

ซึ่งคราวที่แล้วได้นำเสนอถึงบทความ งานวิจัยต่างๆที่ช่วยสนับสนุนการรักษาให้แก่ผู้รับบริการ ครั้งนี้ดิฉันจะนำเสนอเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัดคะ 
ข้อมูลผู้รับบริการ

ชื่อ คุณจ. (นามสมมติ) เพศ หญิง อายุ 65 ปี  ข้างที่ถนัด ขวา การวินิจฉัยโรค  Stroke(Right hemiplegia) อาการสำคัญ มีอาการอ่อนแรงร่างกายซีกขวา ความต้องการของผู้รับบริการ ต้องการให้ร่างกายซีกขวาสามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ สามารถทำกิจกรรมดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

เนื้อหาการให้เหตุผลทางคลินิก

1. บริบทของการให้บริการ
1.1) ปัจจัยที่ส่งเสริม คือ

•คุณค่าในตนเอง : ผู้รับบริการเห็นถึงว่าตนเองยังมีความสามารถ และพยายามช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด มีความร่วมมือในการฝึกเป็นอย่างดี 

•-ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ : ผู้รับบริการเป็นคนอารมณ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ทำให้เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการฝึกทางกิจกรรมบำบัดได้เป็นอย่างดี

1.2) ปัจจัยที่ขัดขวาง คือ

•ช่วงแรกๆของการฝึกผู้รับบริการไม่เห็นความสำคัญของการฝึกกิจกรรมบำบัด เนื่องจากคิดว่าอาการที่เป็นอยู่เดี๋ยวก็หายได้เอง จึงทำให้ช่วงแรกผู้รับบริการไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการฝึก

.ปัญหาไหล่หลุด : ทำให้ผู้รับบริการไม่อยากเคลื่อนไหวแขนและไหล่ด้านขวา ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างนึงในการฝึก

2. บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

2.1) แรงจูงใจ ความปรารถนา และความอดทนต่อผลลัพธ์
     

•-ความพยายามในการฝึก เพราะอยากให้สามารถใช้ร่างกายซีกขวาได้เป็นปกติ

2.2) ความสามารถและความบกพร่องที่มีอยู่       

•การรับรู้และเข้าใจเป็นปกติ สามารถตักข้าวโดยใช้มือซ้ายได้

•มีภาวะไหล่หลุดด้านขวา ทำให้มีอาการวิตกกังวลถึงความเจ็บปวดบริเวณข้อไหล่ จึงไม่อยากเคลื่อนไหว

2.3) ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิต       

•สามารถทำใจยอมรับถึงสภาพร่างกายของตนที่เป็นอยู่

2.4) ความคาดหวังในการใช้ชีวิตระยะยาว     

•อยากให้ร่างกายซีกขวากลับมาใช้งานได้เป็นปกติ จะได้ช่วยลูกขายของได้

3. ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

3.1) อุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมที่ยอมรับได้
   

•-ครั้งแรกๆของการฝึก ผู้รับบริการไม่เห็นความสำคัญของการฝึก จึงได้มีการให้ความรู้เพื่อให้เข้าใจถึงการฝึกกิจกรรมบำบัด

3.2) ความคาดหวังและความพึงพอใจ   

•- สามารถทำกิจกรรมการดูแลตนเองได้

4. ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้รับบริการ

4.1) ความคิดเห็นต่อกระบวนการให้บริการที่พึ่งประสงค์
   

•-การฝึกเพื่อให้สามารถกิจกรรมการดูแลตนเองได้ เช่น การอาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนย้ายตัว การรับประทานอาหาร โดยช่วงแรกของการฝึกอาจเน้นให้ใช้ข้างซ้ายชดเชยเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับนึงก่อน

4.2) ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการให้บริการ   

•-ความสามารถทางด้านร่างกาย : ให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ สามารถช้วยค้าขายซึ่งเป็นกิจการของที่บ้านได้

•-การปรับสภาพบ้านที่เหมาะสม : เนื่องจากผู้รับบริการต้องใช้เก้าอี้ล้อเข็น อีกทั้งลักษณะบ้านมีการเปิดเป็นร้านขายของชำ การปรับสภาพบ้านหรือสิ่งแวดล้อมก็ควรให้เหมาะสมเพื่อสะดวก ปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้รับบริการด้วย

5. กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

5.1) การอธิบายเหตุผลของข้อมูลทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจนด้วยการรับรู้ การตัดสินใจ และการกระทำที่เกิดขึ้นจริงระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
    -PEOP : กรอบอ้างอิงนี้จะมองเป็นลักษณะองค์รวมดูทั้งตัวบุคคลคือผู้รับบริการ สิ่งแวดล้อม ความสามารถของผู้รับบริการ โดยจาเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยจะเป็นการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมและส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการ เพื่อสุ่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการ


                                                          

หมายเลขบันทึก: 542320เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าจะลองทำ CoP ของท่านที่เป็น Stroke ดูครับ Mental Support ซึ่งกันและกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท