ตอนที่ 12 ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย ( ความยุ่งยากของปัจจัยนำเข้า )



ตอนที่ 12 

ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย (  ความยุ่งยากของปัจจัยนำเข้า )

  จากตอนที่11 เรากล่าวถึงความยุ่งยากของกระบวนการ( P ) จนอาจเกิดอาการปวดหัวมาแล้ว ตอนนี้จะกล่าวถึงปัจจัยนำเข้า ( I ) ดูบ้างว่าจะยุ่งยากเหมือนกันหรือไม่

  ย้อนกลับไปที่โมเดลของระบบยุทธศาสตร์การจำนำ/ขายข้าวอีกครั้ง 

                 

โมเดลที่ 1 แสดงระบบยุทธศาสตร์การจำนำ/ขายข้าว

จากโมเดลที่ 1 ปัจจัยนำเข้าคือข้าวของชาวนาที่นำมาวางไว้ยังจุดขาย จะต้องแปลงปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิต(  O) ทำให้เกิดโมเดลระบบยุทธศาสตร์ขึ้นใหม่ดังนี้

                      

โมเดลที่ 2  แสดงระบบยุทธศาสตร์การนำข้าวจากท้องนามายังจุดขาย

  ในส่วนของกระบวนการนำข้าวจากท้องนามายังจุดขาย ต้องคิดถึงสิ่งที่ชาวนาจำเป็นต้องทำ โดยคิดกิจกรรมย้อนหลังทวนเข็มนาฬิกา เช่น ย้อนหลังไปครึ่งชั่วโมง ย้อนหลังไป 2 ชั่วโมง  ย้อนหลังไป 3 วัน ย้อนหลังไป 1 เดือน ย้อนหลังไป 3 เดือน ฯ

  กิจกรรมที่คิดขึ้นมาอย่างคร่าวๆ (เพราะไม่ใช่ชาวนาตัวจริงและไม่ได้สอบถามชาวนา)มีดังนี้

                              -  การขนส่งข้าวจากท้องนามายังจุดขาย

                              -  การบรรจุข้าวด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

                              -  คุณสมบัติของชาวนา

                              -  การจัดการค่าใช้จ่าย

จึงสมมุติว่าต้องมีระบบยุทธศาสตร์ 4 ระบบเพื่อนำข้าวจากท้องนามายังจุดขาย ดังนี้

      1.  ระบบยุทธศาสตร์การขนข้าวมายังจุดขาย

      2.  ระบบยุทธศาสตร์การบรรจุข้าวด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

      3.  ระบบยุทธศาสตร์คุณสมบัติของชาวนา

      4.  ระบบยุทธศาสตร์การจัดการด้านค่าใช้จ่าย

 ต้องเขียนโมเดลแสดงรายระเอียดของกระบวนการได้ดังนี้

             

                                                        -ระบบยุทธศาสตร์การขนข้าวมายังจุดขาย

                                                        -ระบบยุทธศาสตร์การบรรจุข้าวด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

                                                        -ระบบยุทธศาสตร์คุณสมบัติของชาวนา

                                                        -ระบบยุทธศาสตร์การจัดการด้านค่าใช้จ่าย

 โมเดลที่  3  แสดงระบบยุทธศาสตร์ย่อยในกระบวนการของยุทธศาสตร์หลัก

เมื่อดูระบบยุทธศาสตร์ย่อยของกระบวนการแล้วสามารถเขียนโมเดลได้ดังนี้

 

       จากโมเดลที่ 4โมเดลที่ 5โมเดลที่ 6 และโมเดลที่ 7 จะพบว่าปัจจัยนำเข้าคือข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว  ที่อยู่ในท้องนา( ความจริงข้าวต้องอยู่ในยุ้งฉาง แต่ปัจจุบันมีรถเกี่ยวข้าว ที่เกี่ยวแล้วขนย้ายไปขายได้เลยจึงต้องเริ่มที่ท้องนา) และผลผลิตคือ ข้าวที่จุดขาย เหมือนกันทั้ง 4 โมเดล  ส่วนกระบวนการนั้นต่างกันทั้ง 4 โมเดล เพราะวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งมีกิจกรรมที่คิดขึ้นมาอย่างคร่าวๆดังนี้

    จากโมเดลที่ 4 ระบบยุทธศาสตร์การขนข้าวมายังจุดขาย มีกิจกรรมในกระบวนการคือ

                        -  การจัดหารถบรรทุกข้าว

                       -  การนัดหมายเวลาขนส่ง

                       -  การจัดผู้ควบคุม/จำนำ/ขายข้าว

                       -  การจัดผู้ขนย้ายข้าวขึ้น-ลงรถบรรทุก

  จากโมเดลที่ 5 ระบบยุทธศาสตร์การบรรจุข้าวด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม มีกิจกรรมในกระบวนการคือ

                      -  การจัดหากระสอบบรรจุข้าว

                      -  การทำตราสัญลักษณ์/เครื่องหมายบนกระสอบ

                      -  การจัดแสดงจำนวนข้าวบนกระสอบ

                      -  การบรรจุ/เย็บ/เทข้าวจากกระสอบ

  จากโมเดลที่ 6 ระบบยุทธศาสตร์คุณสมบัติของชาวนา มีกิจกรรมในกระบวนการคือ

                     -  มีเอกสารสิทธิ์การจำนำ/ขายข้าว

                     -  การแสดงตัวตนของเกษตรกร

                     -  สัญญา/นัดหมาย /บัญชีธนาคาร

  จากโมเดลที่  7 ระบบยุทธศาสตร์การจัดการด้านค่าใช้จ่ายมีกิจกรรมในกระบวนการคือ

                        -  จัดหาเงินสด

                        -  แหล่งเงินกู้

                        -  สินเชื่อ/บุคคลค้ำประกัน

จากรายละเอียดด้านกระบวนการของโมเดลทั้ง 4 นำมาเขียนเป็นโมเดลจะมีความซับซ้อนมากมาย ในที่นี้ขอ

ยกตัวอย่างเฉพาะโมเดลที่ 4 เพียงโมเดลเดียว ดังนี้

          

                                                      - ระบบยุทธศาสตร์การจัดหารถบรรทุก

                                                     - ระบบยุทธศาสตร์นัดหมายเวลาการขนส่ง

                                                     - ระบบยุทธศาสตร์การจัดผู้ควบคุม/จำนำ/ขายข้าว

                                                     - ระบบยุทธศาสตร์การจัดผู้ขนย้ายข้าวขึ้น-ลงรถบรรทุก

โมเดลที่ 8 แสดงระบบยุทธศาสตร์ย่อยของกระบวนการ

        จากโมเดลที่ 8 จะเห็นว่ากระบวนการในระบบยุทธศาสตร์การขนส่งข้าวมีระบบยุทธศาสตร์ย่อยในกระบวนการอีก 4 ระบบคือ ระบบยุทธศาสตร์การจัดหารถบรรทุก ระบบยุทธศาสตร์นัดหมายเวลาการขนส่ง  ระบบยุทธศาสตร์การจัดผู้ควบคุม/จำนำ/ขายข้าว และระบบยุทธศาสตร์การจัดผู้ขนย้ายข้าวขึ้น-ลงรถบรรทุกทั้ง 4 ระบบยุทธศาสตร์ย่อยนี้จะต้องมีปัจจัยนำเข้า ( I ) กระบวนการ ( P ) และผลผลิต ( O ) เช่น ระบบยุทธศาสตร์การจัดหารถบรรทุก มีผลผลิตคือ รถบรรทุกที่เหมาะสม มีปัจจัยนำเข้าคือ ชาวนา เจ้าของรถบรรทุก ส่วนกระบวนการคือ การเจรจาต่อรอง การทำสัญญา การกำหนดราคาค่าจ้าง และรายละเอียดต่างๆตามกฎหมายกำหนด

        มาถึงตรงนี้ปวดหัวอีกแล้ว เมื่อตอนที่ 11 ปวดหัวเรื่องกระบวนการ ตอนนี้ปวดหัวเรื่องปัจจัยนำเข้า  ต่อไปต้องปวดหัวเรื่องผลผลิต  แต่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของเนื้อเรื่อง ตอนต่อไปขอกล่าวถึง ปัจจัยนำเข้าย้อนหลังไปในช่วงที่ 3 เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ของระบบยุทธศาสตร์


หมายเลขบันทึก: 542101เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท