ตอนที่ 11 ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย ( ความยุ่งยากของกระบวนการ )



ตอนที่ 11

ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย ( ความยุ่งยากของกระบวนการ )

หลายครั้งเมื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแยกยุทธศาสตร์ออกเป็นระบบจะมีจำนวนระบบยุทธศาสตร์มากมายที่ซ่อนอยู่ในเหตุการณ์นั้น และทุกยุทธศาสตร์ล้วนมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งด้านปัจจัยนำเข้า (I ) ผลผลิต( O ) และกระบวนการ (P )  สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความสับสนว่าระบบยุทธศาสตร์เหล่านั้นตัวใดคือ ระบบยุทธศาสตร์หลักและตัวใดคือระบบยุทธศาสตร์ย่อย หรืออาจจะใช้ชื่ออื่นเพื่อให้เข้าใจง่ายก็คือ ตัวใดเป็นระบบยุทธศาสตร์หลัก ตัวใดเป็นระบบยุทธศาสตร์รอง และตัวใดเป็นระบบยุทธศาสตร์เสริม  หรือยุทธศาสตร์อื่นๆ

ขอยกตัวอย่างระบบยุทธศาสตร์ต่างๆที่กล่าวมาและเป็นเรื่องที่ทันสมัย คือเรื่อง การรับจำนำ/ขายข้าว

ให้นำระบบยุทธศาสตร์มาเปรียบเทียบดังนี้ 

                                

การรับจำนำข้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาสูง (  คงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่น)  สามารถเขียนโมเดลของระบบยุทธศาสตร์ได้ดังนี้

                       

โมเดลที่ 1 ระบบยุทธศาสตร์การจำนำ/ขายข้าว  ( เพื่อให้สะดวกในการเขียนโมเดลจึงใช้ตัวย่อ ปัจจัยนำเข้า (in-put) = I  กระบวนการ (Process) = p  และผลผลิต ( Out-put ) = o ) 

ดูที่ปัจจัยนำเข้า ( I ) ก่อน ถ้าชาวนามีข้าวให้นำข้าวมาวางที่จุดขาย....... ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ......

ต่อมาให้ดูที่ผลผลิต ( O ) คือเงินค่าขายข้าว ผู้ซื้อจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คเบิกเงินสดให้กับมือชาวนา.... 2 จุดนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก( เมื่อดูจากโมเดลที่ 1).......... ทำได้รวดเร็วใช้เวลาไม่นาน 

คราวนี้ให้ดูที่กระบวนการ( P ) คือการจำนำ/ขายข้าว ผู้ซื้อต้องตรวจสอบชนิดของข้าว /คุณภาพ/ปริมาณและน้ำหนักแล้วประเมินราคา

 ตรงจุดนี้จะพบว่ามีระบบยุทธศาสตร์เข้ามาประกอบเป็นกระบวนการหลายระบบ เช่น ระบบยุทธศาสตร์ตรวจสอบชนิดของข้าว ระบบยุทธศาสตร์ตรวจสอบคุณภาพของข้าว ระบบยุทธศาสตร์วัดปริมาณ/นำหนักของข้าวและระบบยุทธศาสตร์ประเมินราคาข้าว ฯ เขียนเป็นโมเดลที่ 2 ได้ดังนี้ 

     

โมเดลที่ 2  ระบบยุทธศาสตร์การจำนำ/ขายข้าว

  จากโมเดลที่ 2 จะเห็นความยุ่งยากของกระบวนการ ( P ) ของการจำนำ/ขายข้าว เนื่องจากมีระบบยุทธศาสตร์หลายอย่างที่เป็นระบบยุทธศาสตร์เสริม โดยนำผลผลิต( O  ) ของระบบยุทธศาสตร์เสริมนี้มาเป็นปัจจัยนำเข้า ( I )  เพื่อให้กระบวนการจำนำ/ขายข้าวดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ สามารถเขียนโมเดลระบบยุทธศาสตร์ของกระบวนการได้ถึง 4 โมเดลดังนี้

                     

                โมเดลที่ 6 ระบบยุทธศาสตร์การกำหนดราคาข้าว

    เมื่อถึงตอนนี้ ผู้อ่านปวดหัวหรือเปล่า .....พยายามทำให้ง่ายก็ไม่ค่อยจะง่าย ยิ่งพูดมากยิ่งซับซ้อน ถ้าพูดน้อยก็ไม่ลึก ไม่จุใจ  ขอให้ทำความเข้าใจอย่างช้าๆและรอบคอบ พร้อมทั้งคิดไปข้างหน้าด้วยว่า ถ้าจะนำระบบยุทธศาสตร์ไปใช้ในการทำงานจริงจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้เพราะเหตุใดและถ้าทำได้จะมีวิธีทำอย่างไร 

ย้อนกลับไปดูโมเดลที่ 2 ขอเขียนระบบยุทธศาสตร์ให้ใหม่เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้


             

โมเดลที่ 7  แสดงระบบยุทธศาสตร์ต่างๆในกระบวนการ

  จากโมเดลที่ 7 เมื่อแปลงกิจกรรมมาเป็นระบบยุทธศาสตร์จะเขียนอักษรย่อของระบบยุทธศาสตร์ตามทฤษฏีระบบดังนี้

          

โมเดลที่ 8  แสดงระบบยุทธศาสตร์ของกระบวนการตามทฤษฏีระบบ

  มาถึงโมเดลสุดท้ายที่ต้องเขียนเพื่อแสดงให้เห็นความยุ่งยากของระบบยุทธศาสตร์ในกระบวนการ ( P )ดังนี้

    

โมเดลที่  9  แสดงรายระเอียดของระบบยุทธศาสตร์ย่อย

  จากโมเดลต่างๆที่แสดงให้เห็นระบบยุทธศาสตร์ของกระบวนการ และมาจบที่โมเดลที่ 9 ล้วนแต่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ถ้าสังเกตอีกนิดจะเห็นความซ้ำซ้อนของปัจจัยนำเข้าคือข้าวจำนวนเดียวกัน  ทำหน้าที่เป็นปัจจัยนำเข้าทั้งระบบยุทธศาสตร์หลักและระบบยุทธศาสตร์ย่อย แต่จะขอพักเรื่องราวของตอนที่ 11 ไว้เท่านี้ก่อน เพื่อให้ผู้อ่านทบทวนและเพิ่มเติมความยุ่งยากของกระบวนการด้วยตัวเองและคิดว่าจะทำความเข้าใจกับสิ่งนี้อย่างไร และถ้ามีโอกาสได้เผยแพร่ความรู้ในเรื่องนี้จะมีวิธีอย่างไร เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัยเข้าใจได้ง่าย


หมายเลขบันทึก: 541801เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท