นวัตกรรม การออกกำลังกาย อุปกรณ์ ภูมิปัญญา


                                     นวัตกรรม การออกกำลังกาย อุปกรณ์ ภูมิปัญญา

                                                   นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

                                          

อุปกรณ์ ภูมิปัญญา

1.  เชือกมะลิลา หรือเชือกร่ม ยาวประมาณ 2.00 เมตร จำนวน 2 เส้นเท่ากับ ประมาณ 4 เมตร

2.  ลูกมะพร้าว (กะโหลก) จำนวน 1 ลูก เจาะรูหน้า-หลัง ประมาณ 1 เซนติเมตร

3.  ท่อ พีวีซี ยาวประมาณ 5 นิ้ว จำนวน 4 อัน ไว้ทำด้ามจับ เจาะรูให้อยู่ตรงกลาง จำนวนหนึ่งรู

4.  ตัวครอบหรือตัวอุดท่อ พีวีซี จำนวน 12 ตัว ร้อยเชือกด้านละอัน ที่เหลือแปดตัว สวมที่ด้ามจับทั้ง 4 อัน รวมเป็นแปดอัน

วิธีทำอุปกรณ์

1.  นำลูกมะพร้าวแห้ง คาต้นหรือที่ร่วงใต้ต้น นำมาปลอกเปลือกให้เหลือแต่กะโหลก ขัดผิวให้เกลี้ยง เจาะรูลูกมะพร้าวทั้งสองด้าน

2.  นำเชือกมาสอดเข้ารูสองเส้นสองด้าน

3.  เจาะรูตัวครอบหรือตัวอุดท่อ จำนวน 4 อัน

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย เสริมสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

2.  เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน พัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ จากภูมิปัญญาเพ่ือเสริมสร้าง ฟ้ืนฟูสมรรถนะทุกกลุ่มวัย

3.  เพื่อเพิ่มภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชนเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดการฟ้ืนฟูผู้พิการ การสร้างสุขภาพด้วยการพ่ึงตนเอง

4.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนในชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.  ช่วยให้รูปร่างกระชับสมส่วนขึ้น

2.  ช่วยลดไขมันส่วนเกิน

3.  ท่าประกอบการบริหารที่แตกต่างกัน โดยแต่ละท่าจะเน้นบริหารร่างกายในแต่ละส่วนต่างกัน ทำให้สามารถเลือดลดไขมันส่วนเกินเฉพาะได้ตามต้องการ

4.  ช่วยลดน้ำหนัก ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับผู้มีน้ำหนักมากๆ หากใช้ต่อเนื่องกันวันละ 10 นาที เป็นเวลา 1 เดือน หากคุมปริมาณการบริโภคอาหารลงจะสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 3 -5 กิโลกรัม

 

5. เพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ

6. ทำให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

7. สำหรับนักกีฬา เมื่อบริหารร่างกายก่อนก่อนการแข่งขันกีฬา ช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพและสมรรถนะของร่างกายดีขึ้น

8. ผู้ที่ต้องใช้ขานานๆทั้งวัน ผู้ที่ข้อมือข้อเท้าเสื่อม มีกำลังวังชาเพ่ิมขึ้น

วิธีการเล่นหรือออกกำลังกาย

1.  จับที่ด้ามจับทั้งสองด้าน โดยจับคู่กับคนที่มาออกกำลังกาย ดึงไปดึงมา จะได้กระชับกล้ามเนื้อที่ขา ไหล่ เอว และสะโพก (โดยวิธีการยืน หรือนั่งกับพื้งเหยียดขาตรงๆ)

2.  หรือวิธีการนั่งเหยียดขาไปข้างหน้า และดึงไปดึงมา

เครื่องมือออกกำลังกายทั่วไปส่วนใหญ่ มักไม่สามารถใช้งานครอบคลุมผู้ใช้ได้ทั่วถึง แต่เป็นเคร่ืองมือออกกำลังกายนี้เป็นเคร่ืองออกกำลังกายที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ครอบคลุมกับผู้ใช้ได้กับคนทุเพศ ทุกวัย รวมทั้งบุคคลที่มีปัญหาที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ด้วยหตุบางประการเช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผู้ที่ไม่สามารถออกออกกำลังกายด้วยกล้ามเน้ือตนเองได้ ผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆได้ ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายทั้งในระหว่างการออกกำลังกายหรือหลังการออกกำลังกาย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนมากมีปัญหาเรื่องไขข้อไม่แข็งแร ผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือต้องการฟ้ืนฟูกล้ามเน้ือให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม

ผลคาดว่าจะได้รับ

1. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้พิการและผู้ป่วยโรคเร้ือรัง

2. อัตราการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาระบบกล้ามเนื้อ ลดลง

3. ประชาชนมีนวัตกรรมใช้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ราคาไม่แพง

4. กระตุ้นพัฒนาการเด็ก

5. เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครื่องมือ/กิจกรรมด้านสุขภาพ


หมายเลขบันทึก: 541599เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อุึปกรณ์ง่าย ๆ แต่มีประโยชน์มากมายนะจ๊ะ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันจ้ะ

เครื่องเล่นชุดนี้ชื่อว่าอะไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท