deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

ภัยพิบัติน้ำท่วม


ภัยพิบัติน้ำท่วม โดย ตนเชตะวัน

ในอดีตภัยธรรมชาติดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย แต่ปัจจุบันภัยพิบัติมีความถี่ในการเกิดมากขึ้นและทวีความรุนแรง ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีการก่อตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ที่มีหน้าที่แจ้งเตือนภัย กระจายข่าวสารและให้ความรู้ คำแนะนำแก่ประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียเบื้องต้นแก่ประชาชน

  ภัยพิบัติจากธรรมชาติแบ่งเป็นชนิดต่างๆดังนี้ อุทกภัย,วาตภัย,ดินถล่มหรือโคลนถล่ม,ภัยแล้ง,แผ่นดินไหว,สึนามิ,ไฟป่า,ภัยจากมนุษย์ สำหรับจังหวัดแพร่ภัยที่เกิดขึ้นบ่อยคือ อุทกภัยน้ำท่วม ส่วนภัยอื่นๆนั้นไม่รุนแรงหรือเกิดซ้ำบ่อยครั้งซ้ำๆในจังหวัดแพร่ ปลายฤดูฝนประมาณปลายเดือนกรกฏาคมถึงต้นกันยายนของทุกปีจังหวัดแพร่และจังหวัดที่แม่น้ำยมไหลผ่านจะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำซ้ำซากทุกปี เพราะไม่เขื่อนขนาดใหญ่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งและพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย จึงเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม ข้อมูลข่าวสารจากชาวบ้านในพื้นที่เกิดเหตุจึงเป็นเครือข่ายที่ต้องมีความเข้าใจและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น

  ข้อปฏิบัติเพื่อรับมือน้ำท่วม คือ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น น้ำดื่ม,ยารักษาโรค,อาหารแห้งหรือเครื่องกระป๋อง,วิทยุ,ไฟฉายและถ่านไฟฉาย สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องเตรียมยาสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินและเครื่องใช้ส่วนตัวของสุภาพสตรี ควรมีการเตรียมแผนอพยพจากบ้าน ที่ทำงานหรือโรงเรียน ไปยังสถานที่นัดหมายที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมโดยกำหนดจุดหมายไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการพลัดหลง ให้เคลื่อนย้ายเก็บเอกสาร สิ่งของสำคัญ ของมีค่าไปไว้สถานที่ปลอดภัยและที่สำคัญหากมีกล้องถ่ายรูปให้บันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาลหรือประกันภัยน้ำท่วมที่ได้ทำกรรมธรรม์ประกันที่ทำไว้

  ระหว่างเกิดภัยน้ำท่วมจะต้องออกจากพื้นที่ที่อาจเกิดน้ำท่วมอพยพขึ้นไปยังที่สูง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ลุ่ม โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำไหลหลากและเฉี่ยว ไม่ควรข้ามแม่น้ำ ลำธาร เพราะกระแสน้ำสามารถทำให้เราล้มได้แม้จะมีความลึกระดับหน้าแข้ง ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก เช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าสายไฟและสำคัญ อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า ปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆอย่างน้อย 2 เมตร เมื่อมีภัยมาใกล้ตัวจะต้องตั้งสติให้ได้ พยายามรับฟังข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ สำรวจรอบข้างโดยเฉพาะผู้ป่วย คนชรา เด็กเล็กและเมื่อต้องการความช่วยเหลือให้ติดต่อเครือข่ายศุนยืเตือนภัยพิบัติภาคประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่จะรับราชการเป็นพยาบาล ทหาร ตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน กำนันในพื้นที่ก่อนหรือโทรสายด่วน 192(ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง) เพื่อให้ประสานแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสามารถช่วยเหลือให้ทันถ่วงที นี่เป็นเพียงการรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมเบื้องต้นเท่านั้น หลังเกิดภัยยังคงต้องระมัดระวังแม้ว่าน้ำจะลดแล้วก็ต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า ประปา พูก หมอน ที่นอน เสื้อผ้า แต่ต้องคอยเช็คแหล่งหรือสถานที่อับชื้นเพราะสัตว์เลื่อนคลานมีพิษจะหนีน้ำไปนอนอยู่ในที่เหล่านี้ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก เอกสารคู่มือ ภัยพิบัติ รู้ทัน รับมือได้ ของ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ


หมายเลขบันทึก: 541597เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท