บทความน่าสนใจ และการให้เหตุผลทางคลินิกในกิจกรรมบำบัด


จากบทความที่น่าสนใจที่ได้อ่านจากนิตยสาร Mother & Care ฉบับเดือน มิถุนายน 2556 ในห้วข้อเรื่อง "เจ้าหนูชอบคาย" โดยแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับลูกน้อยที่อายุ 6 เดือน แสดงพฤติกรรมการคายอาหารออกมา เมื่อคุณแม่ป้อน โดยบทความนี้ได้ให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการดูแลลูกน้อยในการรับประทานอาหาร

หลังจากอ่านบทความข้างต้น จึงมีความสนใจและได้นำมาวิเคราะห์หาเหตุผลทางคลินิกในกิจกรรมบำบัด โดยมีหัวข้อเป็นเหตุเป็นผลกัน 3 ประเด็น ได้แก่

1. Scientific reasoning (การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์) จากอาการหรือพฤติกรรมของเด็ก เมื่อป้อนอาหารและคายออกมา ซึ่งสามารถส่งผลไปสู่การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอได้ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาการได้ตามช่วงวัยได้ตามปกติ นอกจากนี้สามารถส่งผลถึงคุณแม่ หรือผู้ปกครองคือ เกิดความวิตกกังวลและความเครียดได้ 

2. Conditioning reasoning (การให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข) จากผู้ปกครองได้กล่าวคือ เมื่อให้น้องทานอาหาร น้องจะทำท่าดูดๆ และคายออกมา แต่เมื่อให้น้องดูดนม ก็สามารถทายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในช่วง 6 เดือนเป็นช่วงการทานนมเป็นหลัก และเด็กยังไม่เคยได้รับอาหารชนิดอื่นๆนอกจากนม ทำให้เมื่อได้รับอาหารที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิม ทำให้เด็กเรียนรู้และมีการปรับตัวในการทานอาหารชนิดอื่นๆที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน และในเด็กแต่ละบุคคลมีความแตกต่าง ทำให้ระยะเวลาในการปรับตัวมีความแตกต่างกัน 

ผู้ปกครองสามารถปรับอาหารที่มีพื้นผิวของอาหารได้ โดยเริ่มจากอาหารที่มีเนื้ออาหารใกล้เคียงกับนม เช่นอาหารเหลว และปรับความหยาบของอาหารขึ้น เมื่อเด็กสามารถรับประทานได้ โดยในช่วงเริ่มแรกสามารถให้นมร่วมด้วย เพื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และลดจำนวนนมลงตามลำดับ โดยควรพิจารณาร่วมกับน้ำหนักตัวของเด็กว่าเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ปกติหรือไม่  และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงโภชนาการในการได้รับสารอาหารที่เพียงพอของเด็กร่วมด้วย

3. Cultural reasoning (การให้เหตุผลเชิงวัฒนธรรม) ในปัจจุบันมีการแนะนำให้เริ่มทานอาหารที่ 8 เดือน ในขณะที่ก็มีการเริ่มให้อาหารตั้งแต่ 4 เดือน หรือ 6 เดือนแล้ว และในบริบทของชุมชน มีการให้อาหารเสริมเช่น กล้วย ไข่แดง ข้าวบด เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละสถานที่ เช่นในชุมชนเมือง อาจให้อาหารเสริมสำเร็จรูป ในขณะที่ชุมชนอื่นๆอาจให้ อาหารเสริมชนิดอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การให้เด็กรับประทานอาหารก็ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา

หมายเลขบันทึก: 541214เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท