สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 31 : เตรียมประชุมคณะกรรมการดำเนินการ TACS ชุดใหญ่ ความหวังจุดติดหรือวอด ?)


           การเตรียมข้อมูลเชิงสังเคราะห์เพื่อใช้ในการนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ “โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ชุดใหญ่)ในการประชุมวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ที่จะถึงนี้ ยึดมติที่ประชุมครั้งล่าสุดในวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ณ โรงพยาบาลอำเภอท่าศาลา ห้องประชุมนางตรา  ตึกสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 3

           ผลการหารือในที่ประชุมครั้งดังกล่าว พบว่าโครงการฯมีเป้าหมาย/กรอบแนวคิดการทำงานที่ชัดเจน แต่แนวทาง/วิธีการ/KPI ยังไม่ชัดเจน ที่ประชุมจึงมอบหมาย สุ/พี่ธนิต ไปศึกษาแนวทาง/วิธีการทำงานในลักษณะ Community Mall โดยหา Result Prove (กรณีความสำเร็จ/ล้มเหลว โดยถอดบทเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นผลลัพธ์จริง) เพื่อนำเสนอแนวทาง/วิธีการทำงานในการประชุมวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ให้กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง (Ownership/Sense of belonging)ช่วยพิจารณาตัดสินความเป็นไปได้ของโครงการฯ

                                

                                               การประชุมครั้งล่าสุดในวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 

                                 ณ โรงพยาบาลอำเภอท่าศาลา ห้องประชุมนางตรา  ตึกสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 3

                                     (นายอำเภอถาวรวัฒน์ฯ/ดร.มงคล/ผอ.โรงพยาบาลท่าศาลา-พี่หมอกิตติ/

                            พี่ศึกษานิเทศก์บุญเสริมและพี่พงษ์ศักดิ์ /น้องปลัดพี/ พี่ปลัดเปี๊ยก/สุ/พี่ธนิต-กดชัตเตอร์)

           สุได้ศึกษาการทำงานของสันติอโศกและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รวมทั้งประมวลการหารือหลายฝ่าย โดยเฉพาะ Key Person คือ ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และวันที่ 1/ก.ค./2556 สุได้นำเอกสาร (ร่าง)โมเดลบริหารจัดการ TACS หารือกับคุณไพโรจน์ เพ็ชรคง (อดีตผู้จัดการห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน/นักพัฒนาสังคม) และ วันที่ 2/ก.ค./2556 หารือกับลุงปราชญ์สงวน มงคลศรีพันเลิศและแกนนำภาคการผลิตอำเภอท่าศาลา เพื่อปรับแก้ไขข้อมูลต่างๆ

                                 

                      สุในวันที่หารือกับพี่ไพโรจน์ เพ็ชรคง (ขออภัยลืมกดชัตเตอร์ ณ  Mc Donald)

                                ภาพนี้ก่อนกลับบ้านแวะสั่งข้าวห่อ ณ ร้านน้องบัว หน้ามหาวิทยาลัย

            จากการวิเคราะห์โครงการฯโฟกัสที่ TACS ระยะแรกคือพัฒนาเป็นรูปแบบร้านค้าปลีก ประเภท Consignment (ฝากขายแล้วตกลงผลตอบแทน 20-25% จากราคาปลีก) สินค้า 3 กลุ่ม คือ สินค้า OTOPs (ท่าศาลา) 30 รายการ สินค้า OTOPs (นอกท่าศาลา) 20 รายการ สินค้ารับรองใหม่ 130 รายการ สินค้าโรงงานในแบรนด์ TACS 70 รายการ จำแนกเป็น 2 หมวด คือ Food และ Non-Food ระบบขายแบบ Member ที่พร้อมพัฒนาสู่ Professional Consumer

             การบ้านที่สุต้องทำส่งพี่ไพโรจน์ เพ็ชรคง คือ วิเคราะห์สมาชิก /ลูกค้าที่มาซื้อที่ร้าน/ตัวแทนผู้ผลิต และแผนบริหารงบกำไรขาดทุน 5 ปี

                              

                                                       ลุงปราชญ์สงวน / พี่ธนิต / สุ /น้องนุ้ยอุวนิตย์ /

                                                    น้องอ้อยมลทิพย์ /พี่เจริญ/น้องโจ ธีรยุทธ์(กดชัตเตอร์)

             ในวันนี้ 2/ก.ค./2556 สุนำการบ้านมาถกกับลุงปราชญ์สงวน มงคลศรีพันเลิศและแกนนำภาคการผลิตอำเภอท่าศาลา โดยผสมผสานการค้นหาตอบในเชิงธุรกิจของคลื่นลูกที่ 4 (ผสมผสานเกษตร-อุตสาหกรรม-IT) ในมุมมองทวนกระแส ปราชญ์แนะว่าขอให้เป็นธุรกิจบุญปัจจุบัน หมายถึงเอื้ออาทร เข้าถึง/พัฒนาคน เพราะฉะนั้นการบ้านข้อนี้ของสุต้องอธิบายถึงระบบแลกเปลี่ยนผสมผสานกับธนาคารสินค้า(ปราชญ์ยกตัวอย่างธนาคารแพะ/ธนาคารต้นไม้) ปราชญ์ย้ำให้เข้าถึงใจคน ปูวิธีคิดให้คนก้าวจากทุกข์สู่สุข ก้าวจากหลงทางสู่ทางเลือกที่มีคำตอบในโครงการนี้

             จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า สุเห็นว่า(ร่าง) แนวทาง/วิธีการ/KPI ที่ดีที่สุดคือการค้นพบตนเองของชาวท่าศาลาในบทบาทผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยอาจเริ่มจากความรู้สึกเป็นเจ้าของกลุ่มเล็กๆ เห็นคุณค่าชิ้นงาน/ชิ้นงานคุณภาพที่เริ่มไม่ต้องมากชิ้น เริ่มต้นบริหารจัดการฐานข้อมูลใหม่บันทึกสถิติขายตามยอด ลองไปก่อน วิเคราะห์ซื้อวันต่อวัน / วิเคราะห์กลุ่มซื้อ และต้องทำความเข้าใจกับตัวแทนผู้ผลิต โดยเฉพาะกลุ่ม Food Consignment ในเรื่องรอบการผลิตที่ต้องปรับตัวตามสถิติจำนวนการขายและรอบอายุสินค้า (สุทำสถานการณ์จำลองแสดงให้เห็นภาพประโยชน์ที่ได้รับหลากมิติ อาทิ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ การศึกษา เน้นถึงแนวโน้มของครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้า/ผูกพันกันมากขึ้น และรูปแบบความผูกพันทางสังคมทียั่งยืน)

              สมมติฐาน ณ เวลานี้ คือ TACS บนเส้นทางวัฒนธรรมวิสาหกิจชุมชน “ร่วมสร้าง คืนชีวิตให้กับตนเอง/ครอบครัว/ท้องถิ่น” แนวทาง/วิธีการคร่าวๆแบบนี้ จะช่วยให้ความหวังเป็นแบบลมๆแร้งๆ หรือแบบร่มเย็นยั่งยืน อยู่ที่การปูฐานคิด/วัฒนธรรมดังกล่าว ขอเวลาให้พี่น้องท่าศาลาได้พิสูจน์ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป

             งานนี้ทางสหกรณ์ท่าศาลา แจ้งว่าให้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์กรมตรวจบัญชี ณ ศูนย์ราชการนาสาร จ.นครศรีธรรมราช  มาช่วยตรวจสอบเพราะเป็นนโยบายทางกรมฯในการส่งเสริมการทำระบบบัญชีชุมชน สำหรับโครงการนี้เห็นว่าสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง (ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่กรุณาชี้แนะเพิ่มเติมค่ะ)


หมายเลขบันทึก: 541207เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท