วิธีเตรียมตัว(ท่าน)__ก่อนผ่าตัด


 

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "คนดื่มหนักมีปัญหาหลังผ่าตัดเพิ่ม" = "งดดื่มหนักก่อนผ่าช่วยได้มาก", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ขอแทรกศัพท์ภาษาอังกฤษประจำตอนนี้หน่อย

  • drink = ดื่ม
  • drunken = เมา

ต่อไปเป็นภาพประกอบ...

  • ภาพที่ 1 น้องหมาเมา = drunken dog
  • ภาพที่ 2 คนเมา = drunken people
  • cross = ข้าม (ถนน ฯลฯ)
  • ป้ายเตือน drunken people crossing = ระวังคนเมาข้ามถนน

การศึกษาใหม่จากเดนมาร์ก ทำโดยการนำข้อมูลจากการวิจัย 55 รายงานมารวมกัน รวมการผ่าตัดทั้งส่วนหัว-ลำคอ-ช่องท้อง และผ่าตัดกระดูก-ข้อ ทำให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติที่ซับซ้อน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่ดื่มเกิน 2 ดริ๊งค์ (drinks) ต่อวัน เพิ่มเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดมากกว่าคนที่ไม่ดื่มเลย (teetotalers) หรือคนที่ดื่มไม่หนัก (light drinkers)

1 ดริ๊งค์ เท่ากับอะไร... ถ้าเป็นผู้ชายฝรั่งตัวโต คือ

  • เบียร์แบบจืดจาง-เจือจาง 1 กระป๋องเล็ก
  • ไวน์ = 120 มิลลิลิตร

.

คนไทย หรือคนเอเชียจะดื่มมากแบบฝรั่งไม่ได้ เพราะโครงสร้างร่างกายเล็กกว่า กระดูกน้อยกว่า เนื้อน้อยกว่า

เช่น พวกดื่มไวน์จากขวดแกลลอน... แบบนั้นถือว่า ดื่มหนัก

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดหลังผ่าตัด 30 วันแรก ได้แก่ โรคติดเชื้อ เช่น ปอดบวม กรวยไตติดเชื้อ-อักเสบ ฯลฯ จากการดื่มหนัก (heavy drinking)

คนที่ดื่มหนักก่อนผ่าตัดมีโอกาสต่อไปนี้ใน 30 วันหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้น (เทียบกับคนที่ไม่ดื่ม)

  • เสียชีวิต = 2 เท่า
  • โรคติดเชื้อ = 73%
  • หายใจลำบาก อาจต้องใส่ท่อ-เครื่องช่วยหายใจ = 80%
  • ป่วยหนักจนต้องเข้า ICU = 29%

ภาวะแทรกซ้อนจะเพิ่มขึ้นมาก ถ้าเป็นการผ่าตัดช่องท้อง เช่น ถุงน้ำดี ตับ ฯลฯ

คนที่ดื่มน้อยจนถึงปานกลาง = 1-2 ดริ๊งค์/วัน มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้นในการวิจัย 2-3 รายงานจากทั้งหมด 55 รายงาน = ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น "ไม่ชัีดเจน" หรือ "ไ่ม่เพิ่ม" (เทียบกับกลุ่มดื่มหนัก)

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ดื่มหนักทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง เพิ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อ

กลไกอื่นๆ คือ ดื่มหนักทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง เสี่ยงตกเลือดมากขึ้น และทำให้แผลหายช้าลง

การศึกษาก่อนหน้านี้ 1 รายงานพบว่า ความเสี่ยงโรคแทรกหลังผ่าตัดจะลดลง ถ้าหยุดดื่ม 4 สัปดาห์ขึ้นไปก่อนผ่าตัด

เมืองไทยน่าจะมีกฎหมาย บังคับตรวจแอลกอฮอล์ลมหายใจคนไข้อุบัติเหตุทุกราย และตรวจคนไข้ก่อนผ่าตัด เพื่อเป็นข้อมูลด้วย เป็นหลักฐานด้วย

การศึกษานี้พบว่า "เมาแล้วขับ" เพิ่มเสี่ยงโรคแทรกหลังผ่าตัดเช่นกัน

การเตรียมตัวง่ายๆ ก่อนผ่าตัด ตั้งแต่หัดล้างมือด้วยสบู่ให้ถูกวิธี ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ โดยเฉพาะการเดินเร็วสลับช้า หยุดบุหรี่ หยุดเหล้า นอนให้พอ มีส่วนช่วยให้ท่านเข้ารับการผ่าตัดได้ปลอดภัยมากขึ้น

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                        

บทความนี้เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค, ไม่ใช่วินิจฉัย หรือรักษาโรค

ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่าน ก่อนนำข้อมูลไปใช้

Thank Reuters Source: Annals of Surgery, online May 31, 2013.

 
หมายเลขบันทึก: 540858เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเคยผ่านการผ่าตัดมา 9 ครั้ง มีทั้งที่เตรียมตัวทันและแบบเตรียมตัวไม่ทัน(เพราะฉุกเฉิน)นะครับ

รอดตายมาถึงวันนี้ได้ ถือว่าโชคดีและชีวิตนี้มีกำไรอย่างมหาศาลเลยละครับ  555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท