ระวัง "สเตอรอยด์" ทำลายเซลล์สมองใช้มากเสี่ยงฆ่าตัวตาย


ศาสตราจารย์บาร์บารา เออร์ลิก ( Barbara Ehrlich) และนักวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล (Yale University ) สหรัฐฯ ได้ทำการทดลองโดยนำฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมาฉีดใส่เซลล์ประสาทที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาในห้องทดลอง สิ่งที่พบคือ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นไปกระตุ้นให้เซลล์สมองทำลายตัวเอง (apoptosis) ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ในสภาพแวดล้อมปกติ จะเป็นกลไกสำคัญในการทำลายเซลล์ที่ตายแล้วและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
 เอเจนซีส์ – นักวิจัยเตือนสเตอรอยด์ที่นักกีฬาชอบใช้เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อาจทำลายเซลล์สมองจำนวนมาก และเป็นสาเหตุของความก้าวร้าวและการฆ่าตัวตาย
       
       เป็นที่รู้กันอยู่ว่า การใช้สเตอรอยด์จำนวนมากจะช่วยเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน (testosterone) และเพิ่มความก้าวร้าว
       
       ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเจอร์นัล ออฟ ไบโอโลจิคัล เคมิสทรี (Journal of Biological Chemistry) ยังพบว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในระดับที่สูงมากจะทำลายเซลล์ประสาท และข้อมูลนี้สามารถใช้อธิบายได้ว่า เหตุใดผู้ใช้สเตอรอยด์บางคนจึงกลายเป็นคนก้าวร้าวและฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า hyperexcitability หรือประสาทไวผิดปกติในการตอบรับสื่อกระตุ้น
       
       ศาสตราจารย์บาร์บารา เออร์ลิก ( Barbara Ehrlich) และนักวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล (Yale University ) สหรัฐฯ ได้ทำการทดลองโดยนำฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมาฉีดใส่เซลล์ประสาทที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาในห้องทดลอง สิ่งที่พบคือ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นไปกระตุ้นให้เซลล์สมองทำลายตัวเอง (apoptosis) ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ในสภาพแวดล้อมปกติ จะเป็นกลไกสำคัญในการทำลายเซลล์ที่ตายแล้วและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
       
       อย่างไรก็ตาม หากเซลล์ดีๆ ทำลายตัวเอง อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง และนำไปสู่อาการทางประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ส นอกจากนั้น การใช้สเตอรอยด์ยังเป็นที่มาของอารมณ์โกรธที่ควบคุมไม่ได้
       
       การทดลองก่อนหน้านี้ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารบีแฮปวิออรัล นิวโรไซเอนซ์ พบว่า หนูแฮมสเตอร์วัยผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์เยือกเย็นเป็นปกติ กลับกลายเป็นหนูที่ก้าวร้าวอย่างไม่น่าเชื่อหลังได้รับสเตอรอยด์ และยังคงไล่กัดผู้บุกรุกตลอด 2 สัปดาห์แม้นักวิจัยงดให้สารดังกล่าวแล้วก็ตาม
หมายเลขบันทึก: 54034เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท