โขกทั้งวัน...แต่ทำไมนกหัวขวานไม่เคยปวดหัว @@


แรกเริ่มเลยเมย์ประหลาดใจว่าทำไมเจ้านกหัวขวานที่ใช้จงอยหัวอันหนาเจาะเข้ากับต้นไม้วันละมากกว่า 12,000 ครั้ง ทำไมมันถึงไม่บ่นปวดหัวหรือสสมองสั่นสะเทือนเลย จากนั้นเขาก็พบว่าสมองของนกหัวขวานนั้นได้พัฒนาให้มีกะโหลกอย่างหนา พร้อมทั้งกระดูกที่เหมือนโฟมกันกระแทกคอยรับแรงสั่นสะเทือนภายในสมอง
โขกทั้งวัน...แต่ทำไมนกหัวขวานไม่เคยปวดหัว @@
       
       อีวาน ชวาบ (Ivan Schwab) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเดวิส (University of California Davis) และฟิลิป เมย์ (Philip May) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลลิส (University of California Los Angeles) ขึ้นมารับรางวัลเป็นรายแรกในสาขาวิหควิทยา (ornithology prize) จากผลงานการศึกษาว่าวิธีการหลีกเลี่ยงอาการเจ็บหัวของนกหัวขวาน
       

       แรกเริ่มเลยเมย์ประหลาดใจว่าทำไมเจ้านกหัวขวานที่ใช้จงอยหัวอันหนาเจาะเข้ากับต้นไม้วันละมากกว่า 12,000 ครั้ง ทำไมมันถึงไม่บ่นปวดหัวหรือสสมองสั่นสะเทือนเลย จากนั้นเขาก็พบว่าสมองของนกหัวขวานนั้นได้พัฒนาให้มีกะโหลกอย่างหนา พร้อมทั้งกระดูกที่เหมือนโฟมกันกระแทกคอยรับแรงสั่นสะเทือนภายในสมอง
       
       ทั้งนี้ นกหัวขวานได้พัฒนาเข็มขัดนิรภัยส่วนตัวขึ้น โดยช่วงเวลาเสี้ยววินาทีก่อนที่นกพันธุ์นี้จะกระแทกหัวเข้ากับต้นไม้ หนังตาชั้นที่สาม (nictitating membrane) ของมันก็จะปิดปกคลุมตาเพื่อป้องกันไม่ให้แรงจากการเจาะต้นไม้ทำให้พวกนกเหล่านี้เวียนหัว
       

       ส่วนชวาบมีข้อเสนอว่า นกหัวขวานอาจจะพัฒนาสมองขนาดเล็กๆ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความต้านทานกับแรงกระแทก แต่ก็ยอมรับว่าพลังสมองน้อยๆ ของนกหัวขวานสามารถชนต้นไม้จนเป็นรูได้
คำสำคัญ (Tags): #ความรู้ทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 54033เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท