เกิดธารน้ำใจ



ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมาจากสภาพการดำเนินชีวิตตามระบบ "วัตถุนิยม"
หากเราเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่ทรงด้วยคุณค่ายิ่ง โดยการดำเนินชีวิตตามระบบ "พอเพียงนิยม"
ปัญหาต่าง ๆ จักลดลง หรือแทบไม่มี
ด้วยความปรารถนาดีจาก "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

น้ำท่วมกรุงเทพ ฯ ทำให้ฅนมีน้ำใจ

   

 

    " ฅนเมืองแล้งน้ำใจ ฅนชนบทเปี่ยมล้นด้วยน้ำใจ"  คำพูดลักษณะนี้ได้ยินอยู่เสมอ และต่างเห็นพ้องต้องตามว่าเป็นจริง  อย่างไรก็ดีน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ ครั้งใหญ่นี้ทำให้จิใจฅนเปลี่ยนแปลงไปก็มี เปลี่ยนจากแล้งน้ำใจกลายเป็นคนมีน้ำใจ  เรื่องอย่างนี้น่าชวนขบคิดให้ละเอียดพิสดารยิ่งขึ้น เพราะเรื่องน้ำใจสำคัญยิ่งสำหรับสัตว์สังคมอย่างมวลมนุษยชาติ

    ฅนเมืองแล้งน้ำใจจริงหรือ  อันที่จริงสันดานของมนุษย์ย่อมมีเอื้ออารี  มีเมตตาธรรม ทั้งนี้น่าจะถูกถ่ายทอดจากพันธุกรรมก็เป็นได้  ฅนเมืองเขาก็มีน้ำใจ แต่มีน้อยน้อยจนไร้ซึ่งคุณค่าในการอยู่ร่วมแบบสังคมมนุษย์  ด้วยเหตุนี้จึงตีค่าว่า "คนเมืองแล้งน้ำใจ"

    สาเหตุใดที่ทำให้ฅนเมืองแล้งน้ำใจ เหตุเพราะการแข่งขันด้านธุรกิจสูง  การแข่งขันหาเลี้ยงชีพสูง  ต่างฅนต่างแย่งชิงหาเงินทองเพื่อการดำรงชีพของตน  และครอบครัว เพื่อความอยู่รอดในสังคมที่มีค่าครองชีพสูง ค่าครองชีพในเมืองสูงกว่าชนทบ  ยิ่งเมืองใหญ่  เมืองท่องเที่ยวยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้นอีก  การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ของฅนเมืองจึงมากกว่าฅนชนบทหลายเท่า  การเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้มาเต็มเปี่ยมอยู่ในความคิดของฅนเมือง  จึงทำให้คนเมืองแล้งน้ำใจโดยไม่รู้ตัว

    การมุ่งแต่ผลประโยชน์  มีการแย่งชิงจนให้พอเพียง หรือเกินความพอเพียงข้อหนึ่ง การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสังคมแข่งขันสูงอีกประการหนึ่ง  สองข้อนี้เป็นเหตุเป็นเหตุให้ฅนเห็นแก่ตัว  เมื่อเกิดความเห็นแก่ตัวเรื่องแล้งน้ำใจก็ตามมา

    ฅนเมืองมัวยุ่งกับงาน กับการแข่งขัน จึงไม่มีเวลาให้สำหรับเพื่อนบ้าน  เพื่อนบ้านห้องแถวเดียวกันโดยแท้แต่ไม่เคยได้พูดคุย เพราะต่างฅนต่างดิ้นรนทำงาน กอปรกับการจราจรที่ติดขัด  ต้องตื่นเร็วรีบไปทำงาน ขากลับกลับบ้านดึก  ได้พักผ่อนดึก เพราะรถติด ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ทำให้ฅนเมืองมีช่องว่างห่างขึ้นในเรื่องที่จะได้พบปะเพื่อนใกล้บ้าน  เพื่อได้พูดคุยถามสารทุกข์สุกดิบ  อันที่จริงสิ่งอย่างนี้ไม่ควรเกิดในสังคมมนุษย์  ที่เกิดขึ้นเพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นตัวกำหนด  ฉะนั้นหากเรากำหนดวิถีการดำรงชีพแบบพึ่งพา แบบเอื้อเฟื้อต่อกันตามแนวของ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" สังคมก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติที่แท้จริง ความสันติสุขก็เกิดขึ้นแน่นอน

    น้ำท่วมกรุงเทพ ฯ ครั้งนี้ทำให้ฅนรู้จักพึ่งพา  รู้จักเอื้ออารี  รู้จักแบ่งบัน ฯลฯ ซึ่งเข้ากับแนว "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" จึงขอนำเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ครั้งนี้เล่าสู่กันฟัง เผื่อเป็นอุทาหรณ์  เผื่อเป็นข้อมูล อันจะเป็นเหตุเป็นผลที่จะมองแนวทางการดำรงชีพของมนุษย์ตามแนว "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ว่าดีหรือไม่อย่างไร

    มีข่าวว่าเศรษฐีฅนหนึ่งมีบ้านอยู่ในกรุงเทพ ฯ ขอเรียกบ้านว่าคฤหาสน์ก็แล้วกัน เพราะทราบว่าราคาค่างวดบ้านหลังนี้เป็น สิบ ๆ ล้าน  คฤหาสน์หลังนี้ถูกน้ำท่วมหนักเช่นกัน แต่เจ้าของไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจอะไรมากนัก  ไม่คิดที่จะขนข้าวของ ปล่อยให้น้ำท่วมไปตามบุญตามกรรม ส่วนตัวเองก็ถือโอกาสตระเวนดูสภาพน้ำท่วมไปเรื่อย ๆ บังเอิญไปพบครอบครัวหนึ่งซึ่งมีสมาชิก จำนวน 4 ฅน  มีพ่อแม่และลูก ๆ 2 ฅน กำลังรับประทานข้าวกล่องที่ได้รับแจก ทันทีที่เศรษฐีเข้าไปนั่งใกล้ ๆ  พวกเขาทั้ง 4 ได้เจียดอาหารฅนละเล็กฅนละน้อยให้เศรษฐีโดยมิได้เรียกร้องจากเศรษฐีแต่อย่างใด

    จากภาพที่คอยเตือนใจ คอยตอกย้ำของฅนทั้ง 4 ที่มีความตั้งใจจริงในการแบ่งปันอาหารหวังประทั้งความหิวของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยามที่มีเภทภัย บวกกับความมีจิตสำนึก ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดมีความศรัทธาที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ จึงร่วมบริจาคอาหารแก่ผู้ประสบภัยติดต่อกันเรื่อยมา หลายครั้งหลายคราว จนเป็นข่าวเล่าลืออย่างที่รู้กัน

    "ไม่เห็นโลงศพไม่หลังน้ำตา"  "เมื่อแกงรสจืดชืดจึงรู้คุณค่าของเกลือ" หรือสำนวนอื่น ๆ ที่เข้าทำนองนี้ ก็เปรียบเสมือนของครอบครัว และท่านเศรษฐีที่ได้กล่าวถึง จากส่วนลึกในใจจริง ๆ ของมนุษย์เราย่อมมีความเอื้ออารี  มีจิตเมตตาเป็นทุนอยู่แล้ว ยิ่งมาประสบความเดือดร้อนลำบากด้วยตนเอง  ความสำนึกยิ่งมีทวีขึ้นเป็นหลายเท่าในยามนี้คงไม่มีใครที่จะเข้าใจเรื่องความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนเท่ากับครอบครัวนี้ และท่านเศรษฐี

    จริง ๆ การดำรงชีพของมนุษย์ในระบอบประชาธิปไตยแบบวัตถุุนิยม มันไม่ได้เดินไปอย่างราบรื่นนัก  ผู้ฅนจำนวนไม่น้อยต่างประสบแต่ความเดือดร้อน  ทุกข์ยาก ร้อยละ  90  ก็ว่าได้  ฅนเหล่านี้ต่างมีความต้องการรับการเยียวยา ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา   หากแต่เรามองไม่เห็นเท่านั้นเอง  หรือเห็นก็ส่วนน้อย   เห็นอย่างผิวเผินไม่ลึกซึ้งตรึงใจอะไรมากนัก ก็เลยปล่อยเป็นปกติวิสัย  คือไม่ได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงแก่นแท้ อันที่จะได้มองเห็นความจริง

    หากเราจับจุดหลักการสอนของศาสนาในบางอย่าง บางตอนจะมองเห็นชัดว่าคำสอนมาเกี่ยวเนื่องในสิ่งที่กล่าวมา  ศาสนาอิสลามสอนให้ถือศีลอดก็เพื่อให้รู้ถึงความทุกข์ความเดือดร้อน  ความตกทุกข์ได้ยาก  การไม่พอกินพอใช้จะมีความทุกขเวทนาแค่ไหนเพียงใด  เมื่อถือศีลอดจะได้มีจิตใจที่จะรู้การแบ่งบัน การเอื้ออารี นั่นเป็นการสอนให้รู้จักคำว่า ให้ทานนั่นเอง  ศาสนาพุทธสอนให้พุทธศาสนิกใส่บาตร นั่นเป็นการฝึกจิตใจให้รู้จักแบ่งบัน อยู่จักช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักเสียสละ สรุปแล้วก็ให้พุทธศาสนิกรู้จักให้ทานเช่นกัน

    การที่มนุษย์จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงเป็นเรื่องปกติวิสัยสามารถจะทำได้ทุกเวลา  ไม่เฉพาะในยามตกทุกข์ได้ยากที่เกิดจากภัยพิบัติ  หรืออะไรก็แล้วแต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเช่น ปลวก  มด  ผึ้ง  ตัวต่อ  หรือ ฯลฯ จึงต้องมีหน้าที่ แบ่งหน้าที่ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล  โดยเห็นประโยชน์ร่วมกัน  เห็นเพื่อเกิด  เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ และเพื่อนตาย หลีกเลี่ยงการเห็นประโยชน์ส่วนตน ถ้าดำเนินชีวตอย่างที่ว่านี้ความสันติสุขก็เกิดขึ้น อย่างที่นำเสนอตามแนวของ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

    ระบอบประชาธิปไตยในระบบวัตถุนิยมซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างสุดเหวี่ยงเช่นนี้ ยิ่งทำให้เกิดช่องว่าระหว่างฅนจน กับฅนรวยเพิ่มขึ้น  (หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ช่องว่างระหว่างทาสแรงงาน กับนายทุน)  ความเดือดร้นของฅนก็เพิ่มขึ้น  เพราะต้องดิ้นรนตามกระแสแรงผลักดันของกลุ่มทุนนิยม   (กระแสตัญหาของกลุ่มทุนนิยม)ต้องทำงานแข่งขันกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งสังคมที่ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนจะเห็นว่าค่าของเงินอ่อนค่าลงตลอดเวลา  ค่าครองชีพจึงเพิ่มขึ้นตามมานั่นคือมูลเหตุที่ทำให้ฅนต้องมีความทุกข์ มีความเดือดร้อน ความเดือดร้อนอย่างนี้ก็เท่ากับถูกภัยพิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเช่นเดียวกัน  ฉะนั้นการดำเนินชีวิตบนเส้นทางระบบวัตถุนิยมผู้ฅนในสังคมแบบนี้รอการช่วยเหลือเยียวยาอยู่ตลอดเวลา

    คิดว่าน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ ครั้งนี้ทำให้น้ำใจฅนเมืองหวนกลับมาอีกครั้ง  สำหรับฅนในชนบทซึ่งเขามีน้ำใจเป็นทุนอยู่แล้วก็คงจะยิ่งเห็นค่าของน้ำใจมากยิ่งขึ้น  สิ่งสำคัญน่าจะช่วยเตือนจิต สะกิดใจให้มองเห็นคุณค่าการดำรงชีพที่ยึดการช่วยเหลือเกื้อกูล การแบ่งบัน ให้ลึกซึ้งขึ้น  และหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป

    เรื่องการอยู่ร่วมของสังคมมนุษย์ถือว่าการมีน้ำใจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  คุณค่าของน้ำใจยิ่งกว่าค่าของทรัพย์สินเงินทองหลายเท่าอันประมาณค่ามิได้ แนวทางหนึ่งเพื่อการดำชีพของเพื่อมนุษย์ให้เกิดความสันติสุขอย่างแท้จริง  "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ขอช่วยกันส่งเสริม และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มกันต่อไป


ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมาจากสภาพการดำเนินชีวิตตามระบบ "วัตถุนิยม"
หากเราเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่ทรงด้วยคุณค่ายิ่ง โดยการดำเนินชีวิตตามระบบ "พอเพียงนิยม"
ปัญหาต่าง ๆ จักลดลง หรือแทบไม่มี
ด้วยความปรารถนาดีจาก "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

คำสำคัญ (Tags): #ธรรม
หมายเลขบันทึก: 540018เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท