สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 24 : ตัวบทโครงการฯ)


ตัวบทคนพื้นถิ่นท่าศาลา และการวางรากฐานเครือข่ายงาน นาวานี้จะรอดหรือล่ม ?

            ช่วงเวลานี้ผู้ประสานงาน(น้องปลัดอำเภอพี)กำลังสาละวนกับการนัดหมายภาคีต่างๆเพื่อเตรียมงานอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ 

            สุจึงใคร่ขอทบทวน“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อก้าวเดินไปพร้อมๆกันและส่งข่าวคราวถึงพี่น้อง Blog Go to Know ทุกท่านนะคะ


            1)ที่มา

             ผู้ริเริ่ม คือ นายอำเภอท่าศาลา(นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว)และคณะฯ ประสานงานมาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จากนั้นทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มอบหมายสุและพี่ธนิต สมพงศ์ เข้าร่วมกับทีมงานท่านนายอำเภอชักชวนภาคีต่างๆก่อรูปโครงการบนเส้นทางยุทธศาสตร์อำเภอท่าศาลา

                             

            ภาพ1 : หารือระหว่างภาคีต่างๆ ประกอบด้วย นายอำเภอ/ดร.มงคล ธีระนานนท์/พี่อรรจน์ สุวรรณนุรักษ์ 

                    หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ประสานงาน ตามแนวคิด " The best Defense is a Good Offense"

                             

                                            ภาพ2 : หารือเรื่องราว "ร้อยแปดพันเรื่อง" ที่เกี่ยวข้องกับการก่อรูปงาน  

                                          ก่อกำเนิดที่นี่ได้หรือไม่? ฝากใจไว้กับลุงสิน อมรศักดิ์(สวมแว่นตาดำค่ะ)

                           

                      ภาพ 3 : หารือผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร (อธิการบดี) 

                        ดร.วันสุรีย์ พรหมภัทร(ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ) ลุงเล็ก ธนิต สมพงศ์ (ผู้ประสานงาน)


               2)จัดทำ Flow Zone (การโฟกัสเรื่องราวเพื่อนำศักยภาพคนมาทุ่มเทเต็มที่)

                        2.1 ลงพื้นที่ร่วมค้นหาอัตลักษณ์: เปิดทาง เปิดพื้นที่ เปิดโอกาส ให้อำนาจ/กระตุ้นเตือนคุณธรรมของชีวิตความเป็นคนท้องถิ่นท่าศาลานำร่อง 10 หมู่บ้านใน 10 ตำบลของอำเภอท่าศาลา

                                

                            ภาพ4 : พี่ปลัดอำเภอไวพจน์ อ่อนละออ นำทีมงานลงพื้นที่ แม้นบางวันละอองฝนเปียกชื้น 

                 คุณพี่ท่านยังมีน้ำเสียงไพเราะเพราะพริ้งดั่งบทเพลงขับกล่อมหัวใจประชาชนทั้งยามเช้าและยามบ่าย 

                          2.2  ค้นพบ : สภาพวิถีชีวิตท่ามกลางกระแสทุนนิยม ประชาชนพากันฉุกคิดถึงปัญหาเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์ที่รุนแรงขึ้น การเบียดขับลูกหลานจากฐานทรัพยากรของสังคม สภาพการดำรงชีวิตผ่านนโยบายรัฐที่ร่วมกันพิจารณาว่าหลายเรื่องราวประชาชนถูกกระทำโดยไม่ใช่ความบังเอิญของรัฐ แต่เป็นการแย่งชิงเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

                              

                          ภาพ4 : นั่งถกเรื่องราวชีวิตของผู้ผลิตสินค้าเกษตรไทย และประกาศสัตยาบันร่วมกันว่า 

             "พวกเราคนพื้นถิ่นท่าศาลา(ผู้ผลิตพืช/สัตว์ บนแปลงเกษตร และแกนนำประมงพื้นบ้านท่าศาลา)ขอสัญญาว่า

                           เราจะร่วมมือกันผลิตสินค้าทุกรายการในนาม TACS ของพวกเราให้ปลอดภัย 100 %"


                          2.3 ร่วมหาทางออก: เริ่มหวนหาสิทธิ์ของคนท้องถิ่น โดยมองเห็นว่าต้องเริ่มจากตัวของประชาชนเอง ครอบครัว สังคมใกล้ตัว สังคมเครือข่าย : ต้องมีตนเป็นที่พึ่ง ต้องมีการพัฒนาตน ต้องวางระบบเครือข่ายชุมชนอย่างรัดกุม                

                          2.4 ข้อสรุปเชิงสังเคราะห์ระหว่างลงพื้นที่ค้นหาอัตลักษณ์ท่าศาลา : คือ การปฏิรูปสังคมต้องชวนกันมาคิด พูด ทำ ระบบและกลไก เพื่อรับมือกับสภาวการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อน รวดเร็ว โดยมองว่าคำว่าอัตลักษณ์ไม่ควรเป็นเพียงการฉายภาพ ประชาชนต้องการรูปธรรมที่ชัดเจน จับต้องได้ ดังนั้นจึงร่วมกันสร้าง "ตัวบทคนพื้นถิ่นท่าศาลา และวางรากฐานเครือข่ายหนุนเสริมซึ่งกันและกัน"


               3)หลักการ

                      3.1 สร้างสังคมปัญญา

                      3.2 สร้างสังคมพึ่งตนเอง สังคมสันติภาพ วิถีชีวิตร่มเย็น รูปแบบความผูกพันทางสังคมยั่งยืน

                      3.3 สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผูกโยงความกลมกลืนพหุวัฒนธรรม

                      3.4 สร้างสังคมบูรณาการภาคีต่างๆ  เครือข่ายหนุนเสริมกันและกัน

                 

               4) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

                   คณะทำงานโครงการได้จัดทำกรอบแนวคิดเชิงเหตุผลสัมพันธ์โครงการและร่วมกันจัดทำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ ทั้งนี้หากทีมงานร่วมกันสานความหวังของประชาชนในการขับเคลื่อนโมเดลเล็ก 4 โมเดล( 1)Thasala  Associated Community  Superstore -TACS  2) Thasala Alternative Healthed Center  3) Thasala  Community Museum and  Cultural Tourism 4) Thasala  Associated Community Welfare and Foundation-TACWF)  ซึ่งโมเดลเล็กเหล่านี้หากเชื่อมต่อกันเป็นโมเดลใหญ่หรือเรียกชื่อว่า “โมเดลท่าศาลาร่มเย็น” ในนามประชาชนทุกคนมีความเชื่อมั่นว่าปฏิบัติการในครานี้จะนำนาวาชีวิตไปสู่ความยั่งยืนบรรลุ Key Performance Indicator - KPI ที่ได้จัดทำร่วมกัน (สุค่อยหาโอกาสนำเสนอ KPI จากหัวใจประชาชนในครั้งถัดๆไปนะคะ  )


หมายเลขบันทึก: 539965เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2013 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


  กำลังใจที่ส่งมา ช่างสุขอุราจริงๆ /ขอบคุณค่ะ (หม่าวบ้านปราชญ์สงวน มงคลศรีพันธ์เลิศก็ขอขอบคุณครับ)

ดีใจในฐานะคนท่าศาลาโดยกำเนิด  ที่ได้เห็นตักศิลาที่มาตั้งในดินแดนท่ศาลา กำลังจะรังสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่คนท่าหลา   หวังว่างานดีๆ เช่นนี้ จะเรียกคืนกิจกรรมดีๆ ให้เกิดขึ้นในพื้นที่  อย่างที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต   กิจกรรมทางสังคม  พื้นที่ทางสังคมในอดีตมีให้เห็น  แต่พอเติบใหญ่กลับไม่เห็นของดีเหล่านั้น   ซ้ำร้ายคนเริ่มหันหน้าเข้าหลาดค้าขาย  กู้หนี้ยืมสินกันหนักขึ้น  แล้วก็ต้องหนีหนี้ทิ้งถิ่นไปก็หลายคน   หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะทุเลาเบาบางลงไปบ้าง

           ขอบคุณแรงใจที่ส่งมายังโครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ จ.นครศรีธรรมราช  พี่สุเข้าไป Blog ของคุณธวัชฯ ที่พยายามถ่ายทอดอารมณ์งานนักพัฒนาออกมาสู่วงกว้าง ภาพเหล่านั้นฉายกระบวนการทำงานที่ไม่ง่าย แต่คุณธวัชฯก็ไม่ย่อท้อ

          พี่สุคิดว่าหากกระบวนการมีความต่อเนื่อง ความสำเร็จจะตามมา (กระบวนการสำคัญมากกว่าการชักชวนประชาชนสรุปว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้สำเร็จ) เพราะหากวันเวลายังเดิน กระบวนการเรียนรู้ก็ควรจะต้องเดิน ความสำเร็จเป็นเพียงสิ่งเล็กๆในแต่ละห้วงเวลาของความหวังในใจที่อาจแตกต่างกันไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท