ชุมชนแห่งการเรียนรู้
การเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ NIDA นักศึกษาคณะพัฒนาทรัพยมนุษย์

โครงการ 5 สุข


1. ชื่อโครงการ  5 สุข

2. วัตถุประสงค์

  บางครั้งการเรียนหรือการทำงานก็อาจจะประสบกับปัญหาและอุปสรรค ส่งผลให้เกิดความเครียดหรือไม่มีความสุข จนอาจทำให้มองข้ามสิ่งสำคัญรอบตัวไป เช่น ครอบครัวหรือสังคม โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรภายในองค์กร ตระหนักถึงการสร้างความสุขให้กับตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับครอบครัวและสังคม ซึ่งหากนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรภายในองค์กรมีความสุขกับสิ่งสำคัญในชีวิตแล้ว ก็จะส่งผลต่อการเรียน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

3. รายละเอียดกิจกรรม

  จัดการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ เช่น Website, Facebook, Blog เพราะเป็น Application ที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้สามารถติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลานอกจากนั้นยังประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์ของคณะ เสียงตามสาย และติดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญจากสถาบันภายนอกมาบรรยายให้ความรู้ซึ่งโครงการ 5 สุข มีรายละเอียดดังนี้

  กายมีสุข (Happy Body)

  สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ มาจากการที่รู้จักกิน รู้จักนอน หมั่นออกกำลังกาย และใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับเพศ เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับสถานการณ์ เหมาะสมกับฐานะทางการเงิน

  ใจมีสุข (Happy Heart)
  การที่คนในองค์กรจะอยู่ร่วมกันได้ จะต้องมีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา คนเราเอาแต่ตัวเองอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องรู้จักการแบ่งปันอย่างเหมาะสม ต้องรู้บทบาทของเจ้านาย ลูกน้อง บทบาทของอาจารย์ นักศึกษา บทบาทของคุณพ่อ คุณแม่ และเปิดใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต

  มีความรู้มีสุข (Happy Brain)
  ควรศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การทำงาน หรือการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดความมั่นคงและก้าวหน้า ควรมีความรู้ในงาน มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้

  ครอบครัวมีสุข (Happy Family)
  ควรให้ความสำคัญกับครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นและมั่นคง คอยเป็นกำลังใจที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัว เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเรียนและการทำงาน เพราะครอบครัวเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันและเป็นกำลังใจสำคัญ ในการที่จะทำให้สมาชิกในครอบครัวสามารถผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคในชีวิต และมีความมุ่งมั่นในการทำให้ชีวิตดีขึ้นได้

  สังคมมีสุข (Happy Society)
  สังคม ในที่นี้มีความหมายสองมิติ คือ สังคมในองค์กร ได้แก่ นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรภายในองค์กร และสังคมนอกองค์กร ได้แก่ คนในชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ประเทศชาติ ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรมีความรัก สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อสังคมที่ตนเองพักอาศัย ช่วยเหลือสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า และมีสภาพแวดล้อมที่ดี

4. งบประมาณ

  ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ โทรทัศน์ของคณะ และเสียงตามสายมากกว่า เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

5. ผลลัพธ์

  คาดว่านักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรภายในองค์กร ตระหนักถึงการสร้างความสุขให้กับตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับครอบครัวและสังคม ซึ่งส่งผลต่อการเรียน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

6. ตัวชี้วัด

1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการทำงานของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรภายในองค์กร

2.  จำนวนบุคลากรที่เข้ารับการรักษากับแพทย์ ทั้งปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ

7. วิธีการวัดผล

ประเมินเกี่ยวกับพัฒนาการที่ดีขึ้นของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ครอบครัว และสังคม

8. เครื่องมือ

แบบประเมินเกี่ยวกับพัฒนาการที่ดีขึ้นของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ครอบครัว และสังคม


คำสำคัญ (Tags): #โครงการ 5 สุข
หมายเลขบันทึก: 538850เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท