ชุมชนแห่งการเรียนรู้
การเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ NIDA นักศึกษาคณะพัฒนาทรัพยมนุษย์

โครงการ Scenario Project


โครงการ Scenario Project

1. วัตถุประสงค์โครงการ

  เพื่อการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้น โดยมีภาพสรุปในอนาคตที่เป็นไปได้หลายทาง และเพื่อเป็นการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แต่สิ่งใหม่ๆเท่านั้น แต่การเรียนรู้จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยตระหนักถึงปัจจัยต่างๆที่อาจมีผลกระทบต่อคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการร่วมกันวางแผนและป้องกันปัญหา ซึ่งโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรทุกท่านในคณะทรัพยากรมนุษย์ เพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกันระดมสมองวางแผน เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ทุกคนสามารถใช้ความคิดของตนเองได้อย่างสูงสุด และดึงศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ออกมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะเป็นการดึงความรู้และประสบการณ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถเรียนรู้จากความรู้และประสบการณ์ของผู้อื่น

2. รายละเอียดกิจกรรม

  การดำเนินกิจกรรม Scenario Project นี้เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยการระดมสมองกันของทุกฝ่าย บุคลากรในคณะจำเป็นต้องมีส่วนร่วมตลอดทั้งกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดกระทำในทุกๆหนึ่งเดือน โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง ซึ่งรายละเอียดกิจกรรมประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.  จัดตั้ง Scenario Team  ซึ่งประกอบไปด้วยบุคลากรทุกคนในคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2.  ขั้นตอนหาปัญหาเพื่อร่วมกันหาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเริ่มจากให้สมาชิกแต่ละคนในทีมเขียนในสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาลงในกระดาษซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่หรือเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตโดยให้เวลาคนละ 15 นาที

3.  แลกเปลี่ยนข้อมูลมูลซึ่งกันและกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งการแบ่งปันข้อมูลกันนี้สามารถทำได้ด้วยวิธีการบูรณาการข้อมูลสถิติ ซึ่งหมายถึง การรวบรวมข้อมูลสถิติจากหลายหน่วยงานเพื่อการวางแผน หรือการทำนายอนาคต เช่นการรวบรวมข้อมูลสถิติผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาต่างๆ สถิติข้อมูลการมีงานทำตรงสาขาที่เรียน ข้อมูลความต้องการแรงงานฯลฯ เพื่อวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเวลาสำหรับขั้นตอนนี้ประมาณ 45 นาที โดยให้แต่ละคนแบ่งปันข้อมูลที่ตนเองมีให้ผู้อื่นทราบประมาณคนละ 5 นาที

4.  ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนของการระดมสมองโดยให้สมาชิกแต่ละคนช่วยกันระดมสมองวิเคราะห์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นว่าอะไรคือสาเหตุโดยเขียนเป็นแผนภูมิก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาหรือวิธีการวาดรูป เนื่องจากการรับรู้ของคนจะจดจำภาพหรือสัญลักษณ์ได้ดีกว่าตัวหนังสือ รวมถึงวิธีแก้ปัญหาและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยเขียนความเป็นไปได้ทั้งหมด และวางแผนรับมือกับปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดทั้งปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และร่วมกันวาดภาพอนาคตที่พึงประสงค์ร่วมกัน ซึ่งเป็นการฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

5.  นำข้อเสนอแนะที่ได้จากการวางแผนร่วมกันไปปฏิบัติจริง และนำผลจากการปฏิบัติมานำเสนอในการร่วมโครงการครั้งต่อไป

3. งบประมาณ

  งบประมาณไม่เกิน 100 บาทต่อการดำเนินโครงการแต่ละครั้ง เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเพราะมีแค่ค่ากระดาษฟลิปชาร์ทประมาณ 20 แผ่นต่อครั้ง

4. ผลลัพธ์

  บุคลากรในคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยสามารถรับมือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้โดยไม่มีอุปสรรค โดยให้ทุกคนได้กลายเป็นนักวางแผนและนักคิดที่มีคุณภาพ

5. ตัวชี้วัด

สามารถแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้สำเร็จ

6. วิธีการวัดผล

  ใช้แบบประเมินเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยให้บุคลากรในคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกันประเมินปัญหานั้นๆ

7. เครื่องมือ

  แบบประเมินเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


คำสำคัญ (Tags): #โครงการ Scenario Project
หมายเลขบันทึก: 538846เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท