ชุมชนแห่งการเรียนรู้
การเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ NIDA นักศึกษาคณะพัฒนาทรัพยมนุษย์

โครงการฝึกผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่


โครงการฝึกผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ (Dialogue Leadership Skill Training)

1. วัตถุประสงค์(Objective)

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในเรื่อง

1.  ทักษะการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และยอมรับในคุณค่า ความเป็นตัวตนของแต่ละคน

2.  ความหมาย ความสำคัญ และหลักการของ Dialogue

3.  ทฤษฎีพื้นฐาน Theory U (Open Mind, Open Heart, Open Will) ที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการอยู่ร่วมกันอย่างมีพลัง

4.  กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝึกทักษะการฟังให้เข้าใจมากกว่าคำพูดที่ได้ยิน 

2. สาระสำคัญ

การฝึกการเป็นผู้นำในแนวทางของ ไดอะลอค มีองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกัน คือ

1.  Conceptual Learningคือ การคิดให้ชัด เชื่อมโยง และลึกซึ้ง ในเชิงทฤษฏี และกรอบความคิดต่างๆ เช่น ฟริตจ๊อบ คาปร้า(Web of Life, the Turning Point) ,มาร์กาเร็ตวีทลี่(LeaderShip in the New Science or Finding Our Way) ,Peter Senge(The Fifth Discipline and System Thinking) ,Otto Schamer(U Theory) ,จวง จื่อ(มนุษย์ที่แท้) ,David Bohm(on Dialogue) ,David Issac(Dialogue: Art of thinking together) ,ChogymTrungpa Rinpoche(ซัมบาลา หนทางจิตวิญญาณแห่งนักรบ) ,Arnold Mindel(Leadership as Martial Art) ,Harl and Sidra Stones(Psychology of Self) ,Marshall Rosenberg(Non-Violence Communication)

2.  Personal Masteryคือ การเข้าใจตัวเอง ดูแลพลังชีวิต และแรงบันดาลใจให้ตัวเองเพื่อนำไปใช้กับผู้อื่น ส่วนนี้จะทำงานกับสิ่งที่ขวางกั้นการพัฒนาตัวเองในการเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพของแต่ละคนจะเป็นส่วนของการทำงานกับตัวเองมี Personal coaching เป็นฐานการทำงาน

3.  Dialogue Skill Trainingคือการฝึกทักษะการสื่อสาร ดำเนินการประชุม การดูแลจัดการความสัมพันธ์ต่างๆ กระบวนกรจะช่วย Host วง Dialogue ให้ดูในงานประชุมจริง เพื่อให้เห็นรายละเอียดเชิงรูปธรรมของการโฮส โดยเป้าหมายของวงคือให้ทุกคน

-  ได้รับการมองเห็นค่า

-  ได้รับความเข้าใจ

-  ได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

-  ได้ข้อสรุปเชิงปฏิบัติร่วมกัน

ไดอะลอค เป็นการทำงานกับพลังละเอียดหรือสนามพลังของการสนทนา (energrtic mental field) มีความละเอียดอ่อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเราต้องการให้วงสนทนาได้ยินกันและกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน และลึกซึ้งราวกับการได้ฟังวงออเครสต้าระดับโลกบรรเลงเพลงชั้นยอดด้วยเครื่องดนตรีชั้นนำ เราจำต้องนั่งโรงคอนเสิร์ตที่สร้างมาเพื่อให้การได้ยินนั้นดีเยี่ยม (excellent audio architecture)

3. รายละเอียดกิจกรรม

การเปิดวง การเปิดวงที่ดีช่วยให้วงคุยเห็นเป้าหมาย และแนวทางการพูดคุยร่วมกัน และจะช่วยทำให้การสนทนาเกิดประสิทธิภาพเต็มที่ การเปิดวงด้วยใจที่เปิดกว้างผ่อนคลายแต่ตื่นตัว และพร้อมรับฟังนั้นจะช่วยสนามการตื่นรู้ให้กับวง เช่น “วันนี้ผมดีใจที่ทุกคนได้มานั่งคุยกันในเรื่องที่สำคัญ และจะส่งผลต่อชีวิต และการงานของพวกเรา ซึ่งหลยคนต้องสะสางภาระงานต่างๆเพื่อจะมรร่วมกันใช้เวลาคุยกันนี้ ผมจึงอยากขอบคุณ และให้คุณค่าเวลากับโอกาสที่เกิดขึ้นนี้”

บอกความตั้งใจและเป้าหมาย (intention and goal)เป้าหมายในการที่คุยกันหากต้องการข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็สามารถสื่อสารให้วงได้รับรู้หรือมีเป้าหมายในการสร้างความเข้าใจในทีมงาน ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่ต่างฝ่ายต่างมีการตีความของตัวเองนั้น เราต้องการให้เห็นการตีความของกันและกัน อย่างไรก็ตามเป้าหมายเป็นสิ่งที่เตรียมไว้ล่วงหน้ากับผู้เข้าร่วมได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเรามาคุยกันเรื่องอะไร แล้วมาเน้นย้ำอีกทีเพื่อความชัดเจนก่อนเริ่มการประชุม

เช็ควาระ การเช็ควาระการประชุมนั้นสามารถกระทำได้ก่อนเกิดการประชุม แต่เป้าหมายคือเพื่อให้คุณค่ากับวาระของทุกคนหรือเรื่องที่แต่ละคนให้ความสำคัญ และอาจอยากให้มีการพูดคุยในเรื่องนั้นๆ การเช็ควาระว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่อยากให้เกิดการปรึกษาหารือกัน เมื่อได้เรื่องต่างๆมาขึ้นบอร์ดแล้วก็อาจช่วยกันจัดลำดับความเร่งด่วนจากมากไปหาน้อยแล้วจัดสรรเวลาให้มีมากพอ บางเรื่องราวสามารถจับกลุ่มคุยเฉพาะออกไปไม่จำเป็นต้องประชุมในวงใหญ่

เช็ควิธีการคุย เพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละคนจะมีเวลาได้เท่าไร อาจหาข้อตกลงร่วมกันว่าจะพูดคุยกันถึงกี่โมง เมื่อถึงเวลาแล้วยังไม่สามารถสิ้นสุดการคุยได้ก็สามารถเช็คกับกลุ่มอีกครั้งหนึ่งว่าต้องการคุยต่อหรือค่อยหาเวลาคุยต่อไป

เช็คอิน เป็นการเช็คสิ่งที่เกิดขึ้นข้างในแล้วแชร์ออกมา ได้แก่ ความรู้สึกหรือสภาวะร่างกายเช่น “เมื่อคืนผมนอนน้อยถ้าเผลอหลับก็ขออภัย แต่อยากให้เข้าใจว่าไม่ได้ต้องการลบหลู่หรือไม่ใส่ใจนะครับ”หรือ”วันนี้ผมมีอาการปวดหัวนิดหน่อย หน้าตาอาจจะดูบึ้งเครียดบ้าง อยากให้พวกเราแค่เข้าใจว่าผมไม่ได้รังเกียจอะไรหรือใคร”หรือ”ผมรู้สึกกังวลในเรื่องที่เราคุยกัน เพราะผมอยากให้เราเข้าใจกันจริงๆ ความสัมพันธ์ในหมู่พวกเราสำคัญสำหรับผมมาก หวังว่าพวกเราจะได้ช่วยเหลือรับฟังกันและกัน และแบ่งปันกันอย่างเต็มที่ และให้เกียรติกันนะครับ”

พูดให้วงฟัง(Speak to the Circle)ผู้พูดพูดให้วงทั้งวงฟัง ฝึกรับรู้วง ส่งความใส่ใจไปให้วง(Hold the whole circle in your attention and your speech) บางครั้งเราคุยกับคนที่ดูสนใจรับฟังเราหรือเห็นด้วยกับเรามากที่สุด แล้วไม่ใส่ใจกับคนอื่นๆในวง ทำให้คนที่ฟังอยู่อาจจะรู้สึกถูกละเลย และอาจเบี่ยงความสนใจไปที่อื่นแทน พลังของการใส่ใจคนฟังของผู้พูดจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดการสื่อสารที่ถึงที่หมายได้หรือถึงใจคนฟังได้

ถามให้ชัด (Clarifying)เราใช้คำพูดโทนเสียง ท่าทาง และสีหน้า สื่อความหมาย ดังนั้นเป็นเรื่องไม่แปลกหากคนฟังจะเข้าใจไม่ตรงกับสิ่งที่คนพูดต้องการสื่อสารความคลุมเครือที่เกิดขึ้นจากการตีความเป็นเรื่องปกติธรรมดา การตั้งคำถามเพื่อค้นหาความหมายที่ผู้พูดต้องการจะสื่อนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

เราอาจจะ

-  ถามทวนผู้พูดว่า “คุณหมายถึง ... ใช่ไหม ?” การทวนคำถามช่วยทำให้ผู้พูดรับรู้ว่าเราได้ยินเขาอย่างไร และเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนที่เราจะสวนกลับไปด้วยความคิดเห็นแตกต่างที่ดูขัดแย้ง

-  ขอให้อธิบายเพิ่มผมอยากขอให้คุณช่วยขยายความคำว่า ... ให้อีกสักหน่อยเพื่อผมจะได้เข้าใจสิ่งที่คุณกำลังสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น”

-  ขอให้ช่วยยกตัวอย่างคุณช่วยยกตัวอย่างแนวคิดนี้ให้ดูสักตัวอย่างสิครับ”

-  เคาะประตูก่อนเสนอแนะหรือให้การช่วยเหลือ

-  เชิญคนเงียบหรือเสียงส่วนน้อย

-  สังเกตอารมลบๆหรือเฉยๆ

-  พูดจาภาษาไม่แน่ใจ (น่าจะหมายถึงการพูดให้ผู้ฟังสามารถจะพูดเสนอแนะช่วยเหลือผู้บรรยายได้)

-  เชื้อเชิญการแทรกแซง

-  I-Statement

-  การฝึกกระบวนการตัดสินใจ

แบบฝึกหัดสำหรับหลายบทบาท

แบบฝึกหัดนี้จะทำให้เห็นวิธีการจัดการกับบทบาทเหล่านี้ให้เกิดการประสานกัน

  Mover คือคนที่พูดเปิดเผยผลักดันประเด็นการพูดคุยต่างๆใช้พื้นที่เยอะ ส่วนใหญ่เป็นพวก กระทิง อินทรีย์

  Oppose ทำหน้าที่ต่อต้านหรือคัดค้านเพื่อให้เกิดความแตกต่างหลากหลาย แต่บ่อยครั้งกลายเป็นความขัดแย้ง

  Followerคล้อยตามลูกเดียว คอยสนับสนุนความคิดเห็นของทุกคนเป็นพวก หนู เยอะ

Bystander  พวกเฝ้าสังเกตการณ์ ไม่บอกว่าชอบหรือไม่ชอบ หรือไม่ชอบความคิดไหนเป็นพิเศษ บางทีก็ไม่แสดงความคิดเห็น

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  บุคลากรได้รับการพัฒนาความเป็นผู้นำและเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ


หมายเลขบันทึก: 538847เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท