โครงการส่งเสริมการอ่านหนังสือธรรมะเพื่อเพิ่มพลังการศึกษา ระยะที่ ๑ เตรียมเมล็ดพืชเพื่อหว่านลงดิน


             

          บันทึกครั้งก่อนครูนกได้เล่าเรื่อง พี่ๆ ม. หก ร่วมกันปลูกนิสัยรักการอ่านให้น้องๆ ในโรงเรียน เพื่อโครงการส่งเสริมการอ่านหนังสือธรรมะเพื่อเพิ่มพลังการศึกษาซึ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมการเพื่อจะก้าวมาสู่การปฏิบัติในวันอาทิตย์นี้ซึ่งถือว่า เป็นระยะที่ ๑ ของโครงการดังกล่าวคือ เตรียมหนังสือเพื่อแจกจ่ายนักเรียนทุกๆคนในโรงเรียนของเรา  ครูนกขอเรียกสั้นๆ ว่า ระยะเตรียมเมล็ดพันธุ์เพื่อหว่านลงดิน

                
                           "มาเอาใบรายชื่อที่นี่ครับ"
จุดประสงค์

  • เพื่อบรรจุหนังสือพร้อมคำชี้แจงและใบสมัครเครือข่ายส่งเสริมการอ่านประจำห้อง
  • เพื่อแจกจ่ายหนังสือสู่นักเรียนในโรงเรียนทุกๆคน
                           

เป้าหมาย

  • นักเรียนจะได้รับหนังสือ ๔ เล่มต่อคน ภายในหนึ่งจะมีหนังสือจำนวน ๔ x จำนวนสมาชิกของห้อง
  • ภายในหนึ่งภาคเรียนนักเรียนควรอ่านได้อย่างน้อย ๘ เรื่อง
  • ทุกห้องมีสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมการอ่านห้องละ ๒ คน
            

  • สิ่งที่เตรียมมาก่อนล่วงหน้า
  • ทุกห้องส่งกล่องกระดาษที่สามารถบรรจุหนังสือประมาณ ๒๐๐ เล่ม ใช้การเรียกประชุมตัวแทนห้อง
  • พี่ๆ ม.๖/๑ ถึง ม.๖/๔ ทำแผ่นกระดาษเพื่อแปะที่กล่องในการระบุชั้น (และจำนวนเล่มของหนังสือ)
  • พี่ๆ ม.๖/๑ ถึง ม.๖/๔ เตรียมใบรายชื่อสำหรับให้นักเรียนได้ลงชื่อร่วมโครงการ
  • ครูนกเตรียมทำเอกสารชี้แจงขั้นตอนพร้อมใบสมัครเครือข่าย
                

       วันนี้เด็กๆ มาพร้อมกันก่อนเวลาลงมือดำเนินกิจกรรม และทุกๆห้องก็เตรียมความพร้อม ประชุมชี้แจงขั้นตอนจากนั้นแยกย้ายกันปฏิบัติงานคือ  แยกหนังสือ --- จัดหนังสือตามจำนวนที่คำนวณไว้----บรรจุลงกล่อง-----นำใบรายชื่อพร้อมคำชี้แจงและใบสมัครเครือข่ายส่งเสริมการอ่านวางบนสุด----ปิดกล่อง-----เก็บในสถานที่ปลอดภัยเพื่อรอแจกจ่าย
                     
        สรุปวันนี้เราทำงานได้รวดเร็ว เริ่มเก้าโมงเช้าเสร็จประมาณสิบเอ็ดโมง ซึ่งต้องชื่นชมในการเตรียมการของเด็กๆ ที่ปฏิบัติมาล่วงหน้าอย่างดี และขอบคุณแกนนำของห้องที่สามารถชี้แจงสร้างความเข้าใจกับเพื่อนก่อนลงมือปฏิบัติในวันนี้ได้อย่างดี

                   
            ข้อสังเกตจากครูๆ
  • บางคนไม่ฟังคำชี้แจง ทำให้ต้องคอยถามเพื่อนและครูทำให้ทราบว่าขณะชี้แจงนักเรียนยังไม่ฟัง หรือฟังแล้วยังไม่กระจ่าง
  • บางคนให้ความสำคัญกับเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ปฏิสัมพันธ์กับครู เพื่อนและงานลดลง
  • ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะเช่น มีกล่องใบใหญ่ทำอย่างไรให้เล็กลง
  • บางคนขาดการเตรียมการทั้งที่ได้รับมอบหมายงานทำให้ต้องแก้ปัญหาเป็นระยะ เช่น บางคนไม่เตรียมใบรายชื่อล่วงหน้า หรือกระดาษแปะกล่องมาล่วงหน้าซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อยของการทำงาน
    วันจันทร์ตอนเช้าเมล็ดพันธุ์ (หนังสือเล่มเล็กๆ) จะเดินทางถึงผู้อ่านเพื่อเข้าสู่ระยะต่อๆ ไปของการดำเนินงานคือ ส่งเสริมกระตุ้นการอ่านผ่านกิจกรรมต่างๆ การเขียนเรียงความ และประเมินผลความพึงพอใจในการดำเนินงาน ครูนกต้องขอบคุณเด็กๆ ค่ะที่มีใจเกินร้อยกันจำนวนมาก ทำให้ปัญหาต่างๆ ผ่านไปได้จนถือว่าสำเร็จในการเตรียมเมล็ดพันธุ์

                     


หมายเลขบันทึก: 538604เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยมมากๆ เลยครับ

เป็นกิจกรรมที่ควรปลูกฝังให้เด็กๆอ่านหนังสือ

ดีใจแทนเยาวชน

สวัสดีค่ะ คุณอักขณิช
  • หวังให้เปลี่ยนจากจ้องหน้าจอ....เป็นอ่านหนังสือแบบสดๆบ้าง
  • ขอบคุณลูกศิษย์ม.๖ ที่เขาเล็งเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ค่ะ เลยทำเพื่อน้อง
  • ขอบคุณนะค่ะมาให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ คุณพ.แจ่มจำรัส
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจ
  • ครูนกก็ต้องขอบคุณพี่ๆ ม.๖ ที่เขาเล็งเห็นความสำคัญของการอ่านเลยช่วยกันทำโครงการนี้เพื่อน้อง


ขอบคุณค่ะ คุณ kunrapee
ครูนกก็ยินดีปรีดากับโอกาสของเด็กๆด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท