สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 8 เตรียมการจัดตั้ง Thasala Community Museum)


          เกริ่นนำด้วยบทความของรองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=631ที่อธิบายถึงความเสื่อม ความสะเปะสะปะของชุมชนท้องถิ่นมาจากการมีช่องว่างหรือความห่างระหว่างความรู้ท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่นหรือจากยุคสู่ยุคในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ดั่งการฉีกคนออกจากกันจนทำให้ชุมชนอ่อนแอ ภาพหลอนวิกฤติฟองสบู่ที่ประจักษ์ชัดในอดีตซึ่งพร้อมจะกลับมาอีกหลายระลอก ยังน่าขยาดในหัวใจหลายๆดวง ดังนั้นการนำผู้คนในชุมชนหันกลับมาทบทวนตนเอง    ทบทวนชุมชน    ไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ แห่งใดค่อยๆลดความทะยานอยาก นับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการชุมชนที่ยั่งยืน          

         วันนี้สุได้หารือโครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการฯ กับ ดร. วัณณสาส์น นุ่นสุข ปริญญาเอกด้านโบราณคดี จาก Cornell University ทุนอานันทมหิดล ท่านรู้สึกยินดีอย่างมากที่จะทำงานโครงการฯ ท่านเน้นย้ำว่า “ชุมชนอยู่รอด ประเทศเข้มแข็ง ต้องทำให้เกิดสำนึกร่วมของชุมชน ต้องค้นหาอดีต ประสบการณ์ร่วมเดียวกัน แม้นไม่ถึงขนาดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน  ภายใต้ภูมิศาสตร์ที่คล้ายๆกันต้องผูกโยงเชื่อมต่อเรื่องราว นิเวศวิทยา วิถีชีวิตร่วมกัน  ดังนั้นการจัดตั้ง Thasala Community Museum ต้องเข้าใจว่าอำเภอท่าศาลามีภูมิศาสตร์หลากหลาย(จากภูเขาจรดทะเล) จึงเป็นภาพใหญ่ การวาง Concept นำเสนอก่อนลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ และสังคมวิทยาจึงต้องเตรียมการณ์ ตลอดจนถึงการนำเสนอสู่ความเป็น Community Museum ดังนั้นอาจารย์ขอ Research Assistant 1 ท่าน มาช่วยงาน อาจารย์จะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ ค่าเดินทาง ตลอดจนถึงทีมงานจากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” สุรับที่จะประสานงานกับระดับอำเภอต่อไปค่ะ           สุต้องขอขอบพระคุณอาจารย์    ที่นำต้นขนุนจำปาดะมาฝากวางไว้ที่หน้าบ้าน 2-3 วันก่อน และรวมพลังประกาศตัวก้องปฐพีว่า "พวกเราคือกลุ่มคนรักต้นไม้   เพราะเชื่อว่า ต้นไม้อยู่ได้กับคน คนอยู่ได้กับต้นไม้  ต้นไม้รักษ์น้ำ คนอยู่ได้ด้วยต้นไม้และน้ำ พวกเราจึงเชิญชวนให้ทุกคนรักต้นไม้และน้ำ"  ไชโยประทศไทย!

หมายเลขบันทึก: 537506เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท