สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 2 พาเที่ยวบ้านอู่ตะเภา)


          วันนี้ วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 ลงพื้นที่หมู่ 13 บ้านอู่ตะเภา ตำบลโมคลาน ก่อนลงพื้นที่โทรศัพท์คุยกับผู้ใหญ่วิษณุ คงสมทรง เพื่อขอเสวนาภาคพื้นที่ด้านวิถีชีวิต โดยร่วมกันชวนมองอดีตสู่อนาคต พร้อมทั้งหารือโครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          บ้านอู่ตะเภามาจากคำว่าบ้านอู่เรือสำเภา รุ่งเรืองตามวิถีมามากกว่า 100 ปี เป็นหมู่บ้านที่แยกการบริหารงานปกครองจากหมู่บ้านโมคลาน แต่ยังคงภาคภูมิใจกับบทลำนำชีวิตที่กล่าวว่า “ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอญ โมคลานตั้งก่อน เมืองนครตั้งหลัง” ณ อดีตอู่เรือสำเภาแห่งนี้มีโรงจักรเลื่อยไม้ไว้ให้เรือสำเภามารับไม้ รวมถึงมาซ่อมเรือสำเภาด้วย  ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พอสังเกตเป็นพื้นที่ลานไม้ ตัวแท่นท่าน้ำ สำหรับจัดงานวันลอยกระทง

           สินค้าท้องถิ่น ได้แก่ 1)ปลาน้ำจืด : ปลาดุกบ้าน ปลาหมอ ปลาช่อน(สำหรับแกงส้ม แกงคั่ว แกงกะทิ) ปลาตาแดง ปลาเกล็ดขาว ปลาฉลาด ปลาขาว ปลาหมอตะเพียน ปลาลิ้น(มีปริมาณมากเดือน 6 ไว้สำหรับทอด ต้มเค็ม ทำปลาส้ม) ปลาไหล 2)ไข่เป็ด ไข่เค็มจากดินปลวก 3)งานหัตถกรรม : ไก่ประดิษฐ์ สำหรับตกแต่งบ้าน สำหรับแก้บน ดอกกล้วยไม้พลาสติก 4)ผักปลอดพิษ : มะเขือยาวสีม่วง ย่านนาง พาหง ชะมวง ขี้เหล็ก(ยอด/ดอก)ยอดมะขาม

         วันนี้ตั้งใจจะพา รศ.ถนอมจิต สุวิภาลงพื้นที่ แต่ด้วยทางพื้นที่แจ้งว่ายังไม่ได้ทำแปลงสมุนไพร   ดังนั้นทางพัฒนกร(คุณเรณู ชูจันทร์) และสุจึงสนุกเต็มที่(ผลัดกันแกว่งชิงช้าในวัยเด็ก 40+) แต่นิสัยดีที่ไม่เก็บเอาขนุนก่อนได้รับอนุญาตมาแกงเย็นนี้

                                         

                                      สิ่งที่สุคิดว่าน่าสนใจมากที่สุดคือหญ้าเข็ดมอญ

                                      

                                                                      ภาพหญ้าเข็ดมอญ

                 ผู้เฒ่าเล่าว่าเป็นหนึ่งในตำรับยาฟอกเลือด ล้างพิษเลือด ป้องกันและรักษาไข้ทับฤดู วันนี้จึงนำมาปลูกที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และถ่ายภาพมาให้ยลโฉม (รูปภาพหญ้าเข็ดมอญ หญ้าประวัติศาสตร์ดังไฟล์แนบ)  วันหลังต้องเชิญชวนคณาจารย์ด้าน Natural Sciences มาพิจารณานำไปต่อยอดแน่นอน 


หมายเลขบันทึก: 536548เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะได้รู้จักปลานำ้จืดชนิดต่าง ๆ  ๙ึ่งถ้าใครอยู่ชุมชนที่มีปลานำ้เค็มจะไม่ชอบรับประทานปลานำ้จืดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท