ถอดบทเรียนจากการไปอบรมเรื่อง Writing and Publishing Research (ตอนที่ 2)


เรื่องเล่าจากการไปอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “The Writing and Publishing in Library and Information Science at International level Workshop” ที่หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ มสธ. จัดขึ้น โดยมีวิทยากรผู้ฝึกอบรมคือ Assoc. Prof. Diljit Singh จาก University of Malaya เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 พฤษภาคม 2556 (ความเดิม ต่อจากตอนที่แล้ว)

 

หลังจากที่ผ่านขั้นตอน Characterizing Your Research หรือทำความเข้าใจกับงานวิจัยของเราแล้ว ว่าเกี่ยวกับอะไร  มีประโยชน์กับใคร ใครสนใจเรื่องแบบนี้ คำถามที่สำคัญมากและมักถูกถามบ่อย คือ So what? (แล้วไง) What is the significance?  (ทำไปทำไม) มี keywords ที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง นำ keywords ไปค้นหาบทความอื่นๆ ที่มีความใกล้เคียงกับงานวิจัยของเรา เพื่อหาว่าบทความเหล่านั้นตีพิมพ์ในวารสารใดกันบ้าง จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน Identifying Target Journals  ศึกษารายละเอียดของวารสาร  เลือกวารสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาสัก 2-3 ชื่อ ที่น่าจะรับบทความของเราลงตีพิมพ์

 

Analyzing Articles in Target Journals : ขั้นตอนต่อไป คือเลือกบทความที่เกี่ยวข้องจาก target journals เหล่านั้น มาสัก 3-5 บทความและทำการวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียด เช่น บทความมีความยาวเท่าไหร่ (สักประมาณกี่คำ ?) มีการแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่-หัวข้อย่อยอย่างไรบ้าง แต่ละตอนมีความยาวเท่าไหร่ ใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะอ่านบทความนี้ (นักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานประจำ หรือนักวิชาการ) สไตล์การเขียน abstract และเนื้อหาแต่ละตอนเป็นอย่างไร อะไรคือแนวความคิดหลักของบทความ มีจำนวนรายการอ้างอิงมากแค่ไหน ใช้สไตล์การอ้างอิงแบบใด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเป็นแนวทางในการเขียนบทความของเราได้

 

Developing an Outline of the Article: จากความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์บทความของคนอื่น ให้ลองทำโครงร่างบทความของเราบ้าง (รายละเอียดของชื่อหัวข้ออาจแตกต่างกันไปบ้าง ตามสไตล์ของแต่ละวารสาร)

Level 1 : แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ (Main Headings) สัก 5 หัวข้อก่อน คือ 1. Introduction 2. Review of Literature 3. Methodology 4. Outcomes 5. Conclusions and Recommendations

Level 2 : แต่ละหัวข้อใหญ่ แบ่งย่อยเป็น sub-headings เช่น 1. Introduction แบ่งเป็น 1.1 Overview of the research area 1.2 Problem to be investigated 1.3 Objectives

Level 3 : แบ่งย่อยลงไปอีก เช่น  1. Introduction

  • 1.1 Overview of the research area แบ่งเป็น 1.1.1 Brief history 1.1.2 Current status
  • 1.2 Problem to be investigated แบ่งเป็น 1.2.1 As reported in literature 1.2.2 Seriousness of problem, statistics
  • 1.3 Objectives แบ่งเป็น 1.3.1 List of objectives 1.3.2 Brief description of how objectives achieved


Developing a Plan of Action for Writing Your Article : เนื่องจากการเขียนบทความ ไม่สามารถแล้วเสร็จได้ภายในเวลาแค่วันสองวัน จะทำสำเร็จได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีการวางแผน ถ้าทำโดยไม่มีการวางแผน โอกาสล้มเหลวมีสูงมาก แผนปฏิบัติการจะต้องครอบคลุม 5W + 1H คือ What, Why, Where, When, Who และ How อะไรคือเป้าหมาย ทำไมจึงสำคัญ จะทำงานที่ไหน (สถานที่ที่เหมาะสมในการทำงานก็เป็นเรื่องสำคัญ แล้วแต่อุปนิสัยของแต่ละคน) จะทำเสร็จเมื่อไหร่ มีใครที่เกี่ยวข้องหรือให้ความช่วยเหลือ และสุดท้ายแล้วจะทำอย่างไร มีขั้นตอนปฏิบัติการอย่างไร — ลองเขียนแผนการปฏิบัติงาน 10 หัวข้อ ดังนี้

  • ตั้งเป้าหมาย : กำหนดระยะเวลาที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จตามแผน เช่น ต้องเสร็จภายในเวลา 3-6 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ และตั้งปณิธาน A Promise to Myself ไว้ว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในวันสิ้นปี 31 ธันวาคม 2556 เป็นต้น
  • เหตุผลที่ต้องการตีพิมพ์คืออะไร : เช่น ต้องการมีประสบการณ์ในการตีพิมพ์วารสารระดับนานาชาติ ต้องใช้ผลงานตีพิมพ์ในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เป็นต้น
  • ชนิดของบทความที่ต้องการตีพิมพ์ : เช่น บทความวิจัย หรือบทความปริทัศน์
  • ชื่อเรื่อง : ที่คาดว่าจะเป็น
  • ชื่อผู้แต่งและที่อยู่ของผู้แต่ง : มีใครบ้าง เช่นนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา จะใส่ชื่อที่อยู่อย่างไร เรียงลำดับชื่ออย่างไร แล้วแต่นโยบายของมหาวิทยาลัย
  • วารสารที่ต้องการตีพิมพ์ : เลือกมาชื่อเดียวก่อน พร้อมเหตุผลว่าทำไมจึงเลือก
  • บุคคลที่คาดว่าจะไปขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ : เช่น ช่วยทางด้านเทคนิคการทำวิจัย ช่วยตรวจแก้ไขบทความและภาษา ช่วยเรื่องสถิติ ช่วยเรื่องเงินทุนสนับสนุนการวิจัย หรือเป็นบุคคลที่เราสามารถไปขอคำปรึกษาในการตีพิมพ์ในฐานะเป็นผู้มีประสบการณ์ ตีพิมพ์มาแล้ว หรือมีชื่ออยู่ในกองบรรณาธิการ เป็นต้น 
  • กำหนดการ : วันที่คาดว่าจะทำฉบับร่างแล้วเสร็จ วันที่จะส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ วันที่จะส่งให้คนอื่นช่วยตรวจเรื่องภาษา และวันที่จะ submit บทความส่งให้บรรณาธิการวารสาร
  • ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น : และแนวทางแก้ไข
  • ทำเสร็จแล้วจะได้รางวัลอะไร : เนื่องจากการตีพิมพ์เป็นเรื่องยาก ต้องใช้ความพยายามสูง ดังนั้น ควรมีการให้รางวัลแก่ตัวเองด้วย เช่น จะได้ไปเที่ยว (หรือห้ามไปเที่ยวจนกว่าจะทำเสร็จ) เป็นต้น

 

Writing the Article : เคล็ดลับคือ ต้องจัดระเบียบตัวเอง พยายามเขียนเป็นประจำทุกวัน บรรทัดเดียวก็ยังดี เขียนแค่ 10-15 นาทีก็ยังดี (ทำให้เหมือนกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน) พยายามอ่านบทความของคนอื่นเรื่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความของเรามีความเหมาะสมและมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องนั้นๆ ต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนกับปัญหาหรือโจทย์วิจัย ต้องแน่ใจว่าบทความมีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างแท้จริง ควรขอให้คนอื่นช่วยอ่านบทความ ว่าเขาอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ หาคนช่วยแก้ไขภาษาไวยกรณ์ตัวสะกด เมื่อเขียนเสร็จแล้วควร submit ไปยังวารสารทีละชื่อ อย่าส่งไปให้วารสารหลายชื่อพร้อมกัน เพราะจะผิดจรรยาบรรณการวิจัย

 

[ อ่านต่อ ตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ]

หมายเลขบันทึก: 536520เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท