โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย_07 : เยี่ยมโรงเรียนอนุบาลกิตติยา จังหวัดมหาสารคาม


วันที่ 15 มกราคม 2556 ทีมงานโครงการบ้านวิทย์ศาสตร์น้อย มหาสารคาม  เดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลกิตติยา ที่ตั้งอยู่นะ อ.เมือง   จ.มหาสารคาม เพื่อประโยชน์สำคัญกับทีมงานที่จะได้เรียนรู้จากสนามจริง และสะท้อนความเห็นสู่เพื่อครูเพื่อศิษย์ในบ้านวิทย์น้อยนี้ 


โรงเรียนอนุบาลกิตติยา เป็นโรงเรียนเอกชนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจังหวัดมหาสารคาม ดูรายละเอียดจำนวนอาจารย์ นักเรียนได้ที่นี่  ผมรู้จักหลายคนที่ส่งลูกมาเรียนที่นี่ รวมทั้งพี่สุรัตน์ที่เป็นหนี่งในทีมงานของเราด้วย......

ผู้ก่อตั้ง ผอ.โรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียน ที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน แสดงถึงอุดมการณ์ของครอบครัวในการศึกษาและพัฒนาการศึกษาในระดับเตรียมอนุบาล อนุบาล และประถมศึกษา รองผอ. แต่ละคน "ไปเรียน" มาเพื่อ "การนี้" โดยเฉพาะ....

โรงเรียนอนุบาลกิตติยา จัดการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง กิจกรรมการทดลองที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ของโครงการคือ 20 การทดลอง และ 2 โครงงาน สามารถบรรลุเสร็จได้ในเวลาเพียงภาคการศึกษาเดียว วิธีการของโรงเรียนคือ มอบหมายให้ครูสองท่านรับผิดชอบ มาเข้าร่วมอบรม และนำกลับไปขยายผล และลงมือปฏิบัติทันที .....

แนวทางในการจัดกิจกรรมการทดลองบ้านวิทยาศาสตร์ พอจะสรุปเป็นขั้นตอนได้คร่าวๆ ดังนี้ครับ

  • ครูแกนนำทั้งสองกลับไป ถ่ายทอด อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
  • จัดตารางให้การทดลองของบ้านวิทยาศาสตร์น้อย เป็นกิจกรรมเสริมจากการเรียนรู้หลัก
  • โดยจัดทำเป็น "ฐานการเรียนรู้" แต่ละฐานคือ การทดลอง "ในกล่อง" ของโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย
  • กำหนดเวลาให้เป็นตารางที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติทดลองกันทุกอาทิตย์โดยหมุนเวียนกันไป

จุดแข็งของโรงเรียนอนุบาลกิตติยา คือ

  • การบริหารจัดการแบบ "เอกชน" ที่แตกต่างกับ "ข้าราชการ" แบบที่ไม่ต้องอธิบายต่อ ก็พอจะรู้กันว่าต่างกันอย่างไร 
  • มีนักศึกษาช่วยงาน นักศึกษาฝึกสอนจำนวนมาก ปีการศึกษาละกว่า 30 คน (จากที่สอบถามนะครับ)
  • เป็นโรงเรียน "ในเมือง" ที่อยู่ในกระแสหลักของสังคม เพราะผู้ปกครองมีค่านิยมส่งลูกมาเรียนในเมืองอย่างรุนแรง

ผมมีความเห็นว่า โรงเรียนยังต้องพัฒนาสู่ความเป็นสุดยอดอีกในประเด็นต่อไปนี้ เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานไทยครับ

  • กิจกรรมที่ทำยังเป็นกิจกรรมที่เสริมแยกออกมาจากสาระการเรียนรู้หลักๆ เป็นกิจกรรมที่ยังเน้น "กิจกรรม" ยังไม่เน้นการเชื่อมโยงการเรียนรู้หลักกับกิจกรรม เช่น เมื่อเรียนเรื่องอาหาร ก็อาจยกการทดลองเรื่อง "การละลายของน้ำตาล" ไปทำเป็นต้น ......กล่าวสั้นๆ คือ บูรณาการกิจกรรมการทดลองต่างๆ กับการเรียนการสอนหลักๆ ที่ทำอยู่
  • การทำการทดลองถูกจัดให้เป็น "ฐาน" ที่ใช้เวลาเพียงไม่นาน ......ทำให้การเรียนรู้แบบค่อยซึมซับของนักเรียนอาจเกิดได้ยาก .... ตามทฤษฎี BBL การเรียนรู้ของเด็กในช่วงนี้ควรมีการ คลุกคลี "ทำซ้ำย้ำทวน" บ่อยๆ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดข้อสงสัยด้วยตนเอง
  • ตัวผลงานที่เด็กทำนั้น ไม่จำเป็นว่า เมื่อมีผลงาน นักเรียนจะเข้าใจ และได้ทักษะต่างๆ ที่เราต้องการ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่า เนื้อหา หรือ ผลผลิต คือ กระบวนการ และผลลัพธ์ที่เกิดกับตัวนักเรียน ....

ผมเขียนอย่างนี้ อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ เพราะ ผมไม่เคยทำ ไม่เคยเป็นครูอนุบาล .....ที่เขียนนี้เพียงแค่คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เท่านั้น

สุดท้าย ก็ขอชื่นชมกับความพยายาม และความมุ่งมั่นของครูเพื่อศิษย์ทั้งสองท่านครับ

ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ

หมายเลขบันทึก: 536417เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท