ความโกรธ(พยาบาท)__ทำร้ายหัวใจเรา




.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Anger linked to raised heart attack risk
' = "ความโกรธเพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยง) โรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.

.
การศึกษาที่ำทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้โรคหัวใจ (heart attack = หลอดเลือดหัวใจอุดตัน) 1,484 คนพบว่า คนที่มีความโกรธ-แค้น-พยาบาทอย่างแรง (rage) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจไปนาน 2 ชั่วโมง
.

.
การศึกษานี้พบว่า ยิ่งโกรธมาก (The greater the fury), ยิ่งเสี่ยงมาก (The higher the risk) ดังนี้
.
(1). โกรธปานกลาง > เสียงแข็งกระด้างขึ้น > 1.7 เท่า
.
(2). โกรธมาก > ตัวสั่น กำหมัด กัดฟัน > 2.3 เท่า
.
(3). โกรธสุดๆ > ควบคุมตัวเองไม่ได้ ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น > 4.5 เท่า
.
.
สาเหตุกระตุ้นให้โกรธก่อนเป็นโรคหัวใจมากที่สุดได้แก่
.
(1). เรื่องวุ่นๆ ในครอบครัว
.
(2). ความขัดแย้งในที่ทำงาน
.
(3). การเดินทาง เช่น ไปกลับที่ทำงาน รถติด ฯลฯ
.
.
ความโกรธ (anger) เป็นการตอบสนองแบบต้องเลือกว่า จะ "ต่อสู้ (เผชิญหน้า) หรือหนี (fight-or-flight-response)
.
ร่างกายจะมีการหลั่งสารตอบสนองความโหด หรือความโกรธ หรือกลุ่ม "ฮอร์โมนกระตุ้น" หลายอย่าง (อีพิเนฟรีน, นอร์อีพิเนฟรีน ฯลฯ
.
ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นแรง-เร็วมากขึ้น หลอดเลือดแดงหดตัว เกล็ดเลือดแข็งตัวง่ายขึ้น
.
การศึกษานี้พบว่า คนไข้ที่ได้รับยาต้านเบต้า (beta blockers) เช่น เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่ก่อน ฯลฯ มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากความโกรธน้อยลง
.
.
มีความเป็นไปได้ว่า ยาต้านเบต้าคงจะช่วยไม่ให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนประเภทกระตุ้นมากเกินไป
.
การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ มีส่วนช่วยลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนประเภทกระตุ้นเช่นกัน
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่ฟิตมักจะมีหลอดเลือดที่ยืดหยุ่นได้ดีกว่า แข็งกระด้างน้อยกว่า หัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดมีกำลังสำรองมากกว่า นอนหลับได้ลึกกว่า
.
การฝึกลดโกรธทำได้ยากมาก ทว่า... ถ้าเราฝึกดีๆ อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบาลง คือ
.
(1). ฝึกกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ" ให้บ่อยขึ้น
.
เริ่มกล่าวกับคนใกล้ตัวเราวันละครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็นวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
.
ขั้นต่อไป ให้กล่าวคำนี้กับคนอื่นที่ทำอะไรดีๆ ให้เรา แม้แต่เรื่องเล็กที่สุดก็ควรแสดงความชื่นชม ซึ่งคนที่ได้ยินเสียงไพเราะจากคำๆ นี้ก่อนใคร คือ ตัวเราเอง
.
คนที่กล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ" บ่อยมักจะเป็นคนที่มีสติปัญญาสูง เป็นผู้มากไปด้วยความกตัญญู และอ่อนน้อมถ่อมตน
.
(2). ฝึกกล่าวคำ "ขอโทษ" ให้บ่อยขึ้น
.
คำ "ขอโทษ-ขออภัย" เป็นคำที่ช่วยลดภัยเวร ทำให้เราอ่อนโยนต่อการแสดงออกมากขึ้น และน้อมไปที่จะไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายคนอื่น
.
กล่าวกันว่า คนที่กล้ากล่าวคำ "ขอโทษ" แม้ในเรื่องที่ไม่ได้ทำผิดเป็นผู้รักษาใจคนอื่นก่อน และรักษาใจตนเองทีหลัง เพราะคำๆ นี้เป็นคำที่เป็นปัจจัยให้เกิดเมตตา (ปรารถนาให้เกิดสุข), หรือกรุณา (ปรารถนาบรรเทาทุกข์ให้เบาบางลง)
.
(3). ฝึกพายเรือนอกอ่าง
.
กล่าวกันว่า อารมณ์ที่รุนแรงมีลักษณะคล้ายการ "พายเรือในอ่าง" คือ มีการคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ ซากๆ หมกมุ่น ทำให้อารมณ์แรงขึ้นเป็นเกลียวหมุน จากอ่างเป็นพายุ
.
เพียงรีบสับเปลี่ยนอารมณ์ หันไปสนใจเรื่องอื่นคั่นทันที จะลดความโกรธได้มาก
.
วิธีที่ดีมาก คือ ให้ฝึกเดินเร็ว โดยนับก้าวต่อนาที เพิ่มจาก 50 > 55 > 60 > 65 > 70 > 75 > 80 > 85 > 90 > 95 > 100 ก้าว/นาที แบบไม่หักโหม
.
การฝึุกเดินเร็ว จะช่วยให้ระบบหัวใจ-หลอดเลือดดีขึ้นได้เร็ว
.
และเมื่อโกรธก็รีบปลีกตัวออกไป... เดินเร็วบ้างช้าบ้างสลับกัน จะช่วยลดความโกรธได้มาก
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters Source > http://www.reuters.com/article/2013/05/14/us-anger-heart-attack-idUSBRE94D0ZJ20130514 > The American Journal of Cardiology, online May 2, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 15 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 535974เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตกใจกับรูปของหนูน้อยในภาพแรกมากๆ เลยครับ  555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท