ยุบ.รร.ใหญ่มารวมกับรร.เล็กดีไหม


ยุบ.รร.ใหญ่มารวมกับรร.เล็กดีไหม

แทนที่จะยุบรร. เล็กกว่า ๖๐ คน ไปรวมกับรร.ใหญ่ ผมเสนอว่าให้ยุบ รร.ใหญ่ เกิน ๖๐๐ คนไปรวมกับรร. เล็กจะดีกว่าไหม 

แนวคิดยุบรร.เล็ก นี้ น่าเชื่อได้ว่าเป็นผลพวงของระบบ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”  ตามหลักการตื้นๆ ของเศรษฐศาสตร์ระดับขนาด (economy of scale) กล่าวคือ การผลิตสินค้าปริมาณมากๆ  จะมีต้นทุนต่อหัวต่ำกว่าการผลิตระดับเล็กๆ 

สมองระดับทักษิณก็คิดได้เพียงแค่นี้แหละ ทั้งที่นี่มันเพียงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน econ 201 แท้ๆ คิดแต่จะลดค่าใช้จ่าย  (ฮั่นแน่ะ..แล้วเงินที่ประหยัดได้จะเอาไปทำอะไร..รู้ทันนะ  ใช้หนี้เงินกู้สองจุดสองล้านๆไง)

ทักษิณคิดไม่ออกหรอกว่า  การศึกษาที่มีคุณภาพนั้น  ยิ่งเล็กยิ่งดี  เพราะครูสามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง ในประเทศนิวซีแลนด์ ที่ได้รับการจัดอันดับจาก UN ว่ามีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก จำนวนนักเรียนเฉลี่ยต่อห้องประมาณ ๑๕ คนเท่านั้น

ในสรอ. มีรร. เอกชนขนาดจิ๋ว นร. น้อยกว่า ๒๐ คนกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นรร.วัด มีครู ๔-๕ คน และราคาถูกมากถึงฟรี ถึงกับมีเงินช่วยเหลือก็มี  แต่นักเรียนต้องช่วยทำงาน และอยู่ประจำ  ซึ่งเป็นแนวคิดรร.ที่ดีมากๆ กล่าวคือ นร. ได้ทำงาน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเรียนรู้และยังเป็นการสร้างสมพฤติกรรมที่ดีให้เกิดขึ้น

รร.เล็กที่กระจายอยู่ในหมู่บ้านยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เช่น เป็นจุดยึดเหนี่ยวประชาชน (เหมือนกับวัดนั่นเอง)  ครูก็ใกล้ชิดปชช. เหมือนครอบครัวเดียวกัน เป็นที่ปรึกษาของผู้ใหญ่บ้าน ยังสามารถใช้รร. เป็นห้องประชุม สนามรร.ทำกิจกรรมชุมชนได้ 

ส่วนนร. ก็ไม่ต้องเดินทางไกลไปรร.ใหญ่ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม (พ่อแม่ก็ยากจนอยู่แล้วด้วย)  และยังอาจทำให้เสียนิสัยได้ง่าย เช่นโดดเรียน หรือเถลไถลตอนเย็น กลับบ้านดึกเป็นต้น

จะเห็นได้ว่า รร. เล็ก มี  “รายได้” ที่ไม่เป็นตัวเงินซ่อนอยู่ในหลากหลายมิติ  ซึ่งรับรองว่าทักษิณคิดไม่ถึงหรอก

วิธีแก้ปัญหารร. เล็กโดยไม่ต้องยุบทิ้งคือปรับปรุงโครงสร้าง ลดค่าใช้จ่าย

เช่น ไม่ต้องมีผอ. รองผอ. ให้เปลืองอัตรา แต่ให้ใช้ระบบครูใหญ่  โดยครูใหญ่ก็ต้องสอนด้วยเต็มเวลา เพียงแต่ให้มีเงินเพิ่มเล็กน้อยเป็นค่าบริหาร (เช่นเดือนละ ๒๐๐๐ บาท)  ภารโรงก็ไม่ต้องมี ให้นร. ผลัดกันเป็นเวรโรง  อาหารกลางวันใช้ระบบเหมาคนในท้องถิ่นให้ทำเอามาส่ง ไม่ต้องมีโรงอาหารเอง  เป็นการกระจายรายได้ให้ท้องถิ่นไปในตัว

สำหรับครูนั้นก็สามารถลดจำนวนได้แต่ต้องสรรหาครูเก่งสักหน่อย หรือ เอามาปรับเข้าคอร์สอบรม  เช่น ครูฟิสิกส์ กับ คณิต เป็นคนเดียวกัน  ครูชีวกับเคมีกับสุขศึกษา เป็นคนเดียวกัน ครูสังคมกับพลศึกษาคนเดียวกัน ครูภาษาไทยกับอังกฤษคนเดียวกัน  แบบนี้เราต้องการครูแค่ ๔ คน ไม่ต้องมีผอ.  ก็สามารถสร้างคุณภาพได้

อย่าลืมด้วยว่าขณะนี้อินเตอร์เน็ท ช่วยลดภาระงานครูได้ และ ยังเพิ่มอัตราการเรียนรู้ของเด็กได้ด้วย ถ้ารู้จักใช้ให้ดี

อีกทางคือเอา รร. ไปยุบรวมกับวัดในท้องถิ่น ให้กลายเป็นรร.วัดไปเลย  แล้วหา “พระครู” มาสอนโดยประสานกับทางมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งให้สร้างหลักสูตรครู รร.เล็กขึ้นมา เพื่อเอาพระที่จบ.ป.ตรีมาประจำที่วัด และเป็นครูสอนของรร. ด้วย แบบนี้จะเป็นการฟื้นฟูวัดให้ทันสมัยด้วย เพราะมีพระป.ตรีมาเป็นพระลูกวัดของหลวงตาแก่ๆ ที่ไม่ทันสมัย

พระเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ลูกหลานคนจนมาจากหมู่บ้านเล็กๆ ทั้งนั้นแหละ การได้กลับมาอยู่วัดเล็กๆ มาสอนรร.เล็กๆ แบบนี้ก็ยิ่งดี เป็นการคืนสู่เหย้ากลับไปเฝ้าและพัฒนาท้องถิ่นดินเกิด

หนทางอื่นๆ ที่จะลดค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มคุณภาพยังมีอีกมากหากมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาโดยไม่เอาแนวคิดทักษิณระดับ econ 201 เป็นตัวตั้ง

เป็นไงล่ะพี่น้องเสื้อแดง  แบบนี้ รร. เล็กๆ ตามหมู่บ้านแดงก็โดนกันถ้วนหน้าเลยนิ พิษทักฺษิณที่เคยหลงรักเริ่มออกอาการให้เห็นทีละน้อย  อีกหน่อยอาจถึงคิวยุบหมู่บ้านกันมั่งแหละหนอ

...คนถางทาง (๑๐ พค. ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 535587เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 03:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เห็นควรนำเสนอในที่ประชุมรัฐมนตรี

มีโหวตบันทึกในดวงใจไหม

บันทึกนี้เลยครับ อาจารย์ ;)...

แล้วอย่างโรงเรียนที่เล็กมากๆ อย่างเมื่อเช้า ผมดูข่าว ที่โครชบ้านเอ็ง นี่แหละครับ มีเด็กนักเรียน 3 คน มีครู 1คน มันก็น่าให้ยุบรวมกับ รร.อยู๋ใกล้ แต่ต้องขึ้นกับ ปชช.เจ้าของพื้นที่นะครับ และเมื่อยุบแล้ว ยังไงก็ต้องให้เด็กใด้เรียนต่อ อย่างนี้ พอรับใด้ไหมครับอาจารย์

สองความเห็น  แม้จากคนเล็กๆ ห่างไกลแสงสี ลีลา   แต่ได้ใจ  เกิดกำลังภายใน ให้สู้ๆ ต่อไป  

และขอขอบใจ  ....หยดน้ำเล็กๆ   อย่างพวกเรา  

ถ้าหลอมรวมกันไว้ ย่อมมีน้ำหนักพอ

ไหลไปล้าง  หัวใจ พวกห่า  บ้าเซ่อ   ได้สักวัน  

รับได้ครับลุงเคน  แต่ก็ต้องดูบริบทด้วย  เช่นถ้ารร.ห่างไป 10 โลเด็กต้องเดินลัดป่า  แบบนี้ก็ไม่ไหว  ก็ต้องยอมลงทุน  หรือให้เรียนผ่านระบบทางไกลไปเลย  ใน usa  วันนี้ยังมีเรียนระบบทางไกลเลยครับ  เพราะเด็กอยู่กลางป่า 

บางทีก็ไม่เข้าใจกับนโยบายต่าง ๆ นา ๆ ที่ออกมาไม่รู้ว่าได้มีการทำสำรวจกันก่อนแล้วหรือยัง ผู้มีส่วนได้เสียรับรู้แล้วหรือไม่  สำหรับตัวเองก็เคยเดินทางไปเรียนไกลนะ  เดินด้วยเท้าไม่มีรถรับส่งก็ไม่รู้สึกอะไร แต่กระแสทุนนิยมสมัยนี้ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นหน้าที่ถูกมองว่าด้อยโอกาสทางสังคมมั่งหละ  ไม่รู้สิ ความรู้สึกตัวเองคือ ไม่เห็นความจำเป็นต้องยุบ เอาเงินที่จะทำนโยบายนี้ไปสร้างหลักสูตรดีๆ มีครูที่ีมีศักยภาพและศีลธรรมเยอะ ๆ มีเวลาให้เด็ก จะดีกว่าม้าาาาางงง

ไอเดียร์สุดยอดค่ะอาจารย์ ลองดูท่าจะดี

คนอิสานบางกลุ่ม คงเริ่มได้คิดแล้วหละค่ะว่า.. ชื่นชมสนุบสนุนคนผิด สุดท้ายคนที่จะเดือนร้อนก็คือพวกเค้าเอง

แดงมาอ่านคงสำนึกได้เยอะ

แล้วหันมาสนับสนุน คนถางทาง

ให้เป็นรมต.แทน จะดีกว่า

พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

มิใช่น้อย

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

โดนใจมากมาย การศึกษาต้องเน้นที่คุณภาพ ใช่ปริมาณ 

เชียร์ๆ และขอบพระคุณค่ะ 

ถูกใจค่ะ   โรงเรียนที่มีเด็กมากๆ  ห้องละ 40-50 คน  เด็กที่อ่อนแอทั้งร่างกายและสติปัญญา  โดนทิ้ง  น่าสงสารจริงๆ  ห้องเรียน  15-20 คน  เหมาะสมที่สุด 

เป็นความคิดที่ไม่เลวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท