อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

แจ้งเตือนโรครากเน่าและโคนเน่าในยางพาราที่บึงกาฬ


กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อำเภอศรีวิไล
พบอาการเน่าบริเวณลำต้น และโคนต้น ของต้นยางพารา โดยที่ตั้งของแปลงอยู่ที่ตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา   จังหวัดบึงกาฬ  จึงได้เข้าตรวจแปลง นำโดยท่านเกษตรจังหวัดบึงกาฬ
นายทรงพันธุ์  จันทร์สว่าง  พร้อมด้วย หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นายสัมรวย
มีจินดา เกษตรอำเภอศรีวิไล นายศุภชัย ประยูรคำ
และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจำสำนักงานเกษตรอำเภอศรีวิไล  โดยพบต้นยางพาราเป็นโรครากเน่าและโคนเน่า
ซึ่งพบในสวนยางอายุ ๔ ปี พื้นที่จำนวน ๑ไร่ และได้ยืนต้นตายแล้วจำนวน ๒๐ ต้น 
เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบข้อมูลของโรค และเตรียมการป้องกันกำจัดให้ทันต่อสถานการณ์
กลุ่มอารักขาพืชจึงได้จัดทำเอกสารแจ้งเตือนไปยังชาวสวนยางพาราและผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเกิดโรคและการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างถูกวิธี


สาเหตุเกิดจาก

เชื้อรา Phytophthora palmivora (Butler)

ลักษณะอาการ

ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดและใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ
ให้สำรวจบริเวณลำต้น กิ่งหรือราก บริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือมีรอยแตกของแผล ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เชื้อราไฟท๊อปธอร่าสามารถแพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้น



การป้องกันและรักษา

๑.หมั่นสำรวจแปลงยางพารา โดยเฉพาะช่วงต้นฝน (เมษายน-มิถุนายน) สังเกตใบยางพารามีอาการใบค่อนข้างเหลืองซีดทั้งต้นใบล่างค่อยๆ ร่วง สังเกตโคนต้นพบมีปุ่มยางไหลเปลือกยางจะค่อยๆแห้งรอบโคนต้น           ยางพาราแสดงอาการตายยืนต้น

๒.พบอากรดังกล่าวใช้มีดปาด เฉือนเปลือกที่เป็นโรคทิ้ง

๓.ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าการฉีดพ่นเฉพาะจุดให้ฉีดพ่นภายในรัศมีรอบต้นยางที่แสดงอาการเป็นโรค
จำนวน ๓  ต้นยาง

๔.สารเคมี ใช้สารฟอสเอทิล อะลูมีเนียม หรือเมทาแลกซิล หรือ ฟอสฟอรัสแอซิค อัตราตามฉลากแนะนำฉีดพ่น





 

หมายเลขบันทึก: 535333เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท