539. ศึกษา "การศึกษา"


เนลสัน แมนเดลล่า มหาบุรุษร่วมสมัยของโลก ท่านเป็นคนที่ส่งเสริมการใช้อหิงสา หรือการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นคนที่เป็นผู้ที่ทำให้อาฟริการใต้ยกเลิกกฎหมายเหยียดสีผิว ท่านเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของอาฟริกา ท่านได้ได้พูดไว้ว่า “การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการเปลี่ยนแปลงโลก”

<img src="http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/905/837/default_ed1.png?1367906245" "="">

วันนี้เลยอยากพูดถึงการศึกษาในอีกมุมมอง ...ไม่กี่วันมานี้มีโอกาสอ่านหนังสือประวัติศาสตร์โลก ฉบับรวมเล่ม ที่อ่านแล้วสนุก น่าติดตาม เริ่มอ่านที่ประวัติศาสตร์จีนโบราณก่อน ไปอ่านเจอว่าในยุคก่อนสามก๊ก มีจักรพรรดิจีนองค์หนึ่งที่เป็นผู้สร้างความเจริญให้จีนโบราณอย่างโดดเด่น มีประวัติว่าพระราชบิดา คือจักรพรรดิองค์ก่อน ส่งท่านให้ไปใช้ชีวิตอยู่กับสามัญชนในวัยเด็กอยู่หลายปี อยู่บ้านชาวบ้านธรรมดาๆ พอท่านขึ้นครองราชย์เลยเห็นทุกข์ยากของประชาชน จนนำไปสู่การปฏิรูปหลายๆ อย่างสร้างยุคสมัยที่รุ่งเรื่องยุคหนึ่งให้จีน

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงเรื่องที่เคยได้ยินมาคือ อัศวินยุคกลางที่เก่งๆ หลายคนนั้นมีพื้นฐานเดิมคือ อัศวินผู้พ่อส่งท่านไปอยู่กับอัศวินที่เป็นเพื่อนกัน ให้ไปรับใช้ตั้งแต่คอยถือรองเท้า ดูแลรองเท้าอัศวินมาก่อน ดูแลม้าอัศวิน ต่อมาจึงพัฒนาตนเองกลายเป็นอัศวินที่เก่ง ด้วยเข้าใจความทุกข์ยากของทหาร แถมได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่เก่งๆ ในสนามจริง ที่มีอยู่รอบตัว


เห็นจุดร่วมกันอะไรบางอย่างไหมครับ

จากจักรพรรดิจีน มาอัศวินตะวันตก คราวนี้มาสมัยเราบ้าง

ไม่นานมานี้องค์กรนาซ่า ต้องประหลาดใจ ระคนกลุ้มในเนื่องจากประสบปัญหาด้านบุคลากร คือขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ที่เคยพาคนไปลงดวงจันทร์ได้ ต่างทะยอยกันเกษียณไปจนเกือบหมด นาซ่าเองก็ทยอยรับคนเข้ามา แน่นอน คนรุ่นใหม่ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยดัง เช่นเดียวกับคนรุ่นก่อน แต่ที่แปลกออกไปคือถ้าเป็นรุ่นที่พาคนไปดวงจันทร์นั้น ถ้าเกิดปัญหาอะไร ขาดอะไร เขาจะพยายามดิ้นรนดัดแปลง แก้ปัญหาไปจนได้ แต่คนรุ่นใหม่ กลับมีพฤติกรรมตรงข้ามประมาณว่าขาดอะไรหน่อย ก็โวยไม่ทำต่อแล้ว จะบอกเสมอว่าไม่สามารถทำได้เพราะขาดอุปกรณ์ ขาดโน่นนี่นั่น ซึ่งประหลาดมากๆ นาซ่าเลยลองศึกษาปรากฏการณ์นี้ดู เอานักจิตวิทยามาสัมภาษณ์ ที่สุดก็เจอครับ


ความต่างระหว่างเด็กรุ่นใหม่ กับรุ่นที่ไปดวงจันทร์คือ คนรุ่นไปดวงจันทร์เด็กๆ นี่จะเป็นพวกลุยครับ เล่นมากๆ สมัยนั้นเด็กๆ เล่นลุยเลอะโคลนกัน เรียกว่าเล่นกันสุดเหวี่ยง แต่เด็กรุ่นใหม่ที่เก่งๆ โตมาจากสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างดีครับ เรียนพิเศษกันมากๆ เลยชินกับอะไรที่มีการเตรียมการมาอย่างดี แต่รุ่นไปดวงจันทร์ไม่ใช่ พวกเขาต้องดัดแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อสนุก ของเขาเอง จึงเป็นทักษะสำคัญที่ทำให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถทำงานภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดได้ดีกว่า สร้างสรรค์กว่า

ผมว่าเรื่องสามเรื่องนี้มีความสอดคล้องกันโดยบังเอิญ จุดร่วมของจักรพรรดิจีน อัศวินและนักบินอวกาศเก่งๆ คือตอนเด็กๆได้ไปลุย เล่นในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติครับ และได้ใช้ชีวิตในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีการดัดแปลงให้สบายเกินไปนัก จนไม่ต้องคิด ไม่ต้องดิ้นรนอะไรเลย

ผมว่าคนทั้งหมดที่ผมกล่าวมาเป็นคนที่เคยเปลี่ยนโลกมา อย่างคนสามกลุ่มข้างต้นนั้น เราน่าศึกษา น่าติดตามครับ ผมยังคิดว่า KPI ด้านการศึกษาตัวหนึ่งที่น่าจะมีคือ “จำนวนกระดุมขาดต่อสัปดาห์ของเด็ก” หรือถ้าผู้หญิงก็ “จำนวนวันที่เด็กถุงเท้าขาด” ยิ่งมากยิ่งดีครับ อีกตัวหนึ่งคือ “สัดส่วนของอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่เด็กร่วมกันสร้างขึ้นเอง ขึ้นมา เทียบกับที่โรงเรียนซื้อมา”

ตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะมี เช่นจำนวนชั่วโมงที่เด็กไปเป็นอาสาสมัคร จะโรงพยาบาล หรือที่ไหนก็ได้ หรือไม่ก็ไปทำงานจริงๆ เลยเป็นเด็กปั๊มก็ได้ ปลูกป่าก็ได้ ผมว่าต้องมากพอ อาจมีนับร้อยชั่วโมงต่อปี การเข้ามหาวิทยาลัยอาจต้องดูเรื่องนี้ประกอบ

ผมว่าเส้นทางเดินของคนสามกลุ่มน่าคิด น่าศึกษา ถอดแบบมาขยายผลครับ ถ้าเราทำได้ เราน่าจะสร้างนักคิด นักประดิษฐ์ และรัฐบุรุษได้อีกมากในอนาคต เราอาจมีเนลสัน แมนเดลล่า ที่เป็นคนไทยขึ้นจริงๆ

เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Cr ภาพ:

รูปแรกจาก

http://socialsavvymom.com/2012/07/03/celebrating-nelson-mandela/

รูปที่สองจาก

http://www.xyface.com/movie-kingdom-of-heaven/photo-kingdom-of-heaven-74371

รูปที่สามจาก

http://120pearls.wordpress.com/2013/01/20/space-film-theres-12-cameras-on-the-moon-right-now/


ส่วนเรื่องราวของการศึกษาของนาซ่า ดูที่หนังสือ "เล่นให้เป็นอัจริยะ" ของคุณหนูดี ครับ






หมายเลขบันทึก: 534996เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2017 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เพิ่วเห็นบทความอาจารย์โยค่ะ  เป็นบทความดีๆต่ะ  ....

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ 

สบายดีนะครับ ^___^


มุมที่อาจารย์เขียน ไม่ค่อยมีคนเขียนเท่าไหร่เลยนะครับ

ความคิด มุมมองของอาจารย์ น่าสนใจมาก

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับคุณแสงแห่งความดีที่แวะมาเยือน

อ่านแล้วมันเกิดความเชื่อมโยงครับ เลยลองหาจุดร่วมดู รู้สึกทึ่งดีเลยรีบเขียนเก็บไว้

อาจารย์เขียนสั้นๆ เข้าใจง่าย

ชอบครับ อ่านแล้วทำให้ผมมีความรู้ขึ้นเยอะครับ

เรียนคุณพ.แจ่มจรัส

ขอบคุณที่แวะมาครับ พอดีก็ลองเชื่อมโยงกันไปเชื่อมโยงกันมา แล้วมันเจอจุดร่วมครับ 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท