มานุษยวิทยามาร์กซิสต์ ตอนที่ 5 อุดมการณ์ จิตสำนึกผิดพลาด และจิตสำนึึกทางชนชั้น


อุดมการณ์ กับ จิตสำนึกที่ผิดพลาด และ จิตสำนึกทางชนชั้น

มาร์กซ์และเองเกลส์ได้ให้ความหมาย ของอุดมการณ์ไว้ว่า

เป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดหรือจิตสำนึกที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ โดยเฉพาะชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบหรือถูกปกครอง กระทำผ่านการบิดบังมิให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เป็นจริงระหว่างชนชั้น โดยแสดงว่าสิ่งที่แรงงานหรือกรรมกรผลิตนั้นเป็นเพียงแต่การผลิตสินค้าหรืออาหารเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ภาวะหลงใหลของทุนและความแปลกแยกเป็นต้น

  จิตสำนึกทางชนชั้น หมายถึงความคิดที่กรรมกรหรือเหล่าแรงงานตระหนักในพลังทางการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เป็นจริง จากการเข้าร่วม การพูดคุย และการวิเคราะห์ ฯลฯ และรู้ว่าตนเองถูกฝ่ายนายทุนเอารัดเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา  สุดท้ายก็เข้ามาร่วมกัน เกิดเป็นความสามัคคี และได้โค่นล้มสังคมทุนนิยมไปโดยการปฏิวัติ

  โดยสรุปอุดมการณ์ จิตสำนึกปลอมปน และจิตสำนึกทางชนชั้นเป็นสิ่งที่อยู่โครงสร้างส่วนบน ความสำคัญของโครงสร้างส่วนบนขึ้นอยู่กับว่าแรงงานสามารถวิเคราะห์วิถีการผลิตซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนล่างได้หรือไม่ ถ้าได้ การปฏิวัติย่อมเกิดขึ้น

หนังสืออ้างอิง

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). ทฤษฎีสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.คาร์ล มาร์กซ์. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5_%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C  เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

Wikipedia, the free encyclopedia. False Consciousness. http://en.wikipedia.org/wiki/False_consciousness  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

Wikipedia, the free encyclopedia. Class Consciousness. http://en.wikipedia.org/wiki/Class_consciousness  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. Ideology. http://faculty.washington.edu/mlg/courses/definitions/Ideology.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556


หมายเลขบันทึก: 534896เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท