โลกทุกวันนี้เป็นโลกของดาต้า


ตอนนี้ แม้แต่รถยนต์มันคือคอมพิวเตอร์ที่เราใช้เป็นพาหนะ ดูได้จากว่า รถคันไหนมีปัญหา ก็ต้องไปอัพเดท firmware ในกล่องควบคุมที่เขาเรียกว่า ECU แม้แต่คันเร่งไฟฟ้า มันก็คือ mouse ที่เราใช้เหยียบเร่งน้ำมัน (เมื่อมันติดขัด ก็เลยทำให้เกิดปัญหาคันเร่งติดจนต่างประเทศต้องเรียกคืนเข้าไปเช็คหรือซ่อม)

ส่วนมือถือก็คือ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทำหน้าที่โทรศัพท์ได้ด้วย มือถือของเราตอนนี้ มีพลังประมวลผลมากกว่ายานอวกาศที่ไปลงดวงจันทร์เสียอีก

และไปอ่านเจอข่าววันนี้ว่า

รองประธานบริษัท ไอบีเอ็ม กล่าวว่า  ตอนนี้ทั่วโลกมีอุปกรณ์ (คอมพิวเตอร์ มือถือแบบฉลาด ฯลฯ) อยู่เกือบ ๑ หมื่นล้านตัว และแต่ละวัน มีข้อมูลผลิตออกมา (คงหมายถึงสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน) 2.5 quntillion bytes (2.5 x 10^18 ตามนัยแบบอเมริกัน) และบริษัท ถือหลักว่า "(อุปกรณ์)พกพา ย่อมมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง"

ส่วน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ของบริษัทฟอร์ด มอร์เตอร์ กล่าวว่า ตอนนี้ ฟอร์ดเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ไม่ได้ถือว่าเป็นแค่ผู้ผลิตรถยนต์ เพราะในรถรุ่นใหม่ๆ เช่น ฟอร์ดฟิวชั่น มีรหัสโปรแกรม ๑๖ ล้านบรรทัด และรถแต่ละคัน มักมีไมโครโปรเซสเซอร์ประมาณ ๗๐ ตัว ซึ่งต่อกับ เซ็นเซอร์และตัวทำงาน (actuators) ต่างๆ เป็นร้อยๆ 


หมายเลขบันทึก: 534431เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ท่านอาจารย์ ดร. บุรชัย  คะ  

เพราะเหตุที่เทคโนโลยี่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วกินความจำเป็น จะเกิดยะมากขึ้นเป็นทวีคูณไหมคะ ?  ขอบคุณค่ะ

ขยะมันมีมากตามกิจกรรมของคนครับ

ปัญหาที่เกิดเป็นเพราะอุตสาหกรรม อย่าง ของพื้นๆ ก็เช่นพวก พลาสติกห่อหุ้ม โฟมต่างๆ แม้แต่กับข้าวทุกวันนี้ก็ต้องใส่ถุงพลาสติก สมัยผมยังเด็กๆ คนไทยเราจะใส่ปิ่นโต หรือ ก๋วยเตี๋ยวก็ห่อใบตองและห่อหนังสือพิมพ์มัดเชือกกล้วย ไม่ได้ใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม สมัยผมยังเด็กนั้น ถนนในกรุงเทพไม่มีเศษถุงพลาสติกปลิวว่อนเลยนะครับ ตอนนี้แม้แต่เข้าไปในป่าลึก ไปเดินป่าตามทางเดินยังเจอเศษพลาสติคห่อขนมเลยครับ น่ารำคาญมาก

พอมีอุตสาหกรรมไฮเทค ก็ยิ่งยุ่งมากขึ้น มีสารพิษต่างๆ โลหะแปลกๆ โลหะที่หายาก โลหะหนัก มาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

ขยะจากอุตสาหกรรมพวกนี้ถ้าเอามารีไซเคิล ก็จะปัญหาน้อย แต่บ้านเราไม่มีคนลงไปสั่งให้กำหนดมาตราการ ไม่ยอมบังคับให้แยกขยะตั้งแต่ในบ้าน ปล่อยไปเป็นหน้าที่ของซาเล้ง และคนยากจนไปคุ้ยขยะหาตามถัง (หน้าปากซอยผมนี่เละทุกคืน เพราะมีคนมาคุ้ย) ผมว่าปัญหาใหญ่พวกนี้ ต้องเป็นนโยบายของรัฐบังคับแยกขยะ (อย่างสมัยก่อน ในอเมริกา รัฐต่างๆ จะออกกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตรับรีไซเคิลกระป๋องอลูมีเนียม เขาจะบังคับว่า มีค่ากระป๋อง ๕ เซ็นต์รวมอยู่ด้วย ผู้บริโภคเก็บรวบรวมเอาไปขายคืนได้ ตอนนี้ไม่รู้ว่ายังบังคับอยู่หรือเปล่า)

ปัญหามือถือสารพัดยี่ห้อ มีชาร์จเจอร์สารพัดแบบ ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก รวมทั้งรีโมทต่างๆ ทาง EU ก็พยายามบังคับว่าให้มีมาตราฐานเดียวกัน จะได้ลดปริมาณพวกนี้ไป

ผมเชื่อว่า ทุกอย่างจัดการได้ แต่ว่างานมันละเอียด ทุกคนต้องลงไปดูรายละเอียด แต่ถ้าปล่อยไป ขยะมันก็จะสะสม เป็นของเสีย ที่ไม่มีใครอยากเข้าไปรับภาระ ความจริงมันเป็นภาระของทุกคนในสังคม

สวัสดีจ้ะท่านดร. เพราะความเจริญทางด้านเทคโน ฯ  รวดเร็วเกินกว่าที่ชาวบ้านแบบเรา ๆ ท่าน ๆ จะ

ตามทัน  จึงทำให้ปัญหามากมายตามมาบางปัญหาก็ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้  บางปัญหาก็สามารถ

แก้ไขได้แต่ก็ไม่มีใครสนใจจะแก้ไข   หลาย ๆ ปัญหา หันไปหันมาไม่รู้จะโทษใครก็โทษ...การ

ศึกษา....ช่างเถอะ  หากทุกคนโทษจิตสำนึกของตัวเองที่ไร้สำนึกที่ดี  แล้วรีบแก้ไขเสียทันที..ต่อให้

เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าสักเพียงใด มีปัญหามากเพียงไหน  ก็สามารถแก้ไขได้ทันกาลจ้ะ   ขอบคุณ

จ้ะ

ขอบคุณ คุณมะเดื่อ ครับ สำหรับความเห็นดีๆ ผมเห็นด้วย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท