ผมไม่ได้มีปัญหาที่ขา (ขาด)


การให้เวลา การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และความเมตตา ที่ตั้งใจมอบให้แก่กันด้วยใจจริง จะช่วยให้เกิดความไว้วางใจ จนเขาอยากปรึกษาหารือกับเรา

  งานเยี่ยมบ้าน เป็นภารกิจแห่งจิตวิญญาณของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายๆคน และผู้มีจิตสงเคราะห์ทั้งหลาย ก็คงชื่นชอบงานเยี่ยมบ้านเช่นกัน  เพราะที่บ้านของผู้ที่เราไปเยี่ยมนั้น อบอวลไปด้วยมิตรภาพ และความยินดีปรีดาของกันและกัน เราอาจจะคิดว่าไปเยี่ยมในรายที่มีความทุกข์มากๆก่อนเป็นอันดับต้นๆ แต่บางครั้งเราก็พบเจอเหตุการณ์ ที่คาดไม่ถึงเหมือนกัน อาจเดาผิดด้วยซ้ำว่าเขากำลังทุกข์ร้อนเรื่องอะไร

   เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ไปเยี่ยมคนพิการขาขาด เราก็ให้ความสนใจการขาดอวัยวะสำคัญส่วนนั้น  ซึ่งจะสร้างทุกข์ให้เขามากน้อยเพียงใด ที่จริงแค่เห็นความไม่ครบของเขา เราก็รู้สึกสงสารเป็นอย่างมากแล้ว ดังคนไข้รายนี้ที่วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปเยี่ยมเขามา

    น้าถวิล  ทิมรอด เป็น อสม.ที่พาผู้เขียนไปเยี่ยม บัญจบ  ซื่อตรง ที่เมื่อ7 ปีที่แล้ว เขาเคยทำงานเป็นคนสวนให้ที่สถานีอนามัยของผู้เขียนเอง แต่ต่อมาเกิดอุบัติเหตุรถมอร์เตอร์ไวด์ชนกับรถยนต์ ทำให้ต้องเสียขาข้างขวาไป จากนั้นผู้เขียนก็ย้ายไปปฏิบัติราชการอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไกลกันมาก จากไป 5 ปี ก่อนจะได้กลับมาที่นี่อีกตรั้ง แล้วได้มาเยี่ยมบัญจบที่บ้าน


  น้าถวิล ร้องบอกว่ามีคนมาเยี่ยม บัญจบก็เอามือป้องหู แล้วบอกว่า ขอฟังเสียงหน่อย ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนยืนอยู่ไกลพอสมควร คิดว่าเขาคงจำไม่ได้ จึงถามว่าบัญจบ เป็นอย่างไรบ้าง พอได้ยินแค่เสียง บัญจบก็ร้องอย่่างดีใจ เรียกชื่อผู้เขียนถูกต้องทันที แล้วก็แสดงความดีใจยกใหญ่

  บัญจบเล่าชีวิตประจำวันว่า ส่วนใหญ่นอนฟังวิทยุ รายการธรรมะตั้งแต่เช้ามืด บางครั้งก็ทำสมาธิด้วย การช่วยเหลือตนเองนั้นทำได้พอสมควร เอาแค่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณบ้าน ทั้งในอและนอก อย่างนี้สบายมาก ว่าแล้วบัญจบก็คว้าขาปลอมใกล้ๆที่นั่งอยู่มาสวมอย่างชำนาญ


  ต้องขอบอกว่าขาเทียมของบัญจบนั้น เหมือนยางรถที่เริ่มสึกกร่อน มีความเห็นว่าสมควรต้องขอขาใหม่เสียแล้ว  ผู้เขียนนึกไปถึงแหล่งที่จะต้องไปขอขาเทียมมาให้ เพื่อส่งเสริมให้เขาได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น บางครั้งการให้อวัยวะเทียมแก่คนพิการนั้น ต้องคอยดูเหมือนกันว่ามีความชำรุดหรือยัง และต้องดำเนินการช่วยเหลือจัดหาให้คนพิการเหล่านี้ด้วย บางคนได้รับครั้งเดียว ตลอดชีวิตก็มี แถมยังรู้สึกดีอีกด้วย ว่ามีอวัยวะเทียมใช้แล้ว แค่ครั้งเดียวก็ปลื้มใจ

    ขณะที่ผู้เขียนกับน้าถวิลคุยหารือกันอยู่นั้น บัญจบนั่งฟังเงียบๆสักพัก ก็บอกพวกเราอย่างเกรงใจว่า ขาเทียมของผมยังใช้ได้อยู่ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมาก เพราะไม่ค่อยได้ใช้หรอก ผมไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาขาดครับ

  อ้าว! แล้วอะไรล่ะที่บัญจบรู้สึกว่าเป็นปัญหา เขาบอกว่า หมอรู้ไหม ตาผมสองข้าง กำลังจะมองไม่เห็น เพราะเป็นต้อกระจก ว่าแล้วเขาก็ยกฝ่ามือขึ้นมามองดู แทบจะติดใบหน้า ผมเห็นได้ระยะแค่นี้เอง  หมอที่โรงพยาบาลเขาบอกให้หาเวลาไปนัดผ่าตัด แต่ไม่รู้จะไปอย่างไร

   มิน่า บัญจบมองไม่เห็นผู้เขียนเลย จึงขอให้พูดกับเขาก่อนในครั้งแรกที่พบกัน  แล้วจึงทักทายจำได้ บัญจบมีปัญหาใหญ่ที่ตาทั้งสองข้างนั่นเอง การสนทนาจึงเลื่อนจากเรื่องขา มาที่ดวงตาทั้งสองของบัญจบ สรุปว่า หมอให้ไปนัดเพื่อขอคิวในวันอังคารไหนก็ได้ น้าถวิล อสม.เพื่อนบ้านกัน ก็รับอาสาจะพาไปโรงพยาบาลเอง ผู้เขียนก็เลยสมทบค่ารถไปให้ คาดว่าบัญจบ คงได้มีโอกาสมองเห็นอะไรๆ ได้ชัดเจนอีกครั้งในเร็ววันนี้ 


  ได้เรียนรู้ว่าปัญหาต่างๆของคนอื่น ไม่ได้เป็นอย่างที่เราเห็นเท่านั้น เขาอาจมีปัญหาใหญ่ แต่ซ่อนเร้นเอาไว้อีกมากมาย การให้เวลา การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และความเมตตา ที่ตั้งใจมอบให้แก่กันด้วยใจจริง จะช่วยให้เกิดความไว้วางใจ จนเขาอยากปรึกษาหารือกับเรา

เป็นประสบการณ์ที่ต้องจดจำ กับการดูคนไข้แบบองค์รวม ที่ผู้เขียนยังต้องปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีกในอนาคตค่ะ

หมายเลขบันทึก: 533708เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

แวะมาอ่านด้วยความซาบซึ้งใจนะคะ

ซึ้งใจในการทำงานอันเสียสละของเจ้าหน้าที่ ... ไม่ใช่เรื่องเบาเลยในการที่ต้องไปรับฟังสิ่งที่เป็นปัญหาและก็ปัญหา รับฟังความทุกข์ เป้นงานที่ทำด้วยสละและมีเมตตา มีจิตสำนึกในการเป็นผู้ให้

ซึ่งใจในผู้ป่วย .. ปัญหาที่ทับซ้อนในแต่ละเรืองดูหนักหนาจริงๆ ค่ะ เค้าต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ค่ะ และก็เต็มใจรับความช่วยเหลือจากผู้ให้ ...........ขอส่งกำลังใจและบุญกุศลที่พอมีให้ท่านหายได้เร็วๆ นะคะ

ขอชื่นชมคุณหมอเป็นอย่างยิ่งครับ

เรื่องราวแห่งการเกื้อกูล อาทร 

และติดตามอ่านบันทึกของคุณหมออยู่เสมอครับ

สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ (เรื่องใหญ่)

สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจซุกซ่อนอยู่ในสิ่งเห็น

จริงแท้แน่นอน

ดีใจแทนคุณบรรจบคะ ที่มีโอกาสได้เจอคนที่เป็นแบบอย่าง อย่างพี่รุ่ง

บางทีเจ้าตัวไม่เคยมีปัญหานะครับ

แต่คนอื่นต่างหากที่มักจะไปคิดแทนเขา(ด้วยความปรารถนาดี)อยู่เสมอๆ

สวัสดีค่ะคุณBright Lily

  ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมบันทึกเสมอ

ไปแอบฟังเพลงเพราะมาแล้วมีกำลังใจค่ะ

การทำงานบางครั้งก็มีเรื่องให้ขำๆตัวเอง

เข้าใจว่าเขาทุกข์เรื่องนั้นเรื่องนี้ละมัง

แท้จริงกลับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่บางคนก้ไม่บอกเหมือนกันค่ะ เพียงแค่คิดว่าจะรบกวนเรา

งานเยี่ยมบ้านจึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะเลยค่ะ

จะพยายามให้เขาได้รับการดูแลจากปัญหาดวงตาค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพ.แจ่มจำรัส

 ขอบคุณค่ะ

การได้ไปเรียนรู้วิถีชาวบ้านโดยที่เราใช้คำว่าเยี่ยมบ้านนั้นลึกซึ้งนะคะ

เห็นว่าเป็นการได้รับประสบการณ์ตรงที่ไม่มีในตำรา

และได้เรียนรู้เพิ่มเติมเสมอ

คุณ พ.เองก็เป็นต้นแบบของการถ่ายทอดในฐานะคนไข้

บางครั้งทำให้ดิฉันต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงการบริการของตนเองเหมือนกัน

ขอบคุรนะคะ

สวัสดีค่ะคุณกระติก~natachoei ที่ ~natadee

 ไม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนานเลยสบสยดีนะคะ

จะพยายามดูแลคุณบัญจบให้ดีนะคะ

แล้วคงมีข่าวดีมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะคุณอักขณิช

 ตรงเป๊ะเลยค่ะ

เวลาออกเยี่ยมบ้านเราก็จะมีแผนอยู่ในใจ

ว่าคนที่จะไปเยี่ยมนี้ต้องดูแลอะไร อย่างไร

แต่ที่จริงคือสิ่งที่ได้ประสบ อาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจเลย

ดังนั้นจึงเห็นว่าการเยี่ยมก็คือการเยี่ยม

อย่าคิดเอาเองว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้

เป็นการเรียนรู้ที่ดีสำหรับตัวเองอีกเรื่องหนึ่งเลยค่ะ

ขอบคุณคุณเพชรน้ำหนึ่งนะคะ

ที่แวะไปเยี่ยมบ้านด้วยกันในบันทึกนี้

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ชื่นชมที่หมอรุ่งรับฟังความต้องการของเขาจริงๆ คะ
ทำให้ต้องเตือนตัวเองว่า
หวังดีได้ แต่อย่าคิดแทนเขา

..... บัญจบ มีความสุขที่ "ใจ" ใจเป็นนาย.... "กายเป็นบ่าว" จริงๆ นะคะ หมอรุ่งสลายดีนะคะ เยี่ยมบ้านแล้วนำเรื่องดีดีมาฝากอีกนะคะ ... ขอบคุณค่ะ

ความต้องการประการแรกที่ผู้ป่วยต้องการคือ ต้องการให้เราเป็นผู้ฟังที่ดีค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

นี่คือหัวใจของการบำบัดที่เป็นแบบอย่าง...ชื่นชมค่ะ...


มาให้กำลังใจคนตั้งใจทำงานด้วยความชื่นชมนะคะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ ป.

  เตือนตนเองเช่นกันค่ะ

ความทุกข์ที่แท้จริงคือคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของเขาเอง

การคิดแทนแม้หวังดีแต่ตรงเป้าหมายน้อยนะคะ

สวัสดีค่ะพี่Dr. Ple 

 สบายดีค่ะ

ช่วงนี้ตัองออกรณรงค์เพราะไข้เลือดออกระบาด

บางวันก็ตากฝนบ้างแต่สุขภาพยังโอเคค่ะ

 คุณบัญจบ เขามีจิตสงบพอสมควร

ฟังธรรมะได้ทุกวัน

พูดคุยเหมือนไม่มีความทุกข์ร้อนอะไร

ยกเว้นตาที่เกือยจะมองไม่เห็นแล้วค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจนะคะ

สวัสดีค่ะคุณtuknarak

 ดีใจที่คุณบัญจบ เล่าถึงปัญหาของตนเองให้ฟัง

คิดว่าเป็นเรื่องที่จะช่วยกันได้แน่นอน

ขอบคุณนะคะ ที่มาเยี่ยมคุณบัญจบด้วยกัน

สวัสดีค่ะคุณพี่นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

 ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

หนูว่าการได้ออกไปสัมผัสชีวิตหลากหลาย

เป็นความสุขที่ปราณีต

เป็นการฝึกตนเองโดยเฉพาะการเมตตากรุณานะคะ

จะเป็นนักเยี่ยมบ้านที่ดีค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ..ปริม ทัดบุปผา...

 ดีใจและมีกำลังใจมากๆค่ะคุณปริม

และหลายๆท่านเข้ามาอ่านบันทึก

ยิ่งให้ความสุขแก่เขา เราก็ยิ่งเป็นสุขนะคะ

ขอขอบพระคุณดอกไม้กำลังใจที่ทุกท่านส่งมาให้

เป็นแรงใจที่จะทำหน้าที่ให้ดียิ่งๆขึ้นไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูทิพย์

  ขอบคุณมากนะคะ

จะพยายามช่วยคุณบัญจบให้ได้มองโลกเห็นอีกครั้งด้วยค่ะ

มาชื่นชมการทำงาน และการแบ่งปันในสิ่งที่สวยงามกับคุณลุงนะคะ

ผมชื่มชมในการทำงานนะครับขอให้พี่มีพลังในการทำงานและพลังทุกสิ่งทุกอย่างในการดำเนินชีวิตครับ

สวัสดีค่ะคุณลูกหมูเต้นระบำ

  ขอบคุณค่ะขอบคุณมากและให้คุณลูกหมูก็ได้มีพลังมหาศาลในการทำสิ่งดีๆตลอดไปค่ะ

วันที่ 22 พ.ค. 2556คุณบัญจบก็จะได้เปลี่ยนเลนซ์กระจกตาแล้วค่ะ

ประมาณว่า"ก่อนทำการรักษา ต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง"ใช่มั๊ยครับ ขอโค้งคำนับงามๆแก่หัวใจคุณหมอครับ

สวัสดีค่ะคุณYanyong-P

  ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่านถึงบันทึกนี้

ค่ะ การจะรักษาเยียวยานั้น

บางครั้งเราก็หลงทางเพราะความเข้าใจไปเอง

ตามที่เห็น ที่รู้สึก

ที่จริงแล้วเรื่องนี้ทำให้ได้คิดว่า

เราต้องเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงของคนไข้ให้ได้

มิเช่นนั้นก็จะเป้นเหมือนข้างต้นที่ดิฉันเข้าใจไปเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท