น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตี่ออกซิแดนต์ ( Antioxidants) สูงมาก


น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากครีมโปรตีนกะทิ

ที่ไม่เป็นน้ำมันตอนหมัก เคี่ยวแบบโบราณได้น้ำมันเกรด บี


น้ำมันมะพร้าว มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์( antioxdants)  หลายประเภทที่มีประสิทธิภาพสูง และในปริมาณที่มาก สารนี้ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน( oxidation) ที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ( free radicals) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพเพราะสูญเสียอิเล็กครอนในวงแหวนรอบนอก กลายเป็น โมเลกุลเกเร เที่ยวไปโจมตีโมเลกุลอื่นๆ

โดยไปดึงอีเล็คตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงไปตัวหนึ่ง และโมเลกุลนี้ก็ไปดึงอีเล็คตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงอื่นๆต่อไป เกิดเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ทำให้เซลล์ผิดปรกติ เช่นเยื่อบุเซลล์ฉีกขาด ผิวหนังเหี่ยวย่น เปลี่ยนสารพันธุกรรมในนิวเคลียส ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกายไม่ต่ำกว่า 60 โรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน ภูมิแพ้ และชราภาพ

อนุมูลอิสระเกิดจากมลพิษในสิงแวดล้อม และในอาหารและเครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ และโดยเฉพาะในน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะถูกเติมออกซิเจนได้ง่ายๆ  เพราะมีแขนขู่ ( double bond )ในโมเลกุลตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างทางก่อนถูกนำไปบริโภค ซึ่งเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ไปลดสารแอนตี้ออกซิแดนต์ ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ

ชนิดของแอนตี้ออกซิแดนต์ที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าว มีดังต่อไปนี้

1.วิตามินอี : น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีทั้งในรูป tocopherol (1.1มก./100ก.) และ  tocotrienol ( 3.1 มก/100ก.) (Anon,2005) วิตามมินอี เป้นแอนตี้ออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ tocotrienol มีประสืทธิภาพสูงกว่า tocopherol ซึ่งมีอยู่ในเครื่องสำอางทั่วไปถึง 40-50 เท่า

2. สารฟีนอล: Dia( 2005) รายงานว่าน้ำมันมะพร้าว 6 ตัวอย่างมีสารฟินอล ( phenolic compounds) ในรูปของกรดแกลลิก ( gallic acid ) อยู่ 6.29-8.38 ไมโครกรัม/ก.Seneviratne and Dissanayake( 2008) ได้รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยวิธีอุตสาหกรรมมีสารฟีนอลอยู่ 91_+11 มก./กก.ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยวิธีพื้นบ้าน มีสารฟินอลอยู่ 618 _+ 46 มก./กก. ซึ่งสูงกว่าที่ได้จากการสกัดโดยวิธีอุตสาหกรรมถึง 7 เท่า

3. สารไฟโตสเตอรอล : Wang และ คณะ (2002 ) พบว่าน้ำมันมะพร้าวมีสารไฟโตสเตอรอล ( phytosterols) อยู่ 400- 1200 มก./กก. ประกอบด้วย campesterol ,stigmasterol,beta-sitosterol และ delta 5 -avenasterol ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน


( ขอบคุณน้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ จากเอกสารวิชาการเรื่อง มหัศจรรรย์น้ำมันมะพร้าว ฉบับปรับปรุง

โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย )



เวลานำมะพร้าวแก่มาขูดเอง ขูดสีดำน้ำตาลก้นกะลาออกมาด้วยหรือเลือกซื้อที่ผู้ขายเลือกเนื้อมะพร้าวแก่ที่มีผิวเปลือกติดก้นกะลา ไม่ต้องเลือกมะพร้าวที่มีแต่เนื้อขาวๆ เมื่อนำมาคั้นเป็นกะทิทำน้ำมันมะพร้าวเราจะได้วิตามินอีของมะพร้าวด้วย  ซึ่งเมื่อน้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีสูง ก็มีผลดีต่อสุขภาพเมื่อนำไปใช้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 532944เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

... โมเลกูลเกเร .... และดื้อด้วยนะคะ ..... ขอบคุณบทความที่ให้ความรู้นี้ค่ะ .......

น้ำมะพร้าวอ่อน ดื่มแล้วสดชื่น ครับ

ชอบเหมือนท่าน JJ ค่ะ

น้ำมันมะพร้าวพยายามทานอยู่ค่ะ ยังไม่ค่อยชินกับรสชาดค่ะ 

น้ำมันมะพร้าวเคยอ่านเรื่องหล่อเย็นแต่ชอบทาน

น้ำมะพร้าวอ่อนมากกว่าทานแล้วสดชื่นค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะคะ

รู้ไหมครับ....ทำไมคนไทยไม่กินน้ำมันมะพร้าว..กระทั่งน้ำมันหมู ก็เลิกกินไปด้วย..???? 

.กลัว และแตกตื่น จนแห่ไปใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วกันหมด????   

สวัสดีค่ะ


คุณ Dr.Ple  ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวหรือเปล่าค่ะ


อาจารย์ JJ  น้ำมะพร้าวอ่อนดื่มแล้วชื่นใจ ลองเพื่มจิบน้ำมันมะพร้าวเพื่อสุขภาพด้วยนะคะ


น้อง Bright Lily  ดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันสุขภาพดี สำหรับน้ำมันมะพร้าว ใช้แบบแช่เย็นโดยใส่ขวดปากกว้างจะทานได้ง่ายขึ้น หรือใส่ในอาหารแทนตักทานโดยตรงก็ได้นะคะ มีหลายคนที่ใส่ในเครื่องดื่มเช่น กาแฟ แล้วน้ำหนักลดลงพุงหายได้จริงค่ะ


คุณ Preeda  ให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพทั้ง 2 อย่าง คนจะรู้จักน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นอย่างดี แต่มีคนอีกไม่น้อยไม่รู้จักน้ำมันมะพร้าวค่ะ ทั้งๆที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพของทุกคนทุกวัยได้จริงๆ


คุณ Han Min  เพราะเป็นไขมันอิ่มตัว แต่ไม่แยกว่า ไขมันอิ่มตัวนั้นมาจากสัตว์หรือมาจากพืช และไม่ยอมรับหรือไม่ทราบว่าน้ำมันอิ่มตัวนั้นมีประโยชน์อย่างไร ทราบแต่โทษ อาจจะเป็นเพราะไขมันอิ่มตัวไม่มีการโฆษณาถึงประโยชน์ ทราบกันแต่ว่าน้ำมันอิ่มตัวไม่ควรใช้ แล้วจากใครเป็นผู้บอกล่ะ ทำไมไม่มีการบอกข้อดีๆของน้ำมันอิ่มตัวแต่ละชนิดบ้าง ควรใช้อย่างไรให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ  แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากเพราะ ความสะดวก รวดเร็วในการหาใช้ได้ง่ายกว่ามาก ไม่ต้องเสียเวลามาทำด้วยตนเองเหมือนเมื่อสมัยก่อน


คุณครูทิพย์  ค่ะน่าลองใช้ ข้อดีๆของน้ำมันมะพร้าวมีมากค่ะ


และขอบคุณทุกๆท่านมากนะคะ

ที่มอบดอกไม้และกำลังใจให้บันทึก

น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท