จากกะโล่งอมรา....สู่เพลงพิศวาส


"พระชินนะหนอ พระชินนะ จะยะหยังใด นึ่งกะหาตางนิพพาน นึ่งก็ตางโลกถามหา มันเป๋นยังอี้"

     บทเพลงเพลงพิศวาสจากกะโล่งอมรา  ขับร้องโดย อ้อม รัตนัง  ทายาทบุญศรี รัตนัง ทายาทเพลงกำเมือง       ที่สะท้อนอารมณ์นางอมราได้ออกมาอย่างดี .....สะท้อนถึงการเฝ้ารอคอย และความรักแรกพบและความประทับใจ ความรักมั่นแม่ญิงเหนือ .....     นำมาสู่มหากาพย์ความรักกะโล่งอมรา

   

                *ฮือ ฮือ ใจ๋เหย ยังเฝ้าคอย กึ๊ดเติงห่วงหา ป่านฉะนี้จะเป๋นใดจา วันเวลาผ่านเมินเจ่นล้ำ

             ฝังในใจจดจ๋ำ ยังย้ำกำ บ่เกยลืมเลือน ฝากความฮักไปกับดาวเดือน ฝากลมเตือนล่องไป

                          ยังเฝ้ากอย อ้ายนี้ คืนย้อนมา เฝ้าห่างหา อาลัย...... บ่หวั่น
                           วาสนา สองเฮา พรากจากกั๋น
* อยู่คอยวัน ได้เป๋นคู่ครอง
                           ฮื่อฮือ ใจ๋เหย ยอมสิ้นลง ปู่จายอดชู้ ถึงอ้ายจะบ่เอ็นดู หื้อฮู้ว่าข้ายังรอ
             ใจ๋ข้า ผาถนา หื้อฮักมา อยู่เคียงกู๋กั๋น ตราบสิ้นฟ้า หมดเสี้ยงคืนวัน ชั่วชีวา บ่ร่างลาเลือน   

เนื้อเพลงพิศวาส

                                             

      ผมเองตั้งใจจะเขียนเรื่องราวนี้หลายครั้ง เพราะเมื่อปี 2555 จำได้ว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์  มีการแสดงละครเพลงเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่องเพลงพิศวาส  เนื่อเรื่องล้วนมาจากภูมิปัญญาโบราณโคลงอรมรา หรือทางเหนือออกเสียงกะโล่ง ผมยังตราตรึงใจมิเลือมเรือน ทั้งการแสดง แสงสีเสียง ภาษากะโล่งที่อ่อนหวาน สอดความคิดคติและสื่อความหมาย ไปทุกขั้นตอนอย่างละเมียดละไม เหมือนผ้าซิ่นที่ทอเป็นผืนเดียวกันอย่างไร้มลทิน ก่อนจะเข้าเรื่องกะโล่งอมรานั้น ผมขอเอาความรู้เรื่องกะโล่ง (โคลง) ซึ่งเป็นบทกลอนทางเหนือมาให้ความรู้ครับ เพราะทางเหนือถ้าคนเมืองเมืองเองจะรู้ว่าทั้งหมดต่างมีภาษาเมือง (ตั๋วเมืองในการเขียนแลัในการจารึก)  ดังนั้นหากจะอ่านให้ปัจจุบันรู้เรื่องต้องมีการแปลหรือ (ปริวรรตเนื้อหาอย่างละเอียดพลิ้วไหว ตรงตามครูบาอาจารย์ต้นตำรับที่สื่อสารครับ) จึงจะออกมาเป็นบทถ่ายทอดได้ ครูอาจารย์ทางอักษรล้านนา ดังอาจารย์อุดม รุ่งเรื่องศรี  พ่อครูสนั่น  ธรรมาธิ  อาจารย์ไกรศรี  นิมมานเหมินต์ และท่านอื่นๆอีกมากมาย ที่ผมมิได้เอ่ยนาม 


กะโล่งหรือโคลง บทกลอนล้านนา

     วรรณกรรมนิทานคำโคลงของล้านนา: ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า โคลงล้านนาที่เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ 5 เรื่อง ประกอบด้วย โคลงปทุมสังกา โคลงหงส์ผาคำ โคลงพรหมทัต โคลงอมรา และโคลงอุสสาบารส 

 ลักษณะเด่น ในด้านรูปแบบ กวีแต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทโคลง เพื่อสอดแทรความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ หากเรามองนี่คือการดำเนินการการเล่าผ่านกะโล่ง โล่ง

  1.  เรื่อง โคลงปทุมสังกา แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพแทรกด้วยโคลงกลบท 
  2. เรื่องโคลงหงส์ผาคำ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ โคลงสามและโคลงสอง 
  3. เรื่องโคลงพรหมทัต และ โคลงอมรา แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ 
  4. เรื่องโคลงอุสสาบารส แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพและโคลงดั้น 

     วรรณกรรมล้านนาที่แต่งเป็นโคลงมักมีน้อยกว่าวรรณกรรมที่แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดอื่น เพราะแต่งยาก และผู้แต่งมักเป็นกวีในราชสำนัก ซึ่งกวีกลุ่มนี้มีจำนวนน้อย โคลงในวรรณกรรมส่วนใหญ่มีลักษณะไม่เคร่งครัดด้านฉันทลักษณ์ ในด้านเนื้อหา นิทานคำโคลงแต่ละเรื่องมีจุดเด่นแตกต่างกัน โคลงปทุมสังกา มีลักษณะเด่นคือ มีการแทรกนิทานอุทาหรณ์ โคลงหงส์ผาคำ มีลักษณะเป็นชาดกพื้นบ้านที่มีลักษณะเป็นนิทานมหัศจรรย์ แสดงให้เห็นบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ โคลงพรหมทัต มีจุดเด่นในเรื่องการถอดจิตและแทรกนิทานปริศนาเป็นลักษณะนิทานซ้อนนิทาน โคลงอมรา มีลักษณะเป็นนิทานชีวิต เป็นเรื่องรักและผิดหวังของหญิงสาวกับภิกษุหนุ่ม แสดงให้เห็นความเป็นปุถุชนของตัวละคร ผู้แต่งมุ่งให้ข้อคิดว่าสตรีเป็นศัตรูของพรหมจรรย์ ส่วน โคลงอุสสาบารส ซึ่งมีที่มาจากวรรณคดีสันสกฤต มีทั้งเรื่องของการสู้รบและบทนิราศ

     จากเนื่้อหาต่างๆที่กล่าวมานั้น  กะโล่งที่สอดแทรกง่ายที่สุดที่สะท้อนวิถีชีวิตระหว่างความรักที่กั้นนั้น  คือกะโล่งอมราที่เป็นความรักนางอมราที่หลงรักพระชินนะ ความรักแม้สมณะมากั้นหากยังไม่หลุดกิเลสก็ไม่อาจหลุดพ้นไปได้ แต่นี่คือคติสอนใจอย่างหนึ่งเรื่องการหลุดพ้น เช่นกัน

ปริวรรตกะโล่งอมรา 
     เนื้อความจากกะโล่งที่ครูบาอาจารย์หลายท่านได้ปริวรรตจะเห็นเนื้อความของเนื้อหาที่มุ่งสะท้อนให้พระนั้นหลุดพ้นและการที่หน่อเนื้อนาบุญทั้งหลายควรทำนุส่งเสริม  ดังเนื้อกะโล่งอมรา ...................................
ครั้งนั้น ในเมืองสาวัตถี ยังมีเศรษฐีสามีภรรยาคู่หนึ่งมีธิดานางหนึ่งชื่อ “อมรา” 
เมื่อนางอมราเจริญวัยขึ้นแล้วก็ปรากฏโฉมเป็นสาวสวยยิ่งนัก 
ด้วยความรักและหวงแหน เศรษฐีจึงได้สร้างปราสาทเสาเดียวให้นางอยู่กับหญิงรับใช้ มิให้ชายใดมาพบพูดคุยกับนางได้ 
ข่าวความงามของนางทำให้ชายหนุ่มทั้งเจ้าชายและลูกคหบดีต่างมาสู่ขอ 

นางอมราไม่พึงใจในชายใดเลย 

เศรษฐีทั้งสองก็ไม่บังคับจิตใจลูกสาว


วันหนึ่งมีภิกษุหนุ่มชื่อ “พระชินะ” ซึ่งบวชตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ มาบิณฑบาตที่บ้านเศรษฐี 

นางอมราได้ร่วมอนุโมทนา “ขันโตก” บรรจุอาหาร แล้วจึงให้คนใช้นำไปตักบาตร 

ภิกษุหนุ่มรับอาหารบิณฑบาตแล้ว มองไปที่ปราสาทเสาเดียว แลเห็นนางอมรา แต่ก็ไม่ได้คิดเป็นอื่น

และเดินทางกลับไป



ฝ่ายนางอมราเมื่อได้เห็นพระชินะแล้ว ก็เกิดความพอใจในชีหนุ่มเป็นอันมาก แต่เนื่องจากนางไม่อาจกล่าวอะไรได้จึงได้แต่หม่นหมอง 

เมื่อพ่อแม่นางเห็นลูกสาวตนมีอาการประหลาดไปเช่นนั้นก็ไต่ถาม 

ครั้นได้ความว่าความเศร้าหมองของลูกสาวมีเหตุจากนางหวังปองพระชินะมาเป็นสามี จึงเตือนลูกสาวว่า “การคิดหวังจะครองคู่กับภิกษุนั้น เป็นสิ่งไม่เหมาะสม” 

แต่ด้วยความรักลูก เศรษฐีจึงให้คนไปนิมนต์พระชินะกลับมารับบิณฑบาตอีก เพื่อจะได้บอกเรื่องนางอมราด้วย



ภิกษุชินะเมื่อทราบความแล้ว ก็บอกว่าตนได้อาหารพอเพียงแล้ว ไม่ประสงค์จะรับอาหารบิณฑบาตเพิ่มอีก 

คนใช้จึงกลับไปบอกเศรษฐีตามนั้น 

เศรษฐีเมื่อทราบก็มีความเสียใจ จึงส่งเสื้อผ้าไปถวายเชียงชีชื่อชินะ เพื่อขอให้ท่านลาสิกขาบทมาอยู่กินกับนางอมราเสียก่อนในตอนยังหนุ่มแน่น ต่อเมื่ออายุมากแล้วจะบวชอีกก็ได้

พระชินะแม้จะเกิดความวาบหวามใจอยู่ แต่ด้วยความระลึกว่า “ที่ตนบวชนั้นก็เพื่อจะตัดกิเลส หากลาสิกขาบทไปแล้ว คนทั้งหลายจะนินทาและตนก็ไม่เข้าใจในจิตใจของหญิงได้ดี” จึงไม่รับนิมนต์และขออยู่ในพระศาสนาไปก่อน ต่อเมื่อใดที่ยังไม่บรรลุนิพพานแล้ว หากตายไปจะขอไปร่วมกับนางอมราให้ได้ หากตนได้รับความสำเร็จถึงพระนิพพานแล้วก็จะเผื่อแผ่ไปยังนางด้วย แต่ชาตินี้ขอบวชไปตลอดชีวิต 


จากนั้นเชียงชีก็ฉันอาหารมื้อเดียวแล้วเข้าสู่ภาวนา

เมื่อนางอมราทราบว่าภิกษุรูปงามปฏิเสธเช่นนั้นก็ได้แต่ตรอมใจ และที่สุดอาการตรอมใจก็หนักจนถึงกับล้มตายลงในวันนั้น (เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันเดียว) 

เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็ได้แต่สังเวช บ้างก็เพิ่มความพยายามในกัมมัฏฐานมากขึ้น เหล่าประชาชนเมื่อทราบเรื่องต่างก็วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา


เศรษฐีจัดการปลงศพนางอมราอย่างวิจิตร มีการนิมนต์พระไปบำเพ็ญกุศลอย่างมากมาย รวมทั้งอาหารและผ้าอาภรณ์ของนางอมราก็นำเอาไปถวายเป็นทานด้วย 

มหาเถรผู้เป็นเจ้าอาวาสจับฉลากได้ผ้าสไบของนาง ท่านจึงนำผ้านั้นกลับสู่วัด 

พระชินะเมื่อทราบความก็ไปขอดูสไบนั้น และด้วยความอัดอั้นอย่างยิ่ง 

พระชินะจึงกอดสไบของนางอมราเข้ากับอก 

แล้วล้มลงถึงแก่มรณภาพ

จากกะโล่งสู่ละครเพลง เชื่อมคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ 
     จากเนื้อหารูปแบบที่เข้าใจง่ายจึงมีการหยิบเอาเนื้อเรื่องกะโล่งอมรา เพื่อมาถ่ายทอดคนรุ่นหลังให้รู้จัก ประกอบกับเรื่องราวดังกล่าวหากมองดีนั้นแล้ว ไม่ใชเรื่องอื่นแต่เป็นเรื่องจริงของความรักที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคและสมัย  ไม่แม้กระทั่งหญิงงามและพระภิกษุผู้เคร่งครัด  เรื่องราวบอกถึงหรือสะท้อนเรื่องความหลุดพ้น  หรือแม้กระทั่งทรรศนะการมองที่แม่ญิง (หญิง) เป็นภัยต่อความบริสุทธิ์ทางพุทธศาสนา  หากมองนั้นแล้วไซร้ประเด็นคือ การทิ้งกิเลส ความอยาก หรือความรักหรือลุ่มหลงทั้งหมดให้หมดไป  
       การนำเอากะโล่งอมรา จึงสะท้อนความเป็นวัฒนธรรมและข้อคิดสอนใจที่สอดในทุกจังหวัดในการนำเสนอ ดังมีตอนหนึ่งในเนื้อละครที่เชื่อมให้เห็นถึงตอนพระชินนะได้เอ่ยปากอยู่ในร่วมกาสาวัพสต์ต่อ เพื่อสืบทอดพระศาสนา หากบรรลุธรรมเจ้า จะเผยแพร่มาถึงแสดงถึงความศรัทธาคนเมืองอย่างแนบแน่นต่อพระพุทธศาสนา  หากเรามองคนที่บวชตั้งแต่เด็ก บางคนอาจมีความคุ้นเคยกับ "ครูบา" ซึ่งสถานะสงฆ์ผู้บริสุทธิ์  ......จนยากจะอธิบาย 

นางอมรา พระชินนะ จากกะโล่งบอกความจริงในสังคม 
           "พระชินนะหนอ พระชินนะ จะยะหยังใด นึ่งกะหาตางนิพพาน นึ่งก็ตางโลกถามหา มันเป๋นยังอี้"  บทกล่าวสร้อยนางอมราที่มีต่อพระชินะ ในทางโลกเองยังมีคนรอคอยท่านอยู่ หากแต่ใยท่านถึงมุ่งแต่ทางนิพพาน ความหมายที่ซ่อนเร้น หากดูตามเนื้อหาโคลง(กะโล่งเดิม) หรือมองไปตามสถานการณ์หลากหลายที่เกิดขึ้น การมองโลกนั้นถือว่ามีความแยบคายยิ่งนัก โดยการปล่อยให้คิดต่อไป ว่าท้ายสุด การเลือกอย่างไร  การที่ทางโลกพระชินนะยังไม่เคยก็อาจเกิดความหวั่นไหว เปรียบเสมือหินผาที่ไม่เคยโดนน้ำกัดเซาะฉันใดพระชินนะก็ฉันนั้น ก็มีความหวั่นไหวในกิเลส และทางโลกที่พระชินนะยังไม่ได้ศึกษา 
           หากแต่กระจกอีกบานที่สะท้อนนางอมรา  สะท้อนถึงความรักมั่นของหญิงล้านนา  ที่มีความรักมั่นและพร้อมกับการที่ศรัทธาไปพร้อมกันด้วย  จึงเกิดความรักพร้อมกับความหลงไหล  แม่มองว่าความรักนั้นจะเป็นไปไม่ได้ นางอมราเองก็ยังเลือกที่จะรัก ต่อไป 
           จากกะโล่งอมรา  และสังคมคมคนเมืองทางเหนือที่เปลี่ยนไปและอาจเปลี่ยนเอามาก หากบางคนพูด ผมเองก็ไปจำมาอีกที การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี่ก็อาจใช่  เพราะบางทีอย่างกับที่เราเห็น  ความรักนั้นไม่ได้แปลว่ารักเสมอไป  แต่ความรักนั้นแปลเป็นความหลงไหลในรูป ว่าสิ่งนั้นดีงาม หล่อหรือสวย  กะโล่งอมราที่โรงเรียนสืบสานเอามาถ่ายทอดจึงเป็นสะพ่นและวิถีคน 2 รุ่นมาเจอกัน ผ่านละครเพลงพิศวาส หรือเรียกอีกอย่างว่า กะโล่งอมรา 
      
ผมขอจบบันทึกผมจากกะโล่งอมรานี้ครับ 


                                    “ใครใดจักอาจเว้น ราคา ยากแล
                        ค่อยอันมีตัณหา ชู่ผู้
                   แม่นพระหน่อพุทธา ปางก่อน ก็ดีทรา
                      ยังแล่นตามนี้ไส้ ย่อมค้างในสงสาร

                                                                                                จากกะโล่งอมรา ปริวรรตจากภาษาเมือง



หมายเลขบันทึก: 532868เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2013 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภาพสวยและเหมือนผมหลุดเข้าไปในภาพจริงๆ นะครับ...มีความสุขวันครอบครัวนะครับ

   ทิมดาบ   ต้องขอบคุณทีมช่างภาพเขานะครับพี่ มีช่วงหนึ่งที่เขาร่ายรำฟ้อนปิดกันผมชอบบรรยากาศที่เด็กดีใจผลงานของตัวเอง...มันมีเสน่ห์ปนความรู้สึกปลาบปลื้มไปด้วย 




 Dr. Pop
 Phachern Thammasarangkoon
 ชยพร แอคะรัจน์
 ทิมดาบ
  ขอบคุณดอกไม้จากพี่ๆทุกท่านที่ได้อ่านนะครับ ...............


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท