หลักธรรมาภิบาลในประเทศไทย


ปี2540

  ประเทศไทยมีความตื่นตัวสนใจเรื่องธรรมาภิบาลอย่างมากโดยเฉพาะหลังวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2539 และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปี 2540 เนื่องจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มุ่งเน้นการพัฒนาการเมืองไทยที่สัมพันธ์กับหลักธรรมาภิบาล  โดยมีปัจจัยสำคัญคือ  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน  ตลอดจนการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐโดยประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8  ยังได้กำหนดแนวคิดในการพัฒนาประชารัฐ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ  สนับสนุนให้ทุกภาคการบริหารรัฐกิจและการจัดการพัฒนาประเทศ  สนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจและการพัฒนาประเทศทั้งในด้านนโยบายและการปฏิบัติ 

  ปี2542

  คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  พ.ศ.2542 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างกฎเกณฑ์และกลไกที่ดีในการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี  ปรับปรุงระบบการตัดสินใจและการบริการ  จัดการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนให้รวดเร็วชัดเจนและเป็นธรรม  ขยายโอกาสของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง  เพื่อร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจและแก้ปัญหาส่วนรวม  ขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบและการหลีกเลี่ยงกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนหรือกิจการที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน  ทั้งนี้  ระเบียบฯดังกล่าวมุ่งเน้นให้หน่วยงานของรัฐดำเนินงานตามภาระหน้าที่  โดยยึดหลักการพื้นฐาน 6ประการ  ได้แก่  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใส  หลักความมีส่วนร่วม  หลีกความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่า

  ปี2545

  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 มาตรา3/1 มุ่งเน้นให้ส่วนราชการใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ  โดยบัญญัติให้ “การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ความมีประสิทธิภาพ  ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ  การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น  การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น  การกระจายอำนาจตัดสินใจ  การอำนวยความสะดวก  และการตอบสนองความต้องการของประชาชน  ทั้งนี้  โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน” และ “ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน  การมีส่วนร่วมของประชาชน  การเปิดเผยข้อมูล  การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้  ตามความเหมาะสมของภารกิจ”  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่9  ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  ปราศจากการทุจริต  บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม

  ปี2546

  ได้มีการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 และออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1.การบริหารราชการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

  2.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

  3.มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

  4.ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

  5.มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

  6.ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการและ

  7.มีกระประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

  ปี2549

  คณะมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เห็นรอบวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม  ธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ  ศรัทธาและไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและหน่วยงานของภาคราชการ  รวมถึงตัวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ  โดยเฉพาะการใช้อำนาจรัฐและการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน

  ปี2550

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 ก็ได้มีการกล่าวถึงหลักธรรมาภิบาลอยู่หลายมาตรา

 

  ปี2552 

  ธรรมาภิบาลเริ่มเข้ามามีบทบาทในระดับหน่วยงานจนกระทั่งระดับตัวบุคคลมากขึ้น  นอกจากนี้แต่ละส่วนราชการต้องมีการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี  ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบายตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในระดับองค์การ  ซึ่งแตกต่างจากประมวลจริยธรรมและจรรยาข้าราชการซึ่งกำหนดแนวทางปฏิบัติระดับบุคคล  ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกัน  และส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลขึ้นในระบบราชการในที่สุด


หมายเลขบันทึก: 532057เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2013 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท