เศรษฐศาสตร์ข้าวแกง...ที่ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่คงไม่เคยได้ยิน



ผมได้โพสต์ไว้แล้วในบทความก่อนว่า ..... สั่งกับข้าว ๑ อย่าง ๓๐ บาท สั่ง ๒ อย่าง ๓๕ บาท แสดงว่า กับข้าว ๒ อย่างนี้ราคารวมกัน ๑๐ บาท ส่วนข้าวเปล่าราคา ๒๕ บาท  ใช่ไหม

แถมไอ้ ๒๕ บาทเนี่ย ส่วนใหญ่เป็นข้าวราคาถูก โดยเฉพาะพันธุ์ ขาวตาแห้ง”  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ร้านข้าวแกงนิยมที่สุด  ที่นิยมสุด ผมวิเคราะห์ว่า หนึ่ง  มันถูก วันนี้โลละเพียง ๒๐ บาท ในขณะที่หอมมะลิ ๓๕ สอง หุงขึ้นหม้ออีกต่างหาก  (คือมันพองขยายตัวมาก)  ซึ่งทำให้ได้ปริมาณข้าวสวยมากกว่าปกติ ก็แปลว่ากำไรมากกว่าปกตินั่นเอง 

แต่ข้อเสียของขาวตาแห้งก็คือ  มันแข็งกระด้าง ไม่หอมเอาเสียเลย เม็ดก็ใหญ่  เหมาะสำหรับส่งไปขายเพื่อบรรเทาทุพภิกภัยที่อัฟริกาเสียมากกว่าที่จะเอามาให้คนไทยกิน (คนเมืองอู่ข้าวอู่น้ำแท้ๆ)   โดยเฉพาะคนมากินในร้าน แม้ร้านริมทางก็ตามที่ ไม่ใช่ริมห้างสีลม แต่ก็แสดงว่าคงมีฐานะพอกินข้าวแกงได้แหละหวา

ข้าวแกงหนึ่งจาน ผมว่าใช้ข้าวสารประมาณ หนึ่งขีด (มากน้อยกว่ากันแล้วแต่สมบัติการ “หุงขึ้นหม้อ”)   ถ้าใช้หอมมะลิก็ ๔  บาท  ถ้าใช้ขาวตาแห้งก็ ๒ บาท (เทียบบัญญัติไตรยางศ์โดยตรงไม่ได้ เพราะมันหุงขึ้นหม้อมากกว่ากัน)  วันหนึ่งขายข้าวแกงขาวตาแห้งได้ ๒๐๐ จาน ได้กำไรมากกว่าใช้หอมมะลิจานละ ๒ บาท ก็ได้กำไรเพิ่ม  ๔๐๐ บาท  หากใช้ขาวตาแห้งแทนหอมมะลิ ก็น่าเห็นใจ เข้าใจตรรกะคนขายท่านอยู่

แต่การค้า การตลาดมันมีอะไรซ่อนเร้นเสมอ  ถ้าผมขึ้นป้ายริมทางว่า  “ร้านนี้ใช้ข้าวหอมมะลิเท่านั้น  แต่ราคาเดิม”  แบบนี้ผมได้กำไรลดลงจานละ ๒ บาท  จากเดิมกำไรจานละ ๑๐ บาท ก็เหลือเพียง ๘ บาท แต่ผมน่าจะได้ลูกค้ามากขึ้น ๒ เท่า  ...จาก ๒๐๐ เป็น ๔๐๐ คน

ดังนั้นกำไรต่อวันเพิ่มจาก ๒๐๐๐ บาท เป็น ๓๒๐๐ บาท

แต่...พนักงานผมต้องทำงานเหนื่อยขึ้นสองเท่า ผมก็ให้โบนัสสัก ๕๐๐ บาท ทดแทนความเหนื่อย  ก็ยังมีกำไร  ๒๗๐๐ บาท มากกว่าเดิม ๗๐๐ บาท หรือ ๓๕ ปซ. 

ถ้าคุณเป็น ceo การบินไทย หรือ ปตท.  คุณทำกำไรเพิ่ม ๑%  คุณจะเป็นตำนานแล้วนะ  นี่ผมกำลังจะทำเพิ่ม ๓๕ ปซ. จากข้าวแกงริมทางนะ  แต่คงไม่มีใครสนใจหรอก ก็แค่ข้าวแกงกระจอก

แล้ว ceo การบินไทย ปตท.  รู้ไหมว่า ธุรกิจข้าวแกงยอดขายปีละเท่าไหร่  ผมรับรองว่าใหญ่กว่ายอดขายการบินไทยอย่างน้อย 5 เท่า  นี่ว่าเฉพาะในไทยที่ข้าวแกงราคาถูกนะ  ถ้าเอาสิบคูณเข้าไป แล้วให้คนยุโรป เมกากิน  มันจะเป็นมูลค่าเท่าไร  ไม่น่าต่ำกว่า 1000 เท่าของการบินไทย (ที่วันนี้เสริฟแต่อาหารฝรั่ง จีน โดยไม่เสิรฟอาหารไทย) 

ส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบทั้งขาวตาแห้ง (แข็งกระด้างเกินไป)  และ หอมมะลิ (เหนียวนุ่มเกินไป)  ผมลองกินข้าวมาเป็นร้อยสายพันธุ์ ที่ชอบที่สุดคือ “หอมดง”  ข้าวพื้นเมือง อ. ปักธงชัย  โคราชบ้านเอ็งนี่แหละ  (ราคาแพงสูสีหอมมะลิเสียด้วยนะ)

...คนถางทาง (๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖)

ปล.  สุดท้าย เอาสายพันธุ์ข้าวมาฝาก จาก..เทคโนโลยีชาวบ้าน ที่ตัดเก็บไว้เป็นสิบปีแล้วกระมัง  (ปรากฏว่า ไม่มีหอมดง อยู่ในนี้ เพราะ เขาระบุเฉพาะพันธุ์ภาคกลาง) 

เก็บมาเล่า
ไพบูลย์ แพงเงิน 


ใน "เทคโนโลยีชาวบ้าน" ฉบับนี้ เราจะลองมาย้อนรอยดูว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้วในภาคกลางของไทยเรามีพันธุ์ข้าวอะไรบ้างที่ชาวนานิยมปลูก

(หมายเหตุ “คนถางทาง”  ๔๐ ปี  ที่ว่านี้มันกลายเป็น ๕๐ แล้วนะ  วารสารไทยมักไม่ระบุวันเดือนปีที่เขียน) 

 .........
พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้เพาะปลูก 23 พันธุ์แรก ได้แก่พันธุ์ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี พวง (มีหลายชนิด เช่น พวงจอก พวงหางจอก พวงเงิน พวงทองฯลฯ) สามรวง ขาวกอเดียว ก้อนแก้ว ขาวห้าร้อย ขาวมะลิ หลวงประทาน ขาวพวง ขาวสะอาดนางเขียว นางมล ปิ่นแก้ว ขาวเมล็ดเล็ก เล็บมือนาง ก้นจุด เทวดา ห้ารวง เจ๊กเชยพวงนาค ทองมาเอง และมะลิทอง
พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้มากที่สุด (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ได้แก่ ขาวตาแห้ง ก้อนแก้ว นางมล สามรวง และขาวกอเดียวแต่หากคิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวพวงสามรวง และขาวกอเดียว


ข้าวพันธุ์อื่น (นอกเหนือจาก 23 พันธุ์ที่เอ่ยชื่อมาแล้ว) ได้แก่ ข้าวพันธุ์ก้นดำ ก้นแดง ก้นใหญ่ กอเดียว กอเดียวเบากอเดียวหนัก เกษตร ค. เก้ารวง กาบแดง กาบเขียว กะโหลก กลางปี กระจุดหนัก ก้อนทองกอกลาง แก่นจันทร์ เกวียนหัก กาบหมาก เกสร กำหมาก เขียวหอม เขียวเบา เขียวหนักเขียวทุ่ง ขี้ตมขาว ขำเล็กเตี้ย เขียวเม็ดเล็ก เขียว เขาดี แขกเบา เขี้ยวงู ขอนแก่นไข่แมงดา ขนาย เขียวนกกระลิง ไข่จิ้งหรีด ขาวกระบี่ ขาวก้นจุด ขาวกอ ขาวโกต ขาวแก้วขาวกีต้า ขาวกลางปีหลวง ขาวเกษตร ขาวกำจร ขาวกระโทก ขาวกด ขาวกุหลาบ ขาวขจรขาวขี้ตบ ขาวขัดเบา ขาวโคก ขาวคัด ขาวคุด ขาวคลองสิบ ขาวงอ ขาวงาช้าง ขาวเจ็กแก้วขาวจำปา ขาวชีต้า ขาวดี ขาวดง ขาวตาหลั่ง ขาวตาหุย ขาวตาผุด ขาวตาเล็ก ขาวตาสีขาวตาปาน ขาวตาอู๋ ขาวตาหง ขาวตาโม้ ขาวตาพุฒ ขาวตาเพชร ขาวตาปิ่น ขาวตายิ้มขาวตราสังข์ ขาวตะวันขึ้น ขาวทับทิม ขาวทดลอง ขาวทองรากชาย ขาวนางมล ขาวน้ำผึ้งขาวนาวา ขาวนาแขก ขาวนางเข็ม ขาวเหนียว ขาวน้ำมนต์ ขาวนางชม ขาวนวล ขาวบุญมาขาวบางกะปิ ขาวบัวทอง ขาวนางกระ ขาวบางเขน ขาวใบศรี ขาวบางเตย ขาวประกวด ขาวป้อมขาวประเสริฐ ขาวปากกระบอก ขาวปลาไหล ขาวปลุกเสก ขาวปอ ขาวปิ่นแก้ว ขาวปากยัง ขาวป่าขาวเปลือกบาง ขาวปุ้น ขาวปากหม้อ ขาวป่วน ขาวฝุ่น ขาวพัฒนา ขาวพลายงาม ขาวพวงทองขาวพวงเบา ขาวพราหมณ์ ขาวพยอม ขาวพรต ขาวโพธิ์ ขาวเม็ดยาว ขาวแม้ว ขาวเม็ดเล็กเตี้ยขาวเม็ดแตง ขาวมงคล ขาวมะลิหนัก ขาวมะลิเบา ขาวมะลิพวง ขาวเมืองกรุง ขาวม้าแขกขาวยายง้อย ขาวยายแก้ว ขาวยายมูล ขาวรวงยาว ขาวไร่ ขาวรวง ขาวรวงเดียว ขาวรังสิตขาวลาว ขาวราชวัตร ขาวโหร่ง ขาวเหลือง ขาวหลง ขาวลูกค้า ขาวหลวง ขาวละออ ขาวละยองขาวลอย ขาวลอยมา ขาวลอดช่อง (ไม่ใช่ลอดช่อง) ขาวเหลืองกะโหลก ขาววัด ขาวสุพรรณขาวสูง ขาวสมุทร ขาวสวน ขาวสายบัว ขาวสร้อยพร้าว ขาวแสวง ขาวสมยัง ขาวส่งเค็มขาวสะโด ขาวเสมอ ขาวใหญ่ ขาวหอมลำไย ขาวหล่ม ขาวหาง ขาวหอมทอง ขาวหินกองขาวหอมือเคียว (หอ-มือ-เคียว ชื่อชอบกลดี) ขาวหอม ขาวอากาศ ขาว ขาวอุทัย ขาวอัปสรและขาวอำไพ
งาช้าง เจ็ดรวง จำปาหนัก จำปา จำปาจีน จำปาทอง จำปาขาว จะนึงจำปาศักดิ์ จำปากลาง จำปาดะ จำปาเป๋ จุกมอญ เจ็กเฮง เจ็กสี เจ็กสะกิด เจ็กกวาดน้อยเจ็กกระโดด เจ้าดอก เจ้าสงวน เจ้าพาน จำวัด จ้าวน้อย จ้าวเสวย จะแดงน้อย ช่อพยอมช่อมะม่วง ช่อมะกอก ช้างลาก ช่อฟ้า ชมเชย ชุใบหนัก ซังเหนียว ซังเหลือง ซ่อนใบดออีปุ่น ดอกมะลิ ดาบหัก ดอกขะนาก ดอกดู๋ ดอเซ ดอปี ดำเห็น ดำป่าสัก ตาโสม ตาแก้วตาอ่อง ตะเภาล่ม ตะพาบ ตาเฉื่อย ตะเภาแก้ว ตาเจียน แตงกวา ใต้ใน เถากู้ ทองรากชายทองรากทราย ทองจำวัด ทองตามี ทองงาม หินทอง ทูลฉลอง น้ำผึ้ง นกกะริงเบา เนินเขียวนครภัณฑ์ น้ำค้าง นาสวน นางกลอง นางหงษ์ นางอาย นางสมบุญ นางงาม บุญมา เบาสุพรรณบางเขน บางปะกง บางโพธิทอง บางกระเบียน บางตะเคียน บางมูลนาค บางตะกุย บางญวนและบางสะแก


บ้านโนน บ้านโพด บ้านคลอง บุญตา บุญเกิด บุญมี บุนนาค เบาขาวเบื่อน้ำ ใบลด ประดู่ยืน แปดรวง ปิ่นทอง ป้อม ป่าดอง ผลมะเฟือง พวงหางจอก พวงหนักพวงจอก พูนสรวง พันธุ์เกษตร แพลอย พวงมาลัย พวงฉลอง พระยาชม พวงเงิน พวงทองพวงหางหมู พระยาดอน พระปฐม แพร่ พ่อใหญ่ พวงแก้ว พันเม็ด พระยาหนอง โพธิทองพวงเงินหนัก พวงเงินเบา พิมพ์สวรรค์ พวงพยอม เฟืองเหลือง ญี่ปุ่น เมืองเลยแม่ล้างญวน (น่าจะเป็น "แม่ร้างญวน") เม็ดเล็กเตี้ย เม็ดยาว มะลิวัลย์ มะลิกลางมะลิซ้อน มะลิเลื้อย แม่หม้าย แม่หม้ายอกแตก เม็ดข้าว มะก้วน ยักคิ้วรวง รวงยาวรวงเดียว แรกนาขวัญ รวงใหญ่ รักซ้อน ลูกนก หล่มหนัก เล็กร้าง แหลมไผ่ แลกนาขวัญ (อาจจะเป็นพันธุ์เดียวกับ "แรกนาขวัญ" ก็ได้) ลอยสำเภา ลูกผึ้ง หลวงแจก ล้อยุ้งแหลมในสี ลอย ล้นครก หลวงหวาย ลากชาย ลืมแกง เหลืองประทิว เหลืองใหญ่ เหลืองกลางเหลืองทอง เหลืองอ่อน เหลืองหอม เหลืองขมิ้น เหลืองเตี้ย เหลือง เหลืองพวงเหลืองระแหง เหลืองก้นจุด เหลืองกระบ้าง เหลืองเกษตร เหลืองกอเดียว เหลืองโกฐเหลืองข้าวรวง เหลืองควายล่า เหลืองตาบึ้ง เหลืองตาครัว เหลืองตาพลวง เหลืองทองเผาเหลืองทองย้อย เหลืองที่หนึ่ง เหลืองทราย เหลืองนาขวัญ เหลืองนวลแตง เหลืองน้ำเค็มเหลืองบางแก้ว เหลืองเบา เหลืองบิด เหลืองปากนก เหลืองพันธุ์ทอง เหลืองพม่าเหลืองพรหม เหลืองไฟลาน เหลืองมะฟง เหลืองระแหงเบา เหลืองไร่ เหลืองหลง เหลืองหลวงเหลืองลาย เหลืองลพบุรี และเหลืองอารี


แววนกยูง สามกะพ้อ สะแกดึง สวนใหญ่สองรวงเบา สร้อยข้าว สองทะนาน สามรวงตัด สี่รวง สร้อยดง สายบัว สีชมพู สุพรรณรวงทองสองรวงหนัก สาวกอ เสือลาก สีนวล สองรวง สะพานหนอง ศรีอุทัย ฟ้ามือ สาล สวะลอยสร้อยขิง หอมทอง หอม หอมมะลิ หอมน้ำผึ้ง หอมละออ หางเหน นางนกยูง หางหมา หกรวงห้ารวง หินซ้อน หอมใหญ่ หนักเหนือ ห้าเซียน หอมสวน หางจอก หมกกล้วย มังคุด มะดินมกตาล มาลออง มิ่งขวัญ มะน้ำ ข้าวก้นจุด ข้าวกู้หนี้ ข้าวเกษตร ข้าวกลองข้าวกลางปีหลวง ข้าวแก้ว ข้าวขาว ข้าวขาวสะอาด ข้าวเขียว ข้าวขาวหลวง ข้าวข้อมือหักข้าวคัด ข้าวโค้ง ข้าวดู้ดี้ ข้าวตกหลิน ข้าวทิพย์ ข้าวที่หนึ่ง ข้าวนาเมืองข้าวนาสวน ข้าวน้ำค้าง ข้าวนครชัยศรี ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนวลแตงข้าวเหนียวสาวน้อย ข้าวเหนียวซาวนึ่ง ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวทองคัดข้าวเหนียวกาบอ้อย ข้าวเหนียวหล่ม ข้าวเหนียวกระดูกช้าง ข้าวเหนียวก้านพลูข้าวเหนียวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวจังหวัดเลย ข้าวเหนียวหล่มสัก ข้าวเหนียวมโนราห์ข้าวเหนียวพันธุ์นาสวน ข้าวเหนียวกระเบียงร้อน ข้าวเหนียวดอกจาน ข้าวเหนียวกลางปีข้าวเหนียวหัวหมาก ข้าวเหนียวปากลัด ข้าวเหนียวแดงวัว
ข้าวใบสี ข้าวเบาข้าวเบาที่หนึ่ง ข้าวใบรอบ ข้าวบ้านนา ข้าวป้อม ข้าวพวงเบา ข้าวพวงหนัก ข้าวฟางลอยข้าวแม้ว ข้าวเม็ดเล็ก ข้าวเมืองกาญจน์ ข้าวไร่ ข้าวรอดหนี้ ข้าวล่า ข้าวล้นยุ้งข้าวลอย ข้าวลอยเหลือง ข้าวลอยบุญมา ข้าวสามเดือน ข้าวสารี ข้าวสาวงาม ข้าวสี่เดือนข้าวห้าร้อย ข้าวหางหงษ์ ข้าวหอม ข้าวหลวง ข้าวหนักเหนือ ข้าวเหลืองเตี้ยข้าวเหลืองน้อย ข้าวเหลืองเบาและข้าวเหลือง


พันธุ์ข้าวที่ยกมานี้มีการเรียกชื่อตามปากชาวบ้านข้าวที่มีชื่อคล้ายกันแต่อยู่คนละจังหวัด อาจจะเป็นข้าวพันธุ์เดียวกันก็ได้ผู้เขียนเป็นลูกชาวนาแถบเหนือของอำเภออู่ทอง คุ้นเคยกับชื่อข้าวพันธุ์ขาวตาแห้งสามรวง ขาวกอเดียว ก้อนแก้ว ขาวมะลิ หลวงประทาน นางมล ปิ่นแก้ว เจ๊กเชยและพันธุ์เหลืองอ่อน ทุกวันนี้ (2550) ข้าวขาวตาแห้งแถบบ้านจร้า (ใหม่-เก่า)และหนองโคก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี (ข้าวพื้นแข็ง)


หมายเลขบันทึก: 531553เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2013 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thanks for the amazing list of Thai rice.

I wish there were a "rice bank" (or "rice repository") keeping (viable) seeds of these varieties. They are really "national treasures" (and at least 'world heritage').

They could go well with your Thai technologies museum ;-)

ผมเข้าใจว่าเรามี ธนาคารพันธุ์ข้าวแล้วนะครับ  ที่ปทุมธานี หรืออย่างน้อย rice institute ที่ ฟิลิปปินส์ก็น่าจะมีครับ สองวันก่อนผมเห็นข้าวเจ๊กเชยมาวางขายริมถนน สัมภาษณ์แม่ค้าได้ความว่าเ็ป็นพี่น้องกับเสาไห้  และ ชัยนาท 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท