จดหมายถึงลูก "ภัคร" ฉบับที่ ๒๒ ตอนทางเดินที่ลูกเลือกเอง


จดหมายถึงลูก "ภัคร" ฉบับที่ ๒๒ ตอนทางเดินที่ลูกเลือกเอง

 

             เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (๒๗ มีนาคม ๒๕๕๖) แม่ได้รับโทรศัพท์จากพี่ภัครโทร.มาบอกแม่ว่า...สำนักงาน ก.พ. เรียกพี่ภัครไปสอบสัมภาษณ์เพื่อเป็นข้าราชการตำแหน่งนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะทางสำนักงาน ก.พ. ได้ส่ง EMS มาให้หลายวันแล้ว แต่เพิ่งจะไปรับจดหมายก็วันนี้ ทางสำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า ให้พี่ภัครไปสอบสัมภาษณ์โดยให้ยื่นเรื่องภายในวันนี้...แต่พี่ภัครตั้งใจว่า...จะไม่เป็นข้าราชการแล้ว เพราะความตั้งใจเดิมต้องการเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย...อีกเหตุผลหนึ่ง ถ้าได้เป็นข้าราชการต้องไปอยู่ที่นนทบุรี ซึ่งไกลบ้าน

            พี่ภัครบอกแม่ว่า...ทางเดินของพี่ภัครคงไม่ใช่ที่จะไปเป็นข้าราชการ ความตั้งใจตั้งแต่แรกขอเป็นอาจารย์สอนใน ม. มากกว่า แม้ว่าใน ม. จะไม่ใช่ข้าราชการแล้วก็ตาม...แม่ได้ฟังก็ได้แต่นิ่ง เพราะนี่คือ ความคิดของเด็กสมัยใหม่ที่มีความเป็นตัวของตัวเอง...เพราะพี่ภัครตั้งใจจะเรียนต่อ ดร.ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก แม่ก็ได้แต่ฟัง พี่ภัครเกรงว่าแม่จะบังคับให้เป็นข้าราชการ...พี่ภัครรู้ว่าตำแหน่งนี้ก็จะคล้าย ๆ กับที่แม่ทำงาน แต่มันคงไม่เหมาะกับพี่ภัครเพราะไม่ชอบ...แม่ก็ได้คิดว่า...ชอบใคร ชอบมัน ของพรรณนี้ "ไปห้ามหรือบังคับใจใครไม่ได้"...แม่ก็เลยตอบไปว่า..."แล้วแต่หนู โตแล้ว ตัดสินใจเอง"

            แม่รู้ว่า...หนูเป็นเด็กรุ่นใหม่ ไม่ได้คำนึงถึงว่า "ความมั่นคง" ในชีวิตการทำงานมันจะแตกต่างกันหรือไม่ หนูไม่ได้สนใจว่ารับราชการกับไม่ใช่ข้าราชการนั้นแตกต่างกันอย่างไร? หนูได้แต่รู้ว่า หนูตั้งใจอะไรไว้ตั้งแต่แรกว่า หนูจะทำสิ่งใดเท่านั้น มั่นช่างเป็นความคิดต่างมุมกับชีวิตของแม่ เมื่อเกือบ ๓๐ ปีที่แล้วที่แม่ซึ่งเป็นเด็กในสมัยนั้น ใฝ่ฝันที่จะเป็นข้าราชการ รับราชการให้ได้ เพราะมันเป็นศักดิ์ศรี เกียรติยศของวงศ์ตระกูล การเป็นข้าราชการ คือ การเป็นข้ารับใช้แผ่นดิน...แต่พี่ภัคร (เด็กรุ่นใหม่) กลับไม่ได้คิดแบบแม่ หนูคิดแต่ว่า...ความต้องการของหนู ๆ ต้องการเป็นอาจารย์สอนใน ม. เท่านั้น แม้ว่า มันจะไม่ได้เป็นข้าราชการก็ตาม...

           มันเป็นทางเดินที่พี่ภัคร ลูกของแม่เลือกเอง เลือกที่จะไม่เป็นข้าราชการ...แม่รู้ว่า ลูกของแม่มีความสามารถ หนูมีความหมั่นใจในตนเองสูง ตั้งใจอะไรแล้วก็ต้องให้ได้ ส่วนนี้เองที่หนูมีเลือดของแม่และเหมือนแม่...ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ใจของเราเอง แม่เคารพการตัดสินใจของหนู...ขอเพียงว่า...ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วก็ควรทำให้ได้และให้สำเร็จก็แล้วกัน

           แม่ถามว่า...แล้วหนูบอกกับพ่อเรแล้วหรือยัง...หนูตอบว่า...พ่อเรบอกว่า ก็มันหมดเขตวันนี้แล้ว เหมือนกับพ่อเรรู้ทันว่า...ถึงหนูบอกก่อนหน้านี้ หนูก็ไม่ไปสมัครหรอก...(ซึ่งใจจริง ๆ พ่อเรต้องการที่จะเห็นหนูเป็นข้าราชการมากกว่า)...พูดกันมากไปก็จะเกิดอาการเถียงกันเพราะความคิดต่างกันนั่นเอง...พ่อเรกับแม่ก็เลยต้องเป็นฝ่ายรับรู้ในความคิดของหนูมากกว่า...นี่แหล่ะ!!! ความคิดของเด็กรุ่นใหม่ที่มองต่างมุมกับพ่อเรและแม่...หนูยังบอกแม่ว่า...แม่อย่าพูดให้ภัครเขวสิ ภัครตัดสินใจแล้วว่า...จบปริญญาโทแล้วจะเรียนต่อ ดร. แล้วก็เป็นอาจารย์ให้ได้...กลายเป็นว่า...ถ้าแม่พูด...หมายความว่าแม่จะทำให้หนูมีความคิดที่เบี่ยงเบนไปจากที่ตั้งใจไว้แต่เดิม...

          นี่ก็เป็น..."ความคิดที่ลูกของแม่ "พี่ภัคร" เลือกทางเดินของตัวหนูเอง...

 

 

อ่านจดหมายถึงลูกทุกฉบับได้จากที่นี่...จดหมายถึงลูก...

 

หมายเลขบันทึก: 531484เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2013 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เข้าใจความรู้สึกเหล่านี้ค่ะ...ให้กำลังใจนะคะ

ใช่ครับ บางครั้งการเป็นข้าราชการ เนื้องานของมันก็เป็นสิ่งราบเรียบไม่มีอะไรน่าท้าทายเท่ากับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยครับ ผมเลยเลือกที่จะเป็น อาจารย์พนักงานของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเข้ามาแล้ว โอกาสก้าวหน้าในการเรียนต่อ ป.เอก ก็เปิดเสมอให้เราไปต่อได้ แต่มันมาสะดุดที่ว่า อาจารย์พนักงาน ไม่ได้สิทธิ์รับทุนสนับสนุนเต็มจำนวนเท่า อาจารย์ข้าราชการ ต้องรอความเมตตาจากบอร์ดมหาวิทยาลัยเป็นเคสๆไป ส่วนเรื่องความมั่นคงจะพูดไปแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นสัญญาพนักงาน ก็ยังด้อยกว่า อาจารย์ข้าราชการครับ อนาคตแก่ไปแล้วสิ่งที่ได้เหลืออยู่คือประกันสังคมทั่วไป ส่วนเรื่องจะหวังความมั่นคงมาจากการได้ตำแหน่งวิชาการหรือตำแหน่งบริหาร สิทธิ์ที่ดีกว่าเป็นของอาจารย์ข้าราชการก่อนครับ   

ใช่ครับ บางครั้งการเป็นข้าราชการ เนื้องานของมันก็เป็นสิ่งราบเรียบไม่มีอะไรน่าท้าทายเท่ากับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยครับ ผมเลยเลือกที่จะเป็น อาจารย์พนักงานของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเข้ามาแล้ว โอกาสก้าวหน้าในการเรียนต่อ ป.เอก ก็เปิดเสมอให้เราไปต่อได้ แต่มันมาสะดุดที่ว่า อาจารย์พนักงาน ไม่ได้สิทธิ์รับทุนสนับสนุนเต็มจำนวนเท่า อาจารย์ข้าราชการ ต้องรอความเมตตาจากบอร์ดมหาวิทยาลัยเป็นเคสๆไป ส่วนเรื่องความมั่นคงจะพูดไปแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นสัญญาพนักงาน ก็ยังด้อยกว่า อาจารย์ข้าราชการครับ อนาคตแก่ไปแล้วสิ่งที่ได้เหลืออยู่คือประกันสังคมทั่วไป ส่วนเรื่องจะหวังความมั่นคงมาจากการได้ตำแหน่งวิชาการหรือตำแหน่งบริหาร สิทธิ์ที่ดีกว่าเป็นของอาจารย์ข้าราชการก่อนครับ

ขอบคุณค่ะ พี่นงนาท

เป็นความคิดของแม่ที่หวังให้ลูกมีความมั่นคงค่ะ แต่ก็ไม่ทราบว่า แบบไหนที่จะดีกว่ากันค่ะ

ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจนะคะ

ค่ะ คุณสัญชัย

ความจริงแล้ว การเป็นข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัย ต้องสร้างระบบในเรื่องของการบริหารงานบุคคลให้เป็นระบบ ทั้งข้าราชการ + พนักงานมหาวิทยาลัย ในเรื่องของการเรียนต่อ ป.เอก ด้วยค่ะ ถ้า ม. ทำได้ จะทำให้ปัญหาภายในลดลง ที่ มรภ.พิบูลสงคราม ในเรื่องการศึกษาต่อระหว่างอาจารย์กับพนักงาน ม. จะไม่มีปัญหาค่ะ เพราะผู้บริหารวางระบบให้เกิดการเท่าเทียมกันระหว่าง ๒ ประเภทนี้ค่ะ

แต่ต้องยอมรับในเรื่องของความมั่นคงในเรื่องของบำเหน็จ บำนาญ ด้วย เพราะข้าราชการมีสิทธิ์เลือกได้ บำเหน็จ หรือบำนาญ ส่วนพนักงาน ม. มีสิทธิ์ได้เพียงบำเหน็จ เหตุเนื่องจาก การจ้างตั้งแต่เริ่มแรกที่ ครม. ประกาศให้ ๑.๗ กับ ๑.๕ สำหรับข้าราชการให้เท่ากับ ๑ เท่าของเงินเดือน

แต่ต่อมาภายหลัง ภาครัฐเกิดไม่สามารถนำเงินจัดสรรให้ พ.ม. ตามที่มีมติไว้เดิมค่ะ เพราะถ้าคิดเป็นเงิน ไม่ต้องพูดถึง "มากโขเลยค่ะ" ณ ตอนนี้ รัฐยังไม่สามารถจัดสรรเงินดังกล่าวมาให้ได้ จึงเป็นปัญหาค้างคาใจ พ.ม. กันมากค่ะ ตอนนี้ สำหรับเจ้าหน้าที่อย่างพี่ ๆ ก็เฝ้าอธิบาย บอกให้ทราบ แต่จะให้เข้าใจกันอย่างทั่วถึงนั้นก็ยากจริง ๆ ค่ะ เหมือนกันภาครัฐปล่อยให้เป็นปัญหาของ ม. ต้องแก้ไขเองแบบนั้น...

ความจริงแล้ว ถ้าคิดจะให้เงินเดือนของ พ.ม. เท่ากับข้าราชการก็หมดเรื่องแล้ว และหาสวัสดิการต่าง ๆ เท่าข้าราชการก็หมดเรื่อง ไม่ต้องทำให้เห็นผลแตกต่างกันเหมือนเช่นทุกวันนี้หรอกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท